Gartner

Gartner Says Worldwide PC Shipments Increased 0.3% in Fourth Quarter of 2023 but Declined 14.8% for the Year

การ์ทเนอร์ชี้ยอดขายพีซีทั่วโลกไตรมาสสุดท้าย ปี 2566 พลิกกลับมาโตขึ้นเล็กน้อย 0.3% แต่ทั้งปียังลดลง 14.8%

PC Market Shows Signs of Recovery After Eight Straight Quarters of Decline

Worldwide PC shipments totaled 63.3 million units in the fourth quarter of 2023, a 0.3% increase from the fourth quarter of 2022, according to preliminary results by Gartner, Inc. This marks the first time that quarterly shipments have increased after eight straight quarters of decline. For the year, PC shipments reached 241.8 million units in 2023, a 14.8% decrease from 2022. This marks the first time that shipment volume has dipped below 250 million since 2006, when 230 million units were shipped.

“The PC market has hit the bottom of its decline after significant adjustment,” said Mikako Kitagawa, Director Analyst at Gartner. “Inventory was normalized in the fourth quarter of 2023, which had been an issue plaguing the industry for two years. This subtle growth suggests that demand and supply are finally balanced. However, this situation will likely change due to the anticipated component price hike 2024, as well as geopolitical and economic uncertainties.

“Throughout these challenges, all top six vendors maintained their position without notable share gains or losses,” added Kitagawa. “With this in mind, Gartner projects that the PC market will return to annual growth in 2024.”

There were no changes in the top six vendor rankings in the fourth quarter of 2023. However, there were mixed results in performance. Lenovo, HP, Apple, and Acer recorded year-over-year growth, while Dell and ASUS showed a decline (see Table 1).

Table 1. Preliminary Worldwide PC Vendor Unit Shipment Estimates for 4Q23 (Thousands of Units)

Company 4Q23 Shipments 4Q23 Market Share (%) 4Q22 Shipments 4Q22 Market Share (%) 4Q23-4Q22 Growth (%)
Lenovo 16,213 25.6 15,713 24.9 3.2
HP Inc. 13,954 22.0 13,220 20.9 5.6
Dell 9,983 15.8 10,884 17.2 -8.3
Apple 6,349 10.0 5,925 9.4 7.2
ASUS 4,405 7.0 4,864 7.7 -9.4
Acer 3,987 6.3 3,589 5.7 11.1
Others 8,479 13.4 8,982 14.2 -5.6
Total 63,371 100.0 63,179 100.0 0.3

Notes: Data includes desktop and laptop PCs that are equipped with Windows, macOS and Chrome OS. All data is estimated based on a preliminary study. Final estimates will be subject to change. The statistics are based on shipments selling into channels. Numbers may not add up to totals shown due to rounding.

Source: Gartner (January 2024)

Lenovo marked its first year-over-year growth in worldwide PC shipments since the third quarter of 2021, registering 3.2% growth. EMEA and the Americas saw double-digit growth, offset by weakness in Asia Pacific and Japan. The depressed economy in China impacted PC demand in general but impacted Lenovo strongly as the country is its largest market. Laptop growth in EMEA and Latin America was robust, well exceeding the regional average.

Other vendors had mixed results. HP Inc. had its second consecutive quarter of year-over-year growth and sequential growth in worldwide PC shipments, while Dell registered its seventh consecutive quarter of year-over-year shipment decline.

Regional Overview 

The U.S. PC market recorded its first year-over-year growth since the second quarter of 2021, with a 1.8% increase in the fourth quarter of 2023. A decline in desktops offset laptop growth.

“PC growth in the U.S. reflected consumer confidence as it stabilized during the quarter,” said Kitagawa. “The solid U.S. economy helped small and midsize business spending as the segment grew steadily. Large companies were still cautious about spending, postponing PC refreshes to 2024.”

HP maintained the top spot in the U.S. PC market based on shipments with 27.7% market share. Dell followed with 24.2% of U.S. PC market share (see Table 2).

Table 2. Preliminary U.S. PC Vendor Unit Shipment Estimates for 4Q23 (Thousands of Units)

Company   4Q23 Shipments 4Q23 Market Share (%) 4Q22 Shipments 4Q22 Market Share (%) 4Q23-4Q22 Growth (%)
HP Inc.   4,665 27.7 4,582 27.7 1.8
Dell   3,805 22.6 4,005 24.2 -5.0
Apple   2,716 16.1 2,372 14.3 14.5
Lenovo   2,650 15.7 2,397 14.5 10.6
Acer   826 4.9 729 4.4 13.2
ASUS   733 4.4 954 5.8 -23.1
Others   1,435 8.5 1,630 9.9 -12.0
Total   16,831 100.0 16,540 100.0 1.8

Notes: Data includes desktop and laptop PCs that are equipped with Windows, macOS and Chrome OS. All data is estimated based on a preliminary study. Final estimates will be subject to change. The statistics are based on shipments selling into channels. Numbers may not add up to totals shown due to rounding.
Source: Gartner (January 2024)

EMEA and North America, recorded year-over-year growth, leading the worldwide growth, although the Asia Pacific region was still in decline in the fourth quarter of 2023, pulled by the depressed results in China. The EMEA PC market saw the highest growth of 8.7%, its first year-over-year growth since the fourth quarter of 2021.

