Gartner

Gartner Unveils the Top 10 Government Technology Trends for 2022

การ์ทเนอร์เปิด 10 เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญ ติดสปีดกิจการภาครัฐในปี 2565

CIOs Should Consider these Trends to Guide Digital Investments, Anticipate Potential Disruption, and Scale Digital Transformation Initiatives

Gartner Unveils the Top 10 Government Technology Trends for 2022

Gartner, Inc. identified the top 10 government technology trends for 2022 that can guide public-sector leaders in accelerating digital transformation and mitigating disruption risks.

“Government and public sector CIOs now need to sustain the momentum of digital acceleration after the initial chaos of the pandemic,” said Arthur Mickoleit, research director at Gartner.

“CIOs can use these top trends to establish future-ready organizations by demonstrating how digital initiatives deliver value to diverse and evolving constituent needs, support new workforce trends, enable efficient scaling of operations and build a composable business and technology foundation.”

Government CIOs must consider the collective impact of the following 10 trends on their organizations and include them in their strategic plans for 2022 and beyond. Not doing so risks undermining the quality of government services and the capacity to deliver mission value in the long run.

Composable Government Enterprise

By 2024, over 25% of government RFPs for mission-critical IT systems will require solutions architecture and variable licensing that support a composable design approach.

Composability enables governments to focus on citizen-centric services, rather than on the frequently used, siloed, program-centric approach. A composable organization exhibits composability in three areas – business architecture, technology and thinking. Government CIOs should implement modularity and modern design principles to enable the transition towards composable government.

Adaptive Security

Gartner predicts that 75% of government CIOs will be directly responsible for security outside of IT, including operational and mission-critical technology environments by 2025.

A lack of continued awareness programs, cybersecurity practices embedded throughout an organization and a robust talent acquisition team can disrupt an organization’s response to security threats. Government CIOs must address the essential human element of cybersecurity by growing expertise from within through in-depth training programs and broad employee support through engaging awareness education.

Digital Identity Ecosystems

Gartner predicts that at least a third of national governments and half of U.S. states will offer citizens mobile-based identity wallets by 2024. But only a minority will be interoperable across sectors and jurisdictions. The scope and challenges for digital identity are quickly expanding as governments look to identity proofing, bring your own identity (BYOI), identity wallets, organization and objects identity, and identity ecosystems to ensure trusted and convenient access to services.

Total Experience

Gartner predicts that by 2023, most governments without a total experience (TX) strategy will fail to successfully transform government services. TX offer governments a way to improve talent management strategies and develop stronger digital skill sets across their organizations, while improving service delivery to citizens. The lack of a TX strategy can increase service friction, leading to risk of service delays and underwhelming service experiences.

Anything as a Service (XaaS)

95% of new IT investments made by government agencies will be made in XaaS solutions over the next three years, according to Gartner. XaaS includes several categories of IT infrastructure and software services, including those delivered in the cloud as a subscription-based service.

Accelerated Legacy Modernization

When the pandemic began, core legacy business systems failed to handle the surge in demand for these services. CIOs will thereby need to make modernization a continuous activity and not look at it as a one-time investment. Without legacy modernization, “return-to-normal” initiatives will be further delayed as COVID-19 variants continue disrupting businesses globally.

Case Management as a Service (CMaaS)

Case work is a universal workstyle of government. CMaaS can build institutional agility in government by applying composable business principles and practices to replace legacy case management systems with modular case management products. Gartner predicts that by 2024, government organizations with a composable case management application approach will implement new features at least 80% faster than those without.

Hyperautomation

According to Gartner, 75% of governments will have at least three enterprisewide hyperautomation initiatives launched or underway in the next three years. Hyperautomation offers more than the opportunity to deliver connected and seamless public services in an efficient way. It also aims to increase government effectiveness through cross-cutting initiatives that focus on end-to-end process and not just automation of siloed tasks.

Decision Intelligence

Gartner predicts that by 2024, 60% of government AI and data analytics investments aim to directly impact real-time operational decisions and outcomes. Planning and decisions should be increasingly predictive and proactive, using AI, analytics, business intelligence and data science to significantly reduce the cost due to late intervention. The aim is to make government service delivery responsive and timely.

