Dassault Systèmes

Enabling SMEs to make the transition to factories of the future

ขับเคลื่อน SME สู่โรงงานแห่งอนาคต

The small and medium enterprise (SME) segment forms the economic backbone of many Asia Pacific countries – responsible for creating jobs for the masses, motivating the development of new products and services, spurring consumption growth, and playing a crucial role in promoting industry competition.

According to Thailand’s Office of SMEs Promotion (OSMEP 2019), in 2018, approximately 3 million companies were classed as SMEs, accounting for 86% of total employment in the country and contributing as much as 45% to the gross domestic product (GDP). However, SME contribution to the GDP dropped to 35% in the first quarter of 2021, according to OSMEP – a direct result of the harsh economic impact of the COVID-19 pandemic.

Manufacturing SMEs across Thailand need to transcend traditional business paradigms and must accelerate their adoption of digital technologies to compete in today’s constantly changing landscape. Digital transformation will open a new range of opportunities, enabling them to engage in higher levels of product and service innovation to better serve their customers, create new sources of value and ultimately enhance their competitiveness and resilience in both local and global markets.

Here are recommendations to some of the common questions posed from SME manufacturers, on how digital technologies can help them achieve greater productivity, agility and competitiveness in the market.

My customers frequently request for design changes. How can my engineering team manage multiple revisions and customer demands more efficiently?

Customer demands are evolving – they expect faster turnaround while often changing their requirements. That is why team collaboration is so crucial today. A model-based engineering system allows teams to collaboratively work together on a single model, eliminating silos altogether. SMEs need to look for a collaborative platform which can offer a unified database. This means that there is only one single source of truth for all teams to collaborate on, empowering businesses and people to innovate in entirely new ways and create products and services. The mold designer for instance, will have access to features such as plastic injection simulations in one single environment, working on one model. SME’s can also leverage more advanced features such as design automation to help you save more time. To ensure protection of data, SMEs can define which user groups are allowed access to the data, down to the individual level.

How can my production team manage design revisions and multiple variants?

Capturing knowledge is critical if you want to speed up your project or provide customization. Data can be imported from past projects, such as the type of accessories, configuration, or NC machine codes that have been used for similar products. For design changes, because we are working with a single digital model, information will flow seamlessly from design to production. The production team will receive a notification, and they will be able to easily update based on the new geometry. With a suite of integrated applications to define tool paths, simulate material removal and machine motion, SMEs don’t have to deal with the complexity of using multiple tools and data formats to validate operations.

Dassault Systèmes_ขับเคลื่อน SME สู่โรงงาน

How can my team better manage complexity with robots on the manufacturing floor?

With a collaborative platform, SMEs can carry out robotics programming and simulation with speed and accuracy. They have access to a large catalogue of robots, or can create their own custom robot. Robotic programming solutions will allow SMEs to simulate and validate robot tasks, as well as perform offline programming. These capabilities enables companies to optimize and increase the productivity of robot operations.

We intend to buy more robots and machines. How can I evaluate return on investments ahead of time?

SMEs can leverage virtual environments to layout and simulate their 3D manufacturing environment, and validate their best option. This means, no more investment in equipment beforehand in order to realize the outcome. Simulations of the factory floor, including Automated Guided Vehicles (AGVs), at the scale of one line or the entire factory can be built.  The virtual twin simulation will help SMEs to identify the optimum setup, down to very fine details. Further, SMEs can validate production concepts, reduce cycle times, identify bottlenecks, or better understand resource utilization, all the while improving all aspects of the robot system.

How can I improve visibility and better manage operations on my shop floor?

To remain competitive today, traditional approaches to managing operations are no longer sufficient. A Manufacturing Operations Management (MOM) solution integrates all available sources of data onto a tablet, giving SMEs near real-time visibility and management over the entire shop floor. Through such a system, SMEs have key information such as machine statuses, work order progress, resource utilization, metrics such as Overall Equipment Effectiveness (OEE), and other data needed for monitoring and decision-making. Equipped with real-time information, SMEs can be agile and react quickly to unplanned events and changing customer needs.

We always seem to have quality issues on the shop floor. How can I improve output quality?