“The EMEA market is reflective of the overall market, with inventory levels finally under control,” said Kitagawa. “However, this could change if demand becomes weak, and the channel would be wary of adding new stock, especially as higher interest rates means holding inventory now costs much more for the channel.”

Asia Pacific declined by 8%, recording seven consecutive quarters of decline. Laptops and desktops declined in the region, with desktops more impacted than laptops. The significant decline in Greater China impacted the overall Asia Pacific market, with double-digit decline compared to a year ago, while Mature Asia Pacific declined slightly, and Emerging Asia Pacific grew by a single digit.

Annual Overview: PC Market Collapses After COVID Boom
2023 records as the worst year in PC history, declining 14.8% in 2023. This is the second year in a row with a double-digit decline. Worldwide PC shipments totaled 241.8 million units in 2023, down from 284 million units in 2022 (see Table 3).

Table 3. Preliminary Worldwide PC Vendor Unit Shipment Estimates for 2023 (Thousands of Units)

Company 2023 Shipments 2023 Market Share (%) 2022 Shipments 2022 Market Share (%) 2023-2022 Growth (%)
Lenovo 59,725 24.7 69,047 24.3 -13.5
HP Inc. 52,896 21.9 55,366 19.5 -4.5
Dell 40,238 16.6 50,008 17.6 -19.5
Apple 21,877 9.0 26,825 9.4 -18.4
Asus 17,061 7.1 20,651 7.3 -17.4
Acer 15,887 6.6 18,708 6.6 -15.1
Others 34,206 14.1 43,448 15.3 -21.3
Total 241,891 100.0  284,052 100.0 -14.8

Notes: Data includes desktop and laptop PCs that are equipped with Windows, macOS and Chrome OS. All data is estimated based on a preliminary study. Final estimates will be subject to change. The statistics are based on shipments selling into channels. Numbers may not add up to totals shown due to rounding.
Source: Gartner (January 2024)

“The PC market underwent a significant adjustment period in the past two years after an extraordinary growth period between 2020 and 2021,” said Kitagawa.

ตลาดพีซีส่งสัญญาณฟื้นตัว หลังลดลงมาถึงแปดไตรมาส

การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยยอดขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีทั่วโลกไตรมาส 4 ปี 2566 มียอดรวม 63.3 ล้านเครื่อง เติบโต 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2565 นับเป็นครั้งแรกที่ยอดขายพีซีรายไตรมาสกลับมาเติบโต หลังจากลดลงต่อเนื่องตลอดแปดไตรมาสที่ผ่านมา โดยในปีนี้มียอดแตะ 241.8 ล้านเครื่อง ลดลง 14.8% เมื่อเทียบกับปี 2565 และนับเป็นครั้งแรกที่ยอดขายต่ำกว่า 250 ล้านเครื่อง จาก 230 ล้านเครื่องในปี 2549

มิคาโกะ คิตากาวะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ตลาดพีซีมาถึงจุดลดลงต่ำสุดแล้ว หลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยในไตรมาส 4 ปี 2566 สินค้าคงคลังได้รับการปรับให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หลังเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเป็นเวลาสองปี ซึ่งการเติบโตนี้ยังแสดงให้เห็นว่าอุปสงค์และอุปทานกลับมาสมดุลในที่สุด อย่างไรก็ตามสถานการณ์นี้อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกเนื่องจากการขึ้นราคาของส่วนประกอบตามที่คาดการณ์ไว้ในปี 2567 รวมถึงความไม่แน่นอนทางด้านภูมิรัฐศาสตร์และภาวะเศรษฐกิจ”

“ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ ผู้ขายพีซีชั้นนำทั้ง 6 รายยังคงรักษาตำแหน่งไว้โดยไม่มีส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนที่โดดเด่น ซึ่งจากข้อมูลนี้การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าตลาดพีซีจะกลับมาเติบโตอีกครั้งในปี 2567”

