Gartner

Gartner Survey Reveals 47% of Digital Workers Struggle to Find the Information Needed to Effectively Perform Their Jobs

การ์ทเนอร์ เผย 47% ของพนักงานดิจิทัลประสบปัญหาค้นหาข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

Digital Workplace Leaders Can Implement Shared Applications and Practices to Drive Better Business Outcomes

A recent survey by Gartner, Inc. found that 47% of digital workers struggle to find information or data needed to effectively perform their jobs.

“Employees struggle to stay afloat as information and applications flood their digital workplace. Although digital workers are putting in effort to try to efficiently manage this content to try reduce duplication and/or improve knowledge sharing and retention, finding the information needed to do their jobs can often be a challenge,” said Tori Paulman, Sr Director Analyst at Gartner. “Digital workplace leaders need to create a process for their employees that enables them to agree on applications they use to accomplish work.”

The Gartner survey was conducted from September through November 2022 among 4,861 full-time employees that use digital technology for work purposes, at organizations with 100 or more employees in the U.S., U.K., India and China.

Workers Want the Right Tools to Do the Job

According to the survey, the average number of applications a desk worker, also referred to as a “knowledge worker,” uses is 11, compared to six applications in 2019. Forty percent of digital workers are using more than the average number of applications and 5% of workers use 26 or more applications at work.

On an average, 66% of the respondents agreed that better business outcomes could be achieved if IT provided universally accepted and supported applications and devices to get work done. When a digital workplace applications strategy attempts to solve every challenge with a new application, the result is that digital workers struggle to find information, make the wrong decisions due to lack of awareness, get irrelevant notifications and miss important updates amid the noise (see Figure 1).

 Figure 1. Impact of Application Sprawl (Percentage of Respondents)

Source: Gartner (May 2023)

Workers Would Accept Monitoring That Helps Them Be More Productive

Interest in employee productivity monitoring has grown since the pandemic. These systems are used to see whether employees are active on devices and in applications, or which employees are most productive and whether business outcomes are being met.

While employee productivity monitoring for the purposes at the lowest end of the spectrum is widely distrusted and disliked, 96% of digital workers indicated that they would be willing to accept monitoring in return for assistance in at least one of the options provided. Of the top three options, 34% of digital workers surveyed indicated they would accept monitoring in exchange for awareness of training classes and/or career development opportunities, 33% would accept monitoring for support in finding information to do their job, and 30% would accept monitoring in exchange for proactive outreach from IT support when facing problems with their computer or applications.

Workers Want Their Technology Problems Solved Proactively

The survey found that digital workers’ top six preferred methods for solving issues with the technology they use for work are all through internal IT support, with the top three methods being live phone, chat and email conversations. When asked why, workers stated their top reasons were the expertise of the person solving their issue and the speed of resolution. These findings shifted from 2020, when workers also preferred other methods to solve their issues with digital technology, such as receiving answers on the internet and asking a co-worker.

“Digital workers are now demanding IT support be more proactive, solving problems with computers and applications before they are reported or even noticed,” said Paulman. “Digital employee experience (DEX) tools can help IT teams achieve this by continuously improving device and application performance.

“Digital workplace leaders must step up to lead DEX, and recognize they are an experience leader with a technology toolkit. They should focus on developing the qualities and practices of an employee experience leader, such as building connections across the business and increasing empathy for the way employees experience technology change.”

ผู้บริหารในองค์กรดิจิทัล (Digital Workplace) สามารถใช้แอปพลิเคชันและแนวทางปฏิบัติที่ใช้ร่วมกันได้เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ทางธุรกิจ

จากการสำรวจล่าสุดของการ์ทเนอร์ อิงค์ พบว่า 47% ของพนักงานดิจิทัลระบุว่าพวกเขาต้องพบกับความยุ่งยากไปกับการค้นหาข้อมูลที่จำเป็นเพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ

ทอร์รี พอลแมน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “พนักงานต้องประสบปัญหากับการจัดการงานในยุคดิจิทัล เนื่องจากมีข้อมูลและแอปพลิเคชันที่เข้ามาในดิจิทัลเวิร์กสเปซมากขึ้น แม้ว่าพนักงานจะพยายามจัดการคอนเทนต์เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการทำงานซ้ำซ้อนหรือเพิ่มการแบ่งปันความรู้และการรักษาความรู้ ซึ่งการค้นหาข้อมูลที่ต้องการสำหรับการทำงานกลับสร้างแรงกดดันให้พนักงานเผชิญกับความท้าทาย ผู้บริหารในองค์กรดิจิทัลควรสร้างกระบวนการที่เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถตกลงกันในแอปพลิเคชันที่ใช้ในการทำงานได้”

รายงานการสำรวจของการ์ทเนอร์นี้ดำเนินการในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ปี 2565 กับพนักงานประจำที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจำนวน 4,861 รายในองค์กรที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อินเดีย และจีน