Quality management capabilities are natively integrated into a MOM solution. The dashboard gives an overall summary of the products that have gone through functional tests – which ones have passed or failed. Quality inspectors can choose the relevant product, and carry out paperless measurements on this system itself.  If there are issues, non-conformance reports can be created for follow-up by the Quality Assurance (QA) manager. The QA manager can study, analyze and drive improvement from there. Alerts with defect codes can be sorted according to priority levels, so that these issues can be resolved in a timely and systematic manner.

For visual inspections, a virtual twin representation of the product can be generated to accurately annotate defects found, so that they can be quickly resolved and used for deeper analysis to drive improvement. Statistical Process Control (SPC) analysis can also be used to track product and process quality. It allows SMEs to track processes over time, check whether these processes are stable, and identify issues before defects appear on the production line.

Dassault Systèmes_โซลูชัน Manufacturing Operations Management (MOM)

A key prong of the “Thailand 4.0” national development plan, seeks to promote the adoption and innovation of digital and automation and robotics technology among SMEs. According to the “ASEAN SME Transformation Study 2020” by UOB, Accenture and Dun & Bradstreet, nearly three quarters (71%) of SMEs in Thailand ranked technology investment as their top priority, the highest among Southeast Asian economies.

With these solutions, SMEs can digitize their entire manufacturing process from design to production, bring manufacturing excellence to the next level, and transition to become factories of the future.

นาย เหลียง ยิง ชุน_หัวหน้าฝ่าย Manufacturing Technical, Asia Pacific South, Dassault Systèmes

บทความประชาสัมพันธ์

โดย นาย เหลียง ยิง ชุน 

หัวหน้าฝ่าย Manufacturing Technical, Asia Pacific South, Dassault Systèmes

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี (SME) นับเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิก อาทิ เพิ่มอัตราการจ้างงานจำนวนมาก เร่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ กระตุ้นให้เกิดการบริโภคสูงขึ้น และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม

ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ประจำปี พ.ศ. 2562 ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2561 มีเอสเอ็มอีประมาณ 3 ล้านบริษัท ซึ่งคิดเป็น 86% ของการจ้างงานในประเทศไทย และคิดเป็น 45% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) อย่างไรก็ตามพบว่า ตัวเลขการเติบโตของจีดีพีจากภาคเอสเอ็มอีปรับลดลงเหลือ 35% ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2564 จากข้อมูลของ สสว. ซึ่งรายงานภาพรวมของเศรษฐกิจไทยและกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19

อุตสาหกรรมการผลิตในกลุ่มเอสเอ็มอีทั่วประเทศไทยจำเป็นต้องก้าวข้ามการทำธุรกิจรูปแบบเดิม ๆ และต้องเร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในปัจจุบัน โดยดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันจะเปิดโอกาสใหม่ ๆ ทำให้พวกเขามีส่วนร่วมในนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ล้ำหน้าและยกระดับบริการเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น สร้างแหล่งมูลค่าใหม่ ๆ และท้ายที่สุดคือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันพร้อมความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจทั้งตลาดในระดับประเทศและในระดับโลก

โดย Dassault Systèmes ขอเสนอมุมมองเกี่ยวกับความท้าทายในการรับมือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นของผู้ประกอบการโรงงานเอสเอ็มอี และข้อเสนอแนะในการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ความคล่องตัว และความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้มากขึ้น

เอสเอ็มอีจะรับมือความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงเร็วโดยเฉพาะด้านการขอปรับงานดีไซน์ได้อย่างไร?

เมื่อความต้องการลูกค้าเปลี่ยนแปลงตลอด และคาดหวังการตอบสนองที่รวดเร็ว นั่นคือเหตุผลที่การทำงานเป็นทีมจึงมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน และระบบงานวิศวกรรมช่วยให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันได้ผ่านแพลตฟอร์มหนึ่งเดียวกันซึ่งช่วยขจัดปัญหาการทำงานแบบไซโลได้อย่างสิ้นเชิง เมื่อคำนึงถึงความท้าทายดังกล่าว เอสเอ็มอีจำเป็นต้องมองหาแพลตฟอร์มเพื่อให้พนักงานทำงานร่วมกันผ่านฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ โดยใช้แพลตฟอร์มเดียวที่เปิดโอกาสให้ทีมงานทุกคนสามารถเข้าถึงและทำงานร่วมกันได้ ยกระดับธุรกิจและทีมงานให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ รวมทั้งคิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จะสามารถใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น การจำลองการฉีดพลาสติกในสภาพแวดล้อมเดียว และทำงานในแบบจำลองเดียว เอสเอ็มอียังสามารถใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติขั้นสูงเพิ่มเติม เช่น การออกแบบอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลามากขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความมั่นใจในการปกป้องข้อมูล โดยกำหนดผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบกลุ่มหรือรายบุคคล

ฝ่ายผลิตสามารถจัดการกับแบบที่มีการแก้ไขและรับมือกับตัวแปรอื่น ๆ ได้อย่างไร?

การถอดองค์ความรู้แบบเฉพาะเจาะจง (Capturing knowledge) เป็นสิ่งสำคัญหากต้องการเพิ่มความเร็วในการทำโปรเจกต์หรือเตรียมการปรับแต่ง โดยสามารถนำเข้าข้อมูลจากโครงการที่ผ่านมา เช่น ชนิดของอุปกรณ์เสริม การกำหนดค่า หรือรหัสเครื่อง NC ที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน สำหรับการเปลี่ยนแปลงการออกแบบ เนื่องจากทีมงานทั้งหมดทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัลตัวเดียวกัน ข้อมูลจะถูกส่งต่อจากทีมงานออกแบบไปสู่ทีมงานการผลิตอย่างราบรื่น ซึ่งฝ่ายผลิตจะได้รับการแจ้งเตือน และสามารถอัปเดตตามโมเดลที่ได้รับการอัปเดตได้อย่างง่ายดาย ด้วยชุดแอปพลิเคชันที่ทำงานสอดประสานกันเพื่อกำหนดรูปแบบการใช้งานของเครื่องมือ จำลองการนำวัสดุออก และการเคลื่อนไหวของเครื่องจักร โดยเอสเอ็มอีไม่ต้องจัดการกับความซับซ้อนของการใช้เครื่องมือและรูปแบบข้อมูลที่หลากหลายเพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการปฏิบัติงาน

ฝ่ายผลิตควรดำเนินการอย่างไรเพื่อลดความซับซ้อนในการใช้งานหุ่นยนต์ในกระบวนการผลิต?

ด้วยแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกัน เอสเอ็มอีสามารถเขียนโปรแกรมและจำลองหุ่นยนต์เพื่อใช้งานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยสามารถเข้าถึงแคตตาล็อกหุ่นยนต์จำนวนมากหรือสามารถสร้างหุ่นยนต์ที่กำหนดค่าต่าง ๆ เองได้ โซลูชันการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์จะช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถจำลองและตรวจสอบการทำงานของหุ่นยนต์ รวมทั้งดำเนินการตั้งโปรแกรมออฟไลน์ได้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์ได้

Dassault Systèmes_ขับเคลื่อน SME สู่โรงงาน

หากต้องการซื้อหุ่นยนต์และเครื่องจักรเพิ่มเติม จะสามารถประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนล่วงหน้าได้อย่างไร?

เอสเอ็มอีสามารถใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมเสมือนจริงเพื่อจัดวางและจำลองสภาพแวดล้อมการผลิต แบบ 3 มิติ รวมทั้งเลือกแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับใช้ในการผลิตได้ ซึ่งหมายความว่าไม่ต้องลงทุนอุปกรณ์ล่วงหน้าเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อีกต่อไป สามารถสร้างแบบจำลองของพื้นที่โรงงาน รวมถึง Automated Guided Vehicles (AGV) ให้เหมาะสมกับขนาดการผลิต ทั้งแบบเดี่ยวหรือทั้งโรงงานได้ โดยการจำลองโลกเสมือนจริง (virtual twin simulation) จะช่วยให้ เอสเอ็มอีตั้งค่าได้เหมาะสมที่สุดจนถึงพิจารณารายละเอียดที่ซับซ้อนได้ นอกจากนี้ยังสามารถวางแผนได้ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ลดรอบเวลา ระบุปัญหาคอขวด หรือเข้าใจการใช้ทรัพยากรได้ดีขึ้น พร้อม ๆ กับการปรับปรุงการทำงานของระบบหุ่นยนต์

จะปรับปรุงและจัดการกับการผลิตหน้างานให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร?

เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในปัจจุบัน เอสเอ็มอีต้องปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานใหม่ โดยโซลูชัน Manufacturing Operations Management (MOM) จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดลงในแท็บเล็ต ทำให้เอสเอ็มอีมองเห็นและบริหารจัดการหน้างานได้แบบเรียลไทม์ ด้วยระบบดังกล่าว เอสเอ็มอีจะทราบถึงข้อมูลสำคัญ ๆ อาทิ สถานะเครื่องจักร ความคืบหน้าใบสั่งงาน การใช้ทรัพยากร ตัวชี้วัด เช่น ประสิทธิภาพอุปกรณ์โดยรวม (OEE) และข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการตรวจสอบและการตัดสินใจ ด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์นี้ เอสเอ็มอีจะสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวและรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดและความต้องการลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ปัญหาด้านคุณภาพหน้างานมักเกิดขึ้นเป็นประจำ จะสามารถปรับปรุงคุณภาพผลผลิตได้อย่างไร?

ความสามารถในการจัดการคุณภาพถูกรวมเข้ากับโซลูชัน MOM โดยเอสเอ็มอีสามารถตรวจสอบแดชบอร์ดสรุปข้อมูลโดยรวมของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบการใช้งาน เช่น ระบุว่าผลิตภัณฑ์ใดผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ผ่าน ผู้ตรวจสอบคุณภาพสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และทำการวัดผลบนระบบนี้โดยไม่ต้องใช้กระดาษ หากมีปัญหา ผู้จัดการฝ่ายประกันคุณภาพ (QA) สามารถสร้างรายงานสำหรับปัญหานั้นๆ เพื่อติดตามผล รวมทั้งศึกษารูปแบบ วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาได้จากรายงานดังกล่าว นอกจากนี้ยังสามารถจัดเรียงการแจ้งเตือนที่มีรหัสข้อบกพร่องตามระดับความสำคัญได้ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ในเวลาที่เหมาะสมและเป็นระบบ

สำหรับการตรวจสอบด้วยสายตา รูปแบบการจำลองโลกเสมือนจริงสามารถช่วยให้การตรวจสอบข้อบกพร่องที่พบได้อย่างแม่นยำ ช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและใช้บทวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อพัฒนาและปรับปรุงต่อไป การควบคุมกระบวนการผลิตด้วยหลักสถิติ (SPC) ยังสามารถนำมาใช้เพื่อติดตามผลิตภัณฑ์และตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการ ช่วยให้เอสเอ็มอีตรวจเช็คกระบวนการย้อนหลัง พร้อมตรวจสอบว่ากระบวนการเหล่านี้มีความเสถียรหรือไม่ และยังสามารถช่วยระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการผลิต

Dassault Systèmes_โซลูชัน Manufacturing Operations Management (MOM)

หลักสำคัญอย่างนึงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย “Thailand 4.0” คือความพยายามส่งเสริมการนำนวัตกรรมดิจิทัล ออโตเมชัน และเทคโนโลยีหุ่นยนต์ไปใช้ในภาคเอสเอ็มอี ประกอบกับรายงาน “ASEAN SME Transformation Study 2020” จัดทำโดย UOB, Accenture และ Dun & Bradstreet พบว่า เกือบสามในสี่ (71%) ของเอสเอ็มอีในประเทศไทยจัดอันดับให้การลงทุนด้านเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด ซึ่งสูงที่สุดในบรรดาประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ด้วยโซลูชั่นเหล่านี้ เอสเอ็มอีสามารถแปลงกระบวนการผลิตทั้งหมดของพวกเขาให้เป็นดิจิทัลตั้งแต่การออกแบบจนเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต นำความเป็นเลิศด้านการผลิตไปสู่อีกระดับ ก้าวสู่การเป็นโรงงานแห่งอนาคต