Data Sharing as a Program

Data sharing in government is often ad hoc, driven by high-profile incidents. On the contrary, data sharing as a program is a systematic and scalable approach to enable data reuse and services innovation.

Gartner predicts that organizations that promote data sharing will outperform their peers on most business value metrics by 2023. This will need a cultural shift from compartmentalization of data use to re-use of data to better serve citizens. Government CIOs need to lead from the front to enable this cultural shift.

ผู้บริหารไอทีหน่วยงานรัฐควรพิจารณาเทรนด์เหล่านี้ใช้เป็นแนวทางลงทุนดิจิทัล

คาดการณ์การหยุดชะงัก และปรับขนาดโครงการดิจิทัลใหม่ ๆ อย่างเหมาะสม

Gartner Unveils the Top 10 Government Technology Trends for 2022

การ์ทเนอร์ อิงค์ เผย 10 แนวโน้มเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อผู้นำองค์กรภาครัฐเพื่อใช้เป็นแนวทางเร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและลดความเสี่ยงจากเหตุหยุดชะงักในปี 2565

อาเธอร์ มิโคเลต์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ผู้บริหารไอทีของภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นต้องเร่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้อย่างต่อเนื่องหลังเผชิญความยุ่งยากช่วงต้นของการระบาดใหญ่”

“ผู้บริหารไอทีสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่องค์กรในอนาคต ด้วยการแสดงให้เห็นว่าโครงการดิจิทัลต่าง ๆ ได้มอบคุณค่าและตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายได้อย่างไร รองรับแนวโน้มของแรงงานใหม่ ๆ และช่วยองค์กรปรับขนาดการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างรากฐานทางธุรกิจและเทคโนโลยีที่แยกส่วนได้”

ผู้บริหารไอทีของภาครัฐควรพิจารณาถึงผลกระทบในภาพรวมจากทั้ง 10 เทรนด์เทคโนโลยีต่อองค์กรและรวมไว้เป็นกลยุทธ์การดำเนินงานในปีนี้และอนาคต ซึ่งหากละเลยจะส่งผลต่อคุณภาพของการให้บริการและการดำเนินธุรกิจระยะยาว

องค์กรรัฐยุคใหม่แบบแยกส่วน (Composable Government Enterprise)

ภายในปี พ.ศ.2567 คำขอสำหรับข้อเสนอ (Request For Proposals หรือ RFPs) ด้านระบบไอทีของหน่วยงานรัฐมากกว่า 25% จะต้องการโซลูชันระดับสถาปัตยกรรมและมีใบอนุญาตแปรผัน (variable licensing) ที่สนับสนุนการทำงานแบบแยกส่วน

แนวทางการทำงานแบบแยกส่วน (Composability) ช่วยให้รัฐบาลต่าง ๆ มุ่งความสำคัญไปที่บริการสาธารณะสำหรับภาคประชาชนมากกว่าความถี่ในการใช้ การทำงานแบบไซโล หรือยึดตามโปรแกรมเป็นหลัก โดยองค์กรยุคใหม่ที่ทำงานแบบแยกส่วนจะแสดงให้เห็นถึงแนวทางแบบ Composability 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสถาปัตยกรรมทางธุรกิจ สถาปัตยกรรมทางเทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมทางแนวคิด โดยผู้บริหารไอทีภาครัฐควรนำหลักการแบบแยกส่วนและการออกแบบที่ทันสมัยมาปรับใช้ เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรรัฐยุคใหม่แบบแยกส่วน

ความปลอดภัยปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive Security)

ในปี พ.ศ. 2568 การ์ทเนอร์คาดว่า 75% ของผู้บริหารไอทีในภาครัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงด้านการรักษาความปลอดภัยนอกแผนกไอที ประกอบด้วยความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ด้านการดำเนินงานรวมถึงเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อเป้าหมายองค์กร