พนักงานต้องการเครื่องมือที่เหมาะสม

จากการสำรวจพบว่าพนักงานนั่งโต๊ะ (ที่อาจเรียกว่า “พนักงานที่มีทักษะหรือ Knowledge Worker”) ใช้แอปพลิเคชันสำหรับทำงานโดยเฉลี่ย 11 แอปพลิเคชัน เมื่อเทียบกับ 6 แอปพลิเคชันในปี 2563 โดย 40% ของพนักงานดิจิทัลใช้แอปพลิเคชันทำงานมากกว่าค่าเฉลี่ย ขณะที่  5% ของพนักงานใช้มากกว่า 26 แอปพลิเคชันในที่ทำงาน

โดยเฉลี่ย 66% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า องค์กรสามารถบรรลุผลและสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้นได้ หากฝ่ายไอทีจัดหาแอปพลิเคชันและอุปกรณ์ที่ได้รับการยอมรับและสนับสนุนการทำงานในระดับสากล เมื่อกลยุทธ์แอปพลิเคชันในดิจิทัลเวิร์กสเปซพยายามเอาชนะทุกความท้าทายด้วยแอปพลิเคชันใหม่ พบว่าพนักงานดิจิทัลต้องเจอกับปัญหาในการค้นหาข้อมูล การตัดสินใจที่ไม่ดีพอเนื่องจากขาดองค์ความรู้ การได้รับการแจ้งเตือนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้องาน และพลาดการอัปเดตสำคัญท่ามกลางการถูกรบกวน (ดูรูปที่ 1)

รูปที่ 1 ผลกระทบของการใช้งานแอปพลิเคชันจำนวนมาก (เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม)

ข้อมูลจาก: การ์ทเนอร์ (พฤษภาคม 2566)

พนักงานยอมรับการตรวจสอบการทำงานเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ

การแพร่ระบาดทำให้องค์กรให้ความสนใจติดตามประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน โดยระบบเหล่านี้ตรวจสอบการมีส่วนร่วมของพนักงานผ่านอุปกรณ์และการใช้งานแอปพลิเคชัน รวมทั้งประเมินว่าพนักงานคนใดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดและตรงตามผลลัพธ์ทางธุรกิจหรือไม่

แม้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในระดับพื้นฐานที่สุดอาจเต็มไปด้วยข้อกังขา อย่างไรก็ดีการสำรวจชี้ให้เห็นว่า มีพนักงานดิจิทัลถึง 96% ระบุว่าพวกเขายินดียอมรับการตรวจสอบเพื่อแลกกับความช่วยเหลืออย่างน้อยหนึ่งในสามตัวเลือกที่ตอบในแบบสอบถาม ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่า 34% ระบุว่าพวกเขายอมรับการตรวจสอบเพื่อเป็นประตูสู่โอกาสในการฝึกอบรมเสริมความรู้และความก้าวหน้าในอาชีพ ในขณะที่ 33% ยอมรับการตรวจสอบเพื่อรับการสนับสนุนในการหาข้อมูลสำหรับทำงานของพวกเขา และ 30% ยอมรับการตรวจสอบเพื่อแลกกับการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแอปพลิเคชันเชิงรุกจากทีมไอทีเมื่อเจอปัญหา

 พนักงานต้องการให้แก้ปัญหาด้านเทคโนโลยีแบบเชิงรุก

การสำรวจพบว่าแนวทางความช่วยเหลือด้านไอทีภายในองค์กร 6 ข้อแรกที่พนักงานต้องการจากการแก้ไขด้านเทคโนโลยี โดยแนวทาง 3 อันดับแรก ได้แก่ การโต้ตอบทางโทรศัพท์ แชท และบทสนทนาทางอีเมล โดยให้เหตุผลหลักว่าความรู้ความเชี่ยวชาญของพนักงานฝ่ายไอทีที่แก้ปัญหาและความรวดเร็วในการแก้ปัญหา ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่างจากปี 2563 ที่พนักงานเลือกใช้วิธีการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา เช่น ค้นหาวิธีแก้ปัญหาทางออนไลน์และปรึกษาเพื่อนร่วมงาน

“พนักงานต้องการการสนับสนุนด้านไอทีเชิงรุกมากขึ้น เช่นได้รับการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันก่อนที่จะพบความผิดปกติหรือก่อนที่ความผิดปกตินั้นจะถูกรายงานออกไป ประสบการณ์การทำงานแบบดิจิทัลของพนักงาน (DEX) สามารถช่วยทีมไอทีให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพของอุปกรณ์และแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง” พอลแมน กล่าวเสริม

“ผู้บริหารในดิจิทัลเวิร์กสเปซต้องเริ่มขับเคลื่อน DEX และตระหนักว่าจะใช้เครื่องมือดิจิทัลที่มีอยู่ในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด พวกเขาควรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพและหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมแก่พนักงานเพื่อสร้างประสบการณ์ทำงานดิจิทัลที่ยอดเยี่ยม เช่น ส่งเสริมการเติบโตและสร้างความสัมพันธ์ทั่วทั้งองค์กร เข้าใจวิธีการที่พนักงานรับรู้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี”