Ericsson

New report: Connecting schools has the potential to boost GDP by up to 20 percent in the least connected nations

อีริคสันเผยการเชื่อมต่อเครือข่ายในสถานศึกษาช่วยกระตุ้น GDP 20% ให้กับประเทศที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตน้อยที่สุด

  • Economist Intelligence Unit (EIU) report – Connecting Learners: Narrowing the Educational Divide – highlights four key areas for multi-sector collaboration
  • Ericsson is an early funder and Global UNICEF partner for school connectivity mapping in support of the Giga initiative
  • Empowering children and communities through school connectivity and enabling access to quality digital learning will help to meet UN Sustainable Development Goals and is a catalyst for individual, regional and national economic success

An Economist Intelligence Unit (EIU) report sponsored by Ericsson (NASDAQ: ERIC) has found that nations with low broadband connectivity have the potential to realize an increase in GDP by up to 20 percent by connecting schools to the internet.

Today, education systems worldwide have been hit hard by the pandemic, with more than 190 countries instituting nationwide closures of schools. During this time, it is connectivity at home that ensured continued learning for at least a 100 million out of the 1.6 bn out -of-school students across the world. The temporary school closures are shifting perceptions on the need for connecting schools to support learning and close both the educational as well as the digital divide.

A well-educated workforce is more likely to be innovative and foster ground-breaking ideas, leading to economic development and job creation. Access to the internet in schools can also help provide equal opportunities to students in the form of improved learning and skills. These in turn can open doors to new career pathways and better quality of life, thereby benefitting the individual as well as the society at large.

Both the World Economic Forum Global Competitiveness Index (2017), and the World Bank Human Capital Index (2017) show a clear corelation between access to internet and quality of education. EIU analysis shows that for every 10 percent increase in school connectivity in a country, GDP per capita could increase by 1.1 percent.

While the global internet penetration rate has increased substantially over the years from 17% in 2005, it is still at a modest mark of just over 50% in 2021 and is not uniform across regions. In the context of the West African country of Niger, the report finds that improvements in school connectivity to Finnish levels could increase GDP per capita by almost 20 percent – from USD 550 per person in the baseline, to USD 660 per person by 2025.

The report focuses on four key actions to make a change:

  1. Collaboration is key: A holistic, public/private partnership strategy is needed to coordinate efforts with stakeholders to overcome barriers to school connectivity.
  2. Accessibility and affordability: Building infrastructure to enable access to the internet is a starting point. Quality of connection and cost are important factors as well.
  3. Embedding internet and digital tools into education: Once access to school connectivity is achieved, it must be embedded into the curriculum. Teachers must be trained to integrate technology into everyday learning.
  4. Protecting children online: School connectivity provides opportunities for children.  Additional steps must be taken to ensure healthy and protected online learning environments. Internet usage must be properly managed to ensure safe and secure use.

 

The report also recommends that public, private and NGO sector leaders around the world can make a dramatic impact towards bridging the digital divide by joining forces to make internet connectivity a global reality for school children of all ages.

As a result, Ericsson today appeals to these players to get behind the efforts of Giga (a school connectivity initiative founded by UNICEF and the International Telecommunication Union) through actions such as: funding, data sharing, technological expertise and reimagining sustainable business models for connectivity. Ericsson has committed its efforts through a three-year partnership with UNICEF to help map the current school connectivity gap across 35 countries.

The Ericsson-backed EIU report – Connecting Learners: Narrowing the Educational Divide – has reinforced the company’s belief that the ambitious goal of Giga, to connect all schools and their surrounding communities by 2030 is achievable.

Heather Johnson, Vice President of Sustainability and Corporate Responsibility, Ericsson, says: “When Giga was announced, we immediately understood the positive impact it could deliver – bridging the digital divide between and within countries, to give children the world over the opportunity of bright and rewarding futures.”

She adds: “The report makes it clear that partnership between business leaders, public sector leaders and NGOs can take effective action to address this issue and significantly impact lives. Every player in these sectors, no matter how big or small, can make a difference. We encourage stakeholders to read the report and more importantly join the Giga initiative to help realize this important goal.”

Charlotte Petri-Gornitzka, UNICEF Deputy Executive Director, Partnerships, says: “Together, we’re mapping schools around the world to identify connectivity gaps in communities. It’s key that we collaborate across sectors to connect schools and provide quality digital learning, so every child and young person can leapfrog to a brighter future.”

The report

The EIU report shows how school connectivity can lead to improved educational outcomes and enhanced career opportunities for children, resulting in higher economic activity and community growth. The report finds that these individual-level benefits for children have a snowball effect leading to higher incomes, better health, and improved overall wellbeing. The benefits can extend beyond children, supporting wider community development and economic growth.

Other potential school connectivity benefits highlighted by the report include:

  • Increasing quality of education
  • Better access to emerging fields such as blockchain, big data, machine learning and artificial intelligence
  • Creating a more productive workforce that fosters innovation and ground-breaking ideas
  • Job creation
  • Community development
  • Driving economic growth and development

To learn more about this initiative and how to get involved in the Giga initiative visit www.gigaconnect.org

 

Related links:
About the Giga Initiative
About Ericsson’s partnership with UNICEF
NOTES TO EDITORS:
Report methodology:
A detailed description of the report methodology is included in the Connecting Learners: Narrowing the Educational Divide report, pages 80-95.

 

About the Economist Intelligence Unit:
The Economist Intelligence Unit (EIU) is the research arm of The Economist Group, publisher of The Economist. As the world’s leading provider of country intelligence, it helps governments, institutions, and businesses by providing timely, reliable, and impartial analysis of economic and development strategies. Through a global network of more than 650 analysts and contributors, The EIU continuously assesses and forecasts political, economic, and business conditions in more than 200 countries. For more information, visit www.eiu.com.
  • ดิ อิโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (EIU) เผยรายงาน Connecting Learners : Narrowing the Educational Divide เน้น 4 ประเด็นหลักสำหรับการประสานงานระหว่างหลายภาคส่วน
  • อีริคสันเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนแรกเริ่มและยังเป็นพันธมิตรขององค์การยูนิเซฟ (UNICEF) สำหรับการจัดทำแผนที่การเชื่อมต่อเครือข่ายของสถานศึกษาภายใต้โครงการ Giga
  • เสริมศักยภาพให้แก่เยาวชนและชุมชนโดยอาศัยการเชื่อมต่อเครือข่ายของสถานศึกษาและรองรับการเข้าถึงหลักสูตรดิจิทัลที่มีคุณภาพ สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เพื่อกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจครอบคลุมทั้งในระดับบุคคล ท้องถิ่น ไปจนถึงระดับประเทศ

รายงานของ อิโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (Economist Intelligence Unit – EIU) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอีริคสัน (Ericsson) (NASDAQ: ERIC) ระบุว่า ประเทศที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ต่ำจะสามารถเพิ่มจีดีพี (GDP) ได้สูงถึง 20% หากดำเนินการเชื่อมต่อเครือข่ายสถานศึกษาต่าง ๆ เข้ากับอินเตอร์เน็ต

ทุกวันนี้ ระบบการศึกษาทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยกว่า 190 ประเทศต้องสั่งปิดสถานศึกษาทั่วประเทศเป็นการชั่วคราว และในช่วงเวลานี้จำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่บ้านเพื่อรองรับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องสำหรับนักเรียน-นักศึกษาอย่างน้อย 100 ล้านคนจากทั้งหมด 1.6 พันล้านคนทั่วโลก การปิดสถานศึกษาเป็นการชั่วคราวก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อทัศนะเกี่ยวกับความจำเป็นในการเชื่อมต่อเครือข่ายสถานศึกษาต่าง ๆ เพื่อรองรับการเรียนการสอน และลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาและเทคโนโลยี

บุคลากรที่มีการศึกษาดีย่อมจะมีศักยภาพที่เหนือกว่าในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและคิดค้นไอเดียที่แปลกใหม่  ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างงาน นอกจากนี้การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในโรงเรียนจะช่วยสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันให้แก่นักเรียน โดยจะช่วยปรับปรุงการเรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะได้อย่างมาก และในทางกลับกันจะช่วยเปิดประตูสู่เส้นทางอาชีพใหม่ ๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลและสังคมโดยรวม

ดัชนีความสามารถในการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index) ของ World Economic Forum (2560) และดัชนีทุนมนุษย์ (Human Capital Index) ของธนาคารโลก (2560) แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและคุณภาพการศึกษา  นอกจากนั้นข้อมูลวิเคราะห์ของ EIU ชี้ว่าการเชื่อมต่อของสถานศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุก 10% ในประเทศหนึ่ง ๆ จะทำให้ตัวเลขจีดีพีต่อหัวเพิ่มขึ้นราว 1.1%

ขณะที่อัตราการใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นจาก 17% ในปี 2548 แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับปานกลางที่มากกว่า 50% เล็กน้อยในปี 2564 อีกทั้งยังมีความเหลื่อมล้ำกันเมื่อเปรียบเทียบแต่ละภูมิภาค ตัวอย่างเช่น ประเทศไนเจอร์ในทวีปแอฟริกาตะวันตก หากมีการปรับปรุงการเชื่อมต่อเครือข่ายสถานศึกษาให้อยู่ในระดับเดียวกับประเทศฟินแลนด์ ก็จะช่วยเพิ่มจีดีพีต่อหัวได้เกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ โดยเพิ่มจาก 550 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคน เป็น 660 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนภายในปี 2568

รายงานฉบับนี้ยังเน้นย้ำ 4 มาตรการสำคัญเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลง ดังนี้:

  1. การประสานงานร่วมกันคือกุญแจสำคัญ: ภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันอย่างรอบด้านในการประสานงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเอาชนะอุปสรรคในการเชื่อมต่อเครือข่ายสถานศึกษา
  2. ความสามารถในการเข้าถึงและค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงจนเกินไป: การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตถือเป็นจุดเริ่มต้น แต่คุณภาพการเชื่อมต่อและค่าบริการก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน
  3. การผนวกรวมอินเตอร์เน็ตและเครื่องมือดิจิทัลเข้ากับการเรียนการสอน: หลังจากที่จัดหาบริการเชื่อมต่อให้กับสถานศึกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องมีการผนวกรวมเข้าไว้ในหลักสูตร โดยครูผู้สอนจะต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับการเรียนการสอนในรูปแบบปกติได้
  4. การปกป้องเยาวชนบนระบบออนไลน์: การเชื่อมต่อของสถานศึกษาจะช่วยสร้างโอกาสให้แก่เยาวชน  นอกจากนี้ จะต้องมีการดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางออนไลน์ที่เหมาะสมและปลอดภัย และจะต้องจัดการการใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

รายงานฉบับนี้ยังแนะนำว่าผู้บริหารภาครัฐ เอกชน และเอ็นจีโอทั่วโลกควรร่วมมือกันผลักดันโครงการให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแก่นักเรียน-นักศึกษาทุกเพศทุกวัย ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีได้อย่างมาก ด้วยเหตุนี้ อีริคสันจึงเรียกร้องให้ภาคส่วนต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนโครงการ Giga (โครงการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับสถานศึกษา ก่อตั้งโดยองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union)) ผ่านการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การให้ทุนสนับสนุน การแบ่งปันข้อมูล ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และการคิดค้นโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนสำหรับการเชื่อมต่อ  อีริคสันมุ่งมั่นสนับสนุนความพยายามดังกล่าวภายใต้โครงการความร่วมมือ 3 ปีกับยูนิเซฟ เพื่อช่วยจัดทำแผนที่สำหรับการระบุปัญหาช่องว่างด้านการเชื่อมต่อเครือข่ายของสถานศึกษาต่าง ๆ ในปัจจุบันใน 35 ประเทศ

รายงาน Connecting Learners: Narrowing the Educational Divide ซึ่งจัดทำโดย EIU โดยได้รับการสนับสนุนจากอีริคสัน ตอกย้ำความเชื่อของอีริคสันตามเป้าหมายหลักของโครงการ Giga นั่นคือการเชื่อมต่อเครือข่ายให้กับสถานศึกษาทุกแห่ง รวมถึงชุมชนโดยรอบ ภายในปี 2573 เป็นสิ่งที่สามารถทำได้จริง ฮีเธอร์ จอห์นสัน รองประธานฝ่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนและกิจกรรมเพื่อสังคมของอีริคสัน กล่าวว่า “เมื่อตอนที่มีการเปิดตัวโครงการ Giga เราเข้าใจในทันทีถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีภายในประเทศและระหว่างประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยมอบโอกาสให้แก่เยาวชนทั่วโลกในการสร้างอนาคตที่สดใสและยั่งยืน”

“รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ และเอ็นจีโอควรดำเนินการอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหานี้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ล้วนมีบทบาทในการสร้างความแตกต่าง เราขอเรียกร้องให้ภาคส่วนต่าง ๆ อ่านรายงานฉบับนี้ และเข้าร่วมโครงการ Giga เพื่อช่วยกันทำให้เป้าหมายที่สำคัญนี้บรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม” ฮีเธอร์ จอห์นสัน กล่าวเพิ่มเติม

ชาร์ล็อตต์ เพทรี-กอร์นิตซ์กา รองผู้อำนวยการบริหารฝ่ายความร่วมมือขององค์การยูนิเซฟ กล่าวว่า “ภายใต้ความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ เรากำลังจัดทำแผนที่ของสถานศึกษาทั่วโลก เพื่อระบุปัญหาช่องว่างด้านการเชื่อมต่อในชุมชนต่าง ๆ  เราจำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายสถานศึกษาเข้าด้วยกัน และจัดหาระบบการเรียนการสอนในรูปแบบดิจิทัลที่มีคุณภาพ เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกคนสามารถพัฒนาเติบโตสู่อนาคตที่สดใสยิ่งขึ้น”

รายงาน

รายงานของ EIU ชี้ให้เห็นว่า การเชื่อมต่อเครือข่ายของสถานศึกษาจะช่วยปรับปรุงประสิทธิผลทางการศึกษา และเพิ่มโอกาสด้านอาชีพให้แก่เยาวชน ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วจะช่วยเพิ่มกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจและพัฒนาชุมชนให้เติบโตมากขึ้น  และยังระบุถึงประโยชน์ที่เยาวชนจะได้รับในระดับบุคคล ซึ่งจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากจุดเล็ก ๆ เช่น การเพิ่มรายได้ การปรับปรุงสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่โดยรวม  และยิ่งไปกว่านั้น ยังก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนในวงกว้าง และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ

รายงานฉบับนี้ยังกล่าวถึงประโยชน์อื่น ๆ ที่อาจได้รับจากการเชื่อมต่อเครือข่ายของสถานศึกษา ไว้ดังนี้:

  • ปรับปรุงคุณภาพการศึกษา
  • ปรับปรุงการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น บล็อกเชน, บิ๊กดาต้า, แมชชีน เลิร์นนิ่ง และ AI
  • สร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการคิดค้นไอเดียที่แปลกใหม่
  • สร้างอาชีพ
  • พัฒนาสังคม
  • กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนา

คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการนี้ รวมถึงวิธีการมีส่วนร่วมในโครงการ Giga ได้ที่เว็บไซต์ www.gigaconnect.org

 

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง:
เกี่ยวกับโครงการ Giga
เกี่ยวกับความร่วมมือของอีริคสันกับยูนิเซฟ
หมายเหตุสำหรับบรรณาธิการ:
ระเบียบวิธีที่ใช้สำหรับการจัดทำรายงาน:
รายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบวิธีที่ใช้สำหรับการจัดทำรายงานระบุไว้ในรายงาน Connecting Learners: Narrowing the Educational Divide หน้า 80-95

 

เกี่ยวกับ The Economist Intelligence Unit:
ดิ อิโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (The Economist Intelligence Unit – EIU) เป็นหน่วยงานวิจัยของกลุ่มบริษัท The Economist Group ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์นิตยสาร The Economist  ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านการจัดหาข้อมูลข่าวกรองสำหรับแต่ละประเทศ EIU ให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานภาครัฐ สถาบัน และองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ด้วยการจัดหาข้อมูลวิเคราะห์กลยุทธ์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่เป็นกลาง เชื่อถือได้ และทันต่อเหตุการณ์ โดยมีนักวิเคราะห์ในสังกัดมากกว่า 650 คนทั่วโลก EIU ดำเนินการประเมินและคาดการณ์ข้อมูลด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสภาพธุรกิจในกว่า 200 ประเทศอย่างต่อเนื่อง ชมูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.eiu.com