ซึ่งการขาดโปรแกรมเรียนรู้ฝึกอบรม รวมถึงแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ยังมีอยู่ทั่วทั้งองค์กร และทีมจัดหาบุคลากรไอที ล้วนเป็นสิ่งขัดขวางการตอบสนององค์กรต่อภัยคุกคามด้านความปลอดภัย ผู้บริหารไอทีต้องจัดการกับองค์ประกอบสำคัญมาก นั่นก็คือ บุคลากรด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้วยการเพิ่มบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ภายในองค์กรผ่านโปรแกรมเรียนรู้และฝึกอบรมเชิงลึก พร้อมสนับสนุนพนักงานผ่านการมีส่วนร่วมการเรียนรู้ในวงกว้าง

ระบุอัตลักษณ์ดิจิทัลผ่านระบบนิเวศ (Digital Identity Ecosystems)

การ์ทเนอร์คาดว่า ภายในปี พ.ศ.2567 อย่างน้อย 1 ใน 3 ของหน่วยงานภาครัฐระดับประเทศและครึ่งหนึ่งของรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาจะใช้กระเป๋าเงินเพื่อระบุอัตลักษณ์บุคคลผ่านโทรศัพท์มือถือกับภาคประชาชน แต่ยังมีส่วนน้อยที่ทำงานร่วมกันได้กับภาคส่วนอื่น ๆ และข้ามเขตรัฐได้ ขอบเขตและความท้าทายของการระบุอัตลักษณ์บุคคลแบบดิจิทัลกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ตามที่รัฐบาลต่าง ๆ กำลังพิจารณาถึงรูปแบบการพิสูจน์ตัวตน เทรนด์การเข้าถึงและระบุตัวตนด้วยตนเอง (Bring Your Own Identity หรือ BYOI) กระเป๋าเงินระบุตัวตน หรือการระบุตัวตนโดยองค์กรและวัตถุอื่น ๆ และการระบุอัตลักษณ์ผ่านระบบนิเวศหลากหลายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและอำนวยความสะดวกการเข้าถึงบริการต่าง ๆ

ประสบการณ์ภาพรวม (Total Experience หรือ TX) 

การ์ทเนอร์คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2566 รัฐบาลส่วนใหญ่ที่ยังไม่มีกลยุทธ์ Total Experience (หรือ TX) นั้นจะล้มเหลวกับการพัฒนาบริการต่าง ๆ ไปสู่ดิจิทัล โดย TX เป็นแนวทางสำคัญของภาครัฐเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การบริหารทีมงานที่มีความสามารถ และช่วยพัฒนาทักษะดิจิทัลให้แข็งแกร่งขึ้นในองค์กรต่าง ๆ ขณะเดียวกันยังช่วยปรับปรุงการให้บริการภาคประชาชน ดังนั้นหากองค์กรรัฐขาดกลยุทธ์ TX จะส่งผลให้การบริการสะดุด เกิดปัญหาล่าช้า และประชาชนได้รับประสบการณ์ไม่ดีเมื่อมีคนใช้บริการจำนวนมาก

ทุกอย่างคือบริการ (Anything as a Service หรือ XaaS)

การ์ทเนอร์คาดว่าในอีกสามปีข้างหน้า 95% ของการลงทุนไอทีใหม่ ๆ จากหน่วยงานภาครัฐจะเน้นโซลูชันที่เกี่ยวข้องกับ XaaS โดยแนวทาง XaaS ประกอบไปด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและบริการซอฟต์แวร์ รวมถึงบริการบนระบบคลาวด์ในรูปแบบสมัครสมาชิก

เร่งปรับปรุงระบบเดิมให้ทันสมัย (Accelerated Legacy Modernization)

เมื่อการระบาดใหญ่เริ่มต้นขึ้น ระบบเดิมหลักของธุรกิจไม่สามารถรับมือกับปริมาณความต้องการบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้บริหารไอทีจำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาระบบเดิมให้มีความทันสมัยเป็นประจำ และไม่มองว่าเป็นการลงทุนครั้งเดียว หากระบบหลักไม่ได้รับการปรับปรุงให้มีความทันสมัย การที่จะพาธุรกิจ “กลับคืนสู่สภาวะปกติ” จะล่าช้าออกไปอีก เนื่องด้วย COVID-19 สายพันธ์ต่าง ๆ ยังสร้างผลกระทบต่อธุรกิจทั่วทั้งโลก

