STT GDC Thailand

Can Thailand be the hometown of Metaverse?

Can Thailand be the hometown of Metaverse?

ศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา

โดย นายศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย)

ด้วยพฤติกรรมทางสังคม วิถีการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากผลกระทบของโควิด-19 ตลอดจนการทำธุรกิจยุคใหม่ที่ทั้งหมดทำให้ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และได้ก่อกำเนิดโลก Metaverse ที่เต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทาย

Strategy Analytics คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2569 ตลาด Metaverse ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 42,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.39 ล้านล้านบาท) โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook ที่ประกาศเตรียมใช้เงินมากถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.3 แสนล้านบาท) เพื่อดำเนินการตามวิสัยทัศน์สำหรับสร้าง Metaverse

Metaverse จุดกระแสความสงสัยและการตื่นตัว

เมื่อทั่วโลกพูดถึง Metaverse ครั้งล่าสุดทำให้เราเห็นว่า “Imagination” นั้นมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเรียนรู้ (Learning) เมื่อเรามีเทคโนโลยีที่มีศักยภาพอยู่ในมือ มนุษย์ก็สามารถสร้างสิ่งที่ตนเองจินตนาการไว้ได้ในโลกเสมือนจริง อาทิ  ผู้คน (Avatar) สินทรัพย์ดิจิทัล (NFTs) ดิจิทัลเพย์เมนต์ (Digital Payment) และสภาพแวดล้อม (Environment) ที่รวมความชอบเหมือน ๆ กันของผู้คนไว้ในโลกของ Metaverse

เมื่อข้อมูลอัตลักษณ์ (Identity) และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Interaction) เพิ่มขึ้นทวีคูณ

Metaverse บนเว็บ 3.0 ช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับคนอื่น ๆ ได้แบบเรียลไทม์จนเราแทบไม่ต้องเพิ่มเพื่อนหรือ Add Friend เลย ซึ่งต่างจากกรณีการใช้โซเชียลมีเดียบนเว็บ 2.0 ที่กว่าเราจะทำความรู้จักหรือเพิ่มเพื่อนใหม่ ๆ สักคน ต้องมีพื้นฐานหรือความเชื่อมโยง อาทิ ความเป็นเพื่อนของเพื่อนหรือเคยมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการกดไลค์ กดแชร์ หรือคอมเม้นต์ร่วมกันมาบ้าง ซึ่งสิ่งนี้ได้กลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบสำคัญเมื่อ Metaverse ขยายวงกว้างออกไป จะมีปริมาณข้อมูลของ Identity และ Social Interaction เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้เกิดโอกาสและความท้าทายใน 4 ประเด็นหลัก ดังนี้

  1. Identity Management (การบริหารและจัดการอัตลักษณ์)

เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในโลกเสมือนจริง และมีความต่างชัดเจนระหว่างการใช้เว็บ 2.0 และเว็บ 3.0 เราจะแยกแยะคนที่เรารู้จักและไม่รู้จักได้ยากขึ้น และไม่รู้เลยว่า Avatar ของคนคนนั้นที่เราพบบนท้องถนนคือคนรู้จักหรือไม่ เป็นเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ เพศ หรือ อายุเท่าไร ในโลกความเป็นจริง

  1. Privacy (ความเป็นส่วนตัว)

บนเว็บ 2.0 เวลาเราโพสต์อะไรในโซเชียลมีเดีย เพื่อน ๆ จะเห็นก็ต่อเมื่อเราโพสต์แล้ว ต่างกับ Metaverse ที่ทุกคนอยู่ในรูปแบบ Avatar และสามารถเห็นทุกการเคลื่อนไหว ท่าทาง หรือ พฤติกรรมของเราได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งทั้งหมดนั้นจะเป็น Data ที่ไหลเวียนอยู่อย่างมหาศาลบนแพลตฟอร์มนั้น ๆ

  1. Security (ความปลอดภัย)

เราไม่รู้เลยว่าใครเป็นใครบน Metaverse ต่างจากเพื่อนในโซเชียลมีเดีย ที่ตรวจสอบย้อนกลับ (Track) ได้ว่าเป็นเพื่อนของเพื่อน แต่สำหรับ Metaverse นั้นจะดูได้ลำบากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนเว็บ 2.0 เนื่องจากไม่มีการกดยอมรับ Accept เป็นเพื่อน ซึ่งใน Metaverse แบ่งความปลอดภัยออกเป็น 2 ระดับ (Layer) ได้แก่ Data Protection และ Access & Authentication

  1. Payment (ระบบชำระเงิน)

เราจะเห็นสินค้าที่เป็น Digital Asset ในรูปแบบที่แตกต่างจากโซเชียลมีเดีย ที่เป็นช่องทางในการขายของ แต่เว็บ 3.0 จะต่างออกไป ที่เห็นตัวอย่างได้ชัดคือพวกแรร์ไอเท็มต่าง ๆ ในเกม (Rare Item) ที่มีมูลค่าเป็นเงินหรือที่สามารถนำไปซื้อขายได้ ดังนั้น Payment Systems จะเข้าไป Integrate ได้ทันที

โลก Metaverse มีความเกี่ยวข้องกับดาต้าเซ็นเตอร์อย่างไร?

แน่นอนว่าพอเป็น Web 3.0 ที่เสมือนเอาตัวเราเข้าไปอยูในโลกอีกใบแล้วย่อมเกิดปริมาณดาต้าอย่างมหาศาล รวมถึง Community และ Ecosystem ขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น จำนวน Friend เป็นล้านคน เกิดความกังวลในเรื่องความปลอดภัยมากมาย มีสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับทำการซื้อขายมหาศาล และมี Payment Transaction เกิดขึ้นแทบทุกนาที

ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Metaverse ไม่ได้ต้องการแค่ที่เก็บข้อมูลหรือสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเพียงเท่านั้น แต่ปัจจัยพื้นฐานสำคัญต่อการให้บริการมากที่สุดคือ กำลังไฟฟ้า (Power) ซึ่ง Metaverse คือโลกที่ลูกค้าต้องได้รับความมั่นใจว่าไม่เกิดเหตุการณ์ไฟดับในดาต้าเซ็นเตอร์ที่หมายถึงหายนะทางธุรกิจ โดยลักษณะดาต้าเซ็นเตอร์ที่เหมาะสมควรเป็นระดับไฮเปอร์สเกลที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้ามาตรฐานสูง พร้อมกับพลังงานสำรองในกรณีฉุกเฉินจะเป็นปัจจัยหลักที่ธุรกิจต้องพิจารณาเมื่อต้องเลือกดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีความมั่นคงด้านพลังงานที่รองรับโลก Metaverse ที่ไม่มีกรอบของเวลาและตื่นตัวไปกับกิจกรรมต่าง ๆ บนโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจจะเพิ่มโอกาสจาก Metaverse ได้อย่างไร?

กลุ่มเป้าหมายสำคัญของผู้ใช้บริการ Metaverse คือคนรุ่นใหม่ในวันนี้และวันหน้าที่เกิดมากับเทคโนโลยีและพร้อมยอมรับเทคโนโลยีต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ได้รวดเร็ว นอกจากนั้นยังรวมไปถึงกลุ่มคนวัยทำงานหรือกลุ่มคนที่มีความชอบเหมือน ๆ กันโดยไม่จำกัดเพศและอายุ ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากกิจกรรมการรวมตัวกันใน Virtual Concert หรือ Content บนสื่อต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสมหาศาลให้แก่ทั้งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ว่าจะทำยังไงให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตบนออนไลน์ ซื้อสินค้าและบริการของตนเองตลอดเวลา

คาดว่าความคับคั่งของข้อมูล (Traffic) จะสูงกว่า E-Commerce มหาศาลเนื่องจาก Metaverse คนพร้อม Interact ตลอดเวลา

ลูกค้าของผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Metaverse อาทิ แบรนด์สินค้าต่าง ๆ ที่จะเริ่มปรับตัวเข้าสู่โลก Metaverse มากขึ้น จะมอง Metaverse as a business model และหันมาสร้างสรรค์ NFTs เพื่อสร้าง Brand Value ในโลกเสมือนจริง และจำหน่ายออกไปเพื่อสร้างกำไรเป็นโมเดลการทำธุรกิจบน Metaverse แพลตฟอร์ม ที่ลงทุนต่ำแต่กำไร 100% และยังสามารถผลิตออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วกว่าแบบ Physical อาทิ Coca-Cola, Gucci

ในมุมของผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ การมาของ Metaverse ส่งผลดีต่อการทำธุรกิจ และส่งเสริมเศรษฐกิจในระดับประเทศภาพรวม ไม่ว่าจะการลงทุนเพิ่มขึ้นของกลุ่มธุรกิจที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานใน Metaverse อย่างกลุ่มสถาบันการเงิน (FSI & Banking) รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการในกลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Service Provider) และการพัฒนาฟีเจอร์และคอนเทนต์ใหม่ ๆ ที่มีความหลากหลาย (Content Provider) หรือกลุ่มผู้ให้บริการเกม (Gaming) นอกจากนี้ในกลุ่มฟินเทค (FINTECH & Crypto Currency) ก็เป็นโอกาสของผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทย รวมถึง New Born Customer ของดาต้าเซ็นเตอร์อย่าง Metaverse Provider

ศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา

Digital transformation is Yesterday วันนี้สูตรใหม่คือ 3S

เอสทีที จีดีซี ไทยแลนด์ ในฐานะผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกล มองผู้ให้บริการและเจ้าของธุรกิจควรปรับสูตรการเดินหน้าสู่โลกดิจิทัล โดยใช้สูตร 3S ก็คือ 1. Scalability (ศักยภาพในการขยายธุรกิจ) 2. Security (ความปลอดภัย) 3. Sustainability (นโยบายความยั่งยืน) แทนที่การทำ Digital Transform ซึ่งหลายธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ปรับกันไม่ทันแล้ว ดังนั้นเพื่อสร้างทางลัดไปสู่ความสำเร็จนี่จึงเป็นการ short cut จึงได้แนะนำสมการใหม่ (New Equation) ที่ธุรกิจควรนำมาพิจารณาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ดิจิทัล ซึ่งจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ วันนี้มี NFTs เยอะมาก แต่มีตลาดรองรับและดีมานด์จำกัด ดังนั้นหากธุรกิจใดเล็งรุกตลาด Metaverse อยู่ไม่ว่าในมุมใดก็ตามก็สามารถยึดหลักดังกล่าวนี้ได้

ทั้งนี้เอสทีทีฯ ยังมองว่าการมาของ Metaverse จะทำให้เกิดความร่วมมือข้ามธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะในกลุ่ม Data Center กับ Energy สำหรับประเทศยังเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล หากสามารถใช้จังหวะนี้สร้างความได้เปรียบ take advantage จากศักยภาพที่มีอยู่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)

ประเทศไทยสามารถก้าวขึ้นเป็น “Hometown of Metaverse” ด้วยปัจจัย 3 ประการ ได้แก่

  1. Macro Economy – นโยบายจากประเทศจีน อาทิ การจำกัดเวลาในการเล่นเกมในเด็ก หรือ การเข้มงวดในการตรวจสอบ Tech Company และข้อจำกัดของสหรัฐอเมริกาที่เพ่งเล็งธุรกิจจากจีนและยังมีความไม่ชัดเจนในการสนับสนุนธุรกิจที่มาจากจีน หากประเทศไทยวางตำแหน่งด้านเทคโนโลยีของตัวเองได้เหมาะสมจะทำให้เปลี่ยนภูมิทัศน์ (Landscape) ของประเทศไทยไปเป็นคลัสเตอร์ของดาต้าเซ็นเตอร์ ก็จะช่วยดึงดูดผู้ให้บริการ Metaverse ได้เพิ่มเติม
  2. ศักยภาพตลาด E-Commerce – คนไทยเป็นผู้บริโภคชั้นดีของอุตสาหกรรม E-Commerce คนกรุงเทพฯ ใช้เวลาในเฟซบุ๊กเป็นอันดับหนึ่งของโลก สะท้อนให้เห็นความเป็น Technology Early Adopter แทบทุกอย่างและใช้เวลาบนโลกออนไลน์อย่างน่าสนใจ
  3. ประเทศไทยเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ เสมอ และมีศักยภาพเพียงพอ – ด้วยภูมิประเทศที่เป็นจุดศูนย์กลางของเศรษฐกิจอาเซียน นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ Thailand 4.0 และการเปิดรับเทคโนโลยีต่าง ๆ ของภาคเอกชนมาเสริมศักยภาพเป็นปัจจัยที่จะทำให้ผู้ให้บริการเหลียวมองประเทศไทยเป็น Hometown of Metaverse” ได้