ผู้ขายพีซีหกอันดับแรกในไตรมาส 4 ปี 2566 ยังไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันในด้านผลงาน โดย Lenovo, HP, Apple และ Acer มีการเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ Dell และ ASUS มีอัตราการเติบโตลดลง (ดูตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 การคาดการณ์ยอดขายต่อยูนิตเบื้องต้นของผู้ขายพีซีทั่วโลก ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 (หน่วยพันยูนิต) 

Company 4Q23 Shipments 4Q23 Market Share (%) 4Q22 Shipments 4Q22 Market Share (%) 4Q23-4Q22 Growth (%)
Lenovo 16,213 25.6 15,713 24.9 3.2
HP Inc. 13,954 22.0 13,220 20.9 5.6
Dell 9,983 15.8 10,884 17.2 -8.3
Apple 6,349 10.0 5,925 9.4 7.2
ASUS 4,405 7.0 4,864 7.7 -9.4
Acer 3,987 6.3 3,589 5.7 11.1
Others 8,479 13.4 8,982 14.2 -5.6
Total 63,371 100.0 63,179 100.0 0.3

หมายเหตุ: ข้อมูลนี้รวมพีซีแบบตั้งโต๊ะ, แล็ปท็อปพีซีที่ใช้ระบบปฎิบัติการ Windows, macOS และ ChromeOS ข้อมูลทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการประมาณการเบื้องต้น การประมาณการขั้นสุดท้ายอาจมีการเปลี่ยนแปลง สถิติจะขึ้นอยู่กับการจัดส่งสินค้าเพื่อจำหน่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ ตัวเลขต้องไม่เกินจำนวนที่แสดงเนื่องจากการปัดเศษ

ที่มา: การ์ทเนอร์ (มกราคม 2567)

เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว Lenovo มีการเติบโตในการจัดส่งพีซีทั่วโลก นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 โดยตลาดพีซีในยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (หรือ EMEA) และอเมริกาเติบโตในระดับเลขสองหลัก ซึ่งชดเชยตลาดเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่อ่อนแอ ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในจีนส่งผลกระทบต่อความต้องการพีซีโดยทั่วไป และยังกระทบรุนแรงต่อ Lenovo เนื่องจากจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด ดังนั้นการเติบโตของแล็ปท็อปในตลาด EMEA และลาตินอเมริกานั้นแข็งแกร่ง สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคมาก ผู้ขายรายอื่นมีผลลัพธ์ที่หลากหลาย อาทิ HP เติบโตเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันเมื่อเทียบรายปี และมีการเติบโตตามลำดับในการจัดส่งพีซีทั่วโลก ขณะที่ Dell มีการเติบโตลดลงเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกันเมื่อเทียบรายปี

ภาพรวมในภูมิภาค

ตลาดพีซีในสหรัฐฯ เติบโตเป็นครั้งแรกแบบรายปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2564 โดยเพิ่มขึ้น 1.8% ในไตรมาส 4 ปี 2566 ซึ่งการเติบโตของแล็ปท็อปช่วยชดเชยการเติบโตที่ลดลงของเดสก์ท็อป

“การเติบโตของพีซีในสหรัฐฯ สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เนื่องจากตลาดมีเสถียรภาพในระหว่างไตรมาส เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งช่วยให้การใช้จ่ายของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มธุรกิจก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทขนาดใหญ่ยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย เลื่อนการเปลี่ยนคอมพ์ตั้งโต๊ะไปเป็นปีนี้” คิตากาวะกล่าวเพิ่ม

HP ยังครองตำแหน่งผู้นำตลาดพีซีในสหรัฐฯ โดยมีส่วนแบ่งตลาดที่ 27.7% ตามมาด้วย Dell ที่ 24.2% (ดูตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 การคาดการณ์ยอดขายต่อยูนิตเบื้องต้นของผู้ขายพีซีในสหรัฐฯ ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 (หน่วยพันยูนิต) 

Company 4Q23 Shipments 4Q23 Market Share (%) 4Q22 Shipments 4Q22 Market Share (%) 4Q23-4Q22 Growth (%)
HP Inc. 4,665 27.7 4,582 27.7 1.8
Dell 3,805 22.6 4,005 24.2 -5.0
Apple 2,716 16.1 2,372 14.3 14.5
Lenovo 2,650 15.7 2,397 14.5 10.6
Acer 826 4.9 729 4.4 13.2
ASUS 733 4.4 954 5.8 -23.1
Others 1,435 8.5 1,630 9.9 -12.0
Total 16,831 100.0 16,540 100.0 1.8

หมายเหตุ: ข้อมูลนี้รวมพีซีแบบตั้งโต๊ะ, แล็ปท็อปพีซีที่ใช้ระบบปฎิบัติการ Windows, macOS และ ChromeOS ข้อมูลทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการประมาณการเบื้องต้น การประมาณการขั้นสุดท้ายอาจมีการเปลี่ยนแปลง สถิติจะขึ้นอยู่กับการจัดส่งสินค้าเพื่อจำหน่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ ตัวเลขต้องไม่เกินจำนวนที่แสดงเนื่องจากการปัดเศษ

ที่มา: การ์ทเนอร์ (มกราคม 2567)

ตลาดพีซีในยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา และอเมริกาเหนือ มีการเติบโตสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบรายปี โดยเป็นผู้นำการเติบโตทั่วโลก แม้ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะยังลดลงในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 โดยได้รับแรงกดดันจากยอดที่ตกต่ำในจีน ตลาดพีซีใน EMEA มีการเติบโตสูงสุดที่ 8.7% ซึ่งถือเป็นการกลับมาเติบโตครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เมื่อเทียบเป็นรายปี

“ตลาด EMEA สะท้อนภาพตลาดโดยรวม ในที่สุดระดับของสินค้าคงคลังก็อยู่ภายใต้การควบคุม อย่างไรก็ตาม อาจเปลี่ยนแปลงได้หากความต้องการลดลง และผู้จัดจำหน่ายจะต้องระมัดระวังในการเพิ่มสต็อกใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น นั่นหมายความว่าการกักเก็บสินค้าคงคลังในขณะนี้มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นในช่องทางจัดจำหน่าย” คิตากาวะ กล่าว

ตลาดเอเชียแปซิฟิกลดลง 8% นับเป็นการลดลงติดต่อกัน 7 ไตรมาส โดยแล็ปท็อปและเดสก์ท็อปเป็นอุปกรณ์ไอทีสองชนิดที่เติบโตลดลงในภูมิภาคนี้ ซึ่งเดสก์ท็อปได้รับผลกระทบมากกว่าโดยลดลงอย่างมีนัยสำคัญในประเทศจีน ส่งผลกระทบต่อตลาดเอเชียแปซิฟิกโดยรวม ปรับตัวลดลงระดับเลขสองหลักเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ตลาดหลักในเอเชียแปซิฟิกมีการลดลงเล็กน้อย ส่วนตลาดเกิดใหม่เติบโตขึ้นเพียงเลขหลักเดียว

ภาพรวมประจำปี: ตลาดพีซีล่มสลายหลังการแพร่ระบาดของโควิด

ปี 2566 ถือเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของพีซี โดยภาพรวมลดลง 14.8% และนับเป็นปีที่สองติดต่อกันที่ลดลงในระดับเลขสองหลัก ซึ่งยอดขายพีซีทั่วโลกมีทั้งหมด 241.8 ล้านเครื่อง ลดลงจาก 284 ล้านเครื่องในปี 2565 (ดูตารางที่ 3)

ตารางที่ 3 การคาดการณ์ยอดขายต่อยูนิตเบื้องต้นของผู้ขายพีซีทั่วโลก ในปี 2566 (หน่วยพันยูนิต) 

Company 2023 Shipments 2023 Market Share (%) 2022 Shipments 2022 Market Share (%) 2023-2022 Growth (%)
Lenovo 59,725 24.7 69,047 24.3 -13.5
HP Inc. 52,896 21.9 55,366 19.5 -4.5
Dell 40,238 16.6 50,008 17.6 -19.5
Apple 21,877 9.0 26,825 9.4 -18.4
Asus 17,061 7.1 20,651 7.3 -17.4
Acer 15,887 6.6 18,708 6.6 -15.1
Others 34,206 14.1 43,448 15.3 -21.3
Total 241,891 100.0 284,052 100.0 -14.8

หมายเหตุ: ข้อมูลนี้รวมพีซีแบบตั้งโต๊ะ, แล็ปท็อปพีซีที่ใช้ระบบปฎิบัติการ Windows, macOS และ ChromeOS ข้อมูลทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการประมาณการเบื้องต้น การประมาณการขั้นสุดท้ายอาจมีการเปลี่ยนแปลง สถิติจะขึ้นอยู่กับการจัดส่งสินค้าเพื่อจำหน่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ ตัวเลขต้องไม่เกินจำนวนที่แสดงเนื่องจากการปัดเศษ

ที่มา: การ์ทเนอร์ (มกราคม 2567)

“ตลาดพีซีมีช่วงการปรับตัวที่สำคัญในช่วงสองปีที่ผ่านมาล่าสุด หลังจากเติบโตอย่างก้าวกระโดดระหว่างปี 2563-2564” คิตากาวะ กล่าวสรุป