งานสังคมสงเคราะห์คือบริการ (Case Management as a Service หรือ CMaaS)

งานสังคมสงเคราะห์ (หรือ Case work)  เป็นรูปแบบการทำงานของภาครัฐที่มีความเป็นสากล โดยลักษณะการทำงานแบบ CMaaS สามารถสร้างความคล่องตัวแก่หน่วยงานหรือสถาบันที่อยู่ภายใต้การดูแลของภาครัฐได้ โดยยึดหลักการและแนวทางการดำเนินงานแบบแยกส่วน เพื่อทดแทนระบบการจัดการงานสังคมสงเคราะห์แบบเดิม ๆ ด้วยผลิตภัณฑ์สำหรับจัดการงานสังคมสงเคราะห์ การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ.2567 องค์กรภาครัฐที่มีแอปพลิเคชันการจัดการงานสังคมสงเคราะห์แบบแยกส่วนจะเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ ในแอปฯ ได้รวดเร็วกว่าแอปฯ รุ่นเดิมอย่างน้อย 80% กว่าองค์กรที่ไม่มี

ไฮเปอร์ออโตเมชั่น (Hyperautomation)

จากข้อมูลของการ์ทเนอร์ อีก 3 ปีข้างหน้า 75% ของรัฐบาลจะริเริ่มโครงการไฮเปอร์ออโตเมชั่นในองค์กรอย่างน้อย 3 โครงการที่เปิดตัวสำเร็จหรืออยู่ระหว่างดำเนินงาน โดยระบบไฮเปอร์ออโตเมชั่นนอกจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่่อมต่อในบริการสาธารณะแล้ว ยังเพิ่มประสิทธิภาพให้หน่วยงานรัฐในโครงการใหม่ ๆ ที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการแบบ end-to-end ไม่ใช่แค่ใช้สร้างระบบอัตโนมัติในงานแบบไซโล

ตัดสินใจอัจฉริยะ (Decision Intelligence)

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2567 60% ของรัฐบาลมีเป้าหมายลงทุนด้านเอไอและการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานและผลลัพธ์ต่าง ๆ แบบเรียลไทม์ โดยการวางแผนและการตัดสินใจควรมีการคาดการณ์เชิงรุกมากขึ้น และการใช้เทคโนโลยี AI, การวิเคราะห์ ระบบธุรกิจอัจฉริยะ และวิทยาศาสตร์ข้อมูล เพื่อลดต้นทุนลงอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากการนำมาปรับใช้ล่าช้า โดยจุดมุ่งหมายคือเพื่อทำให้บริการภาครัฐสามารถตอบสนองและส่งมอบได้ทันเวลา

การแบ่งปันข้อมูลเป็นโปรแกรม (Data Sharing as a Program)

การแบ่งปันข้อมูล (Data sharing) ในหน่วยงานภาครัฐมักเป็นกรณีเฉพาะ ซึ่งมักเกิดจากเหตุการณ์ที่มีรายละเอียดมาก แต่ในทางกลับกัน การแบ่งปันข้อมูลเป็นโปรแกรมเป็นแนวทางที่มีความเป็นระบบและสามารถปรับขนาดได้ตามความเหมาะสม เพื่อนำข้อมูลกลับมาใช้และสร้างนวัตกรรมการบริการ

การ์ทเนอร์คาดว่า ภายในปี พ.ศ.2566 องค์กรที่สนับสนุนการแบ่งปันข้อมูลจะมีประสิทธิภาพเหนือกว่าคู่แข่งส่วนใหญ่หากวัดมูลค่าทางธุรกิจ ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมการแบ่งส่วนการใช้ข้อมูลเป็นการใช้ข้อมูลซ้ำเพื่อให้บริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ผู้บริหารไอทีของภาครัฐต้องเป็นผู้นำในการเปิดใช้งานการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมนี้