Red Hat

Automate to collaborate: Automation holds the key to security governance and culture of collaboration

การทำงานร่วมกันแบบอัตโนมัติ: ระบบอัตโนมัติเป็นกุญแจสำคัญในการ กำกับดูแลความปลอดภัย และก่อให้เกิดวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกัน

Article by Massimo Ferrari
Consulting Product Manager – Ansible Security Automation, Red Hat

Enterprise security is coming under intense scrutiny as cyberattacks and breaches become more prevalent. Massimo Ferrari, Consulting Product Manager, responsible for Red Hat’s Ansible Security Automation initiative, discusses how automation can help to unify security operations and open a dialogue with IT and other business stakeholders.

A typical FTSE 100 or Fortune 500 company has a vast and complex set of cyber security defenses in place; managed by multiple security operations teams spread across different business units and different geographies. A great deal of effort is put into securing an enterprise organisation. Yet, despite the high level of diligence and preparation, security teams still lack a common framework and a common language that they can use to share designs, processes and ideas.

This can be achieved by introducing automated workflows and processes based on a universal programmable language. However, the language must be accessible to all. It must be easy to understand and easy to write; so that information can be documented and shared amongst security professionals with different domain expertise.

It should also support a completely unbiased approach, rather than a closed, proprietary system. This would upset the delicate balance of the complex security ecosystems already in place in large organisations. Finally, the system needs to be modular by design so that it can accommodate the vast, and growing, number of cybersecurity tools that large enterprises amass over time.

IT and network operations teams have been using automated systems for some time. This is encouraging a culture of collaboration between different IT stakeholders. However, it’s an ongoing process and IT teams are always looking for the right combination of tools to support a comprehensive automation programme. With security becoming more tightly integrated with the IT department, security operations teams, operating on different protocols, now have an opportunity to embrace automation.

In recent years we’ve seen the posts of CIO and CTO elevated to boardroom level, with senior figures in IT now influencing corporate strategy. Due to a heightened awareness of cyber security, it won’t be long before the board looks to CSO and CISO executives for strategic direction. If security executives are having conversations at the highest level of an organisation, why shouldn’t security teams be having conversations across the entire business? With the right elements in place (universal language, unbiased system and a modular design) it’s possible to support a set of automated workflows and processes that will unify security operations.

However, security isn’t just a single entity, it’s made up of different elements such as endpoint, network and data security. Managing a sprawling mass of people, processes and applications can be daunting prospect without having automated workloads in place.

Security automation offers an elegant solution to all of this by uniting the different security practices together using a set of automated workflows. This breaks down barriers and allows security professionals to provide colleagues with access to systems and applications. Security professionals can communicate with each other via automated scripts that contain explicit instructions on how to address specific tasks. A system owner can provide as much access as is required to support wider enterprise security initiatives, safe in the knowledge that their systems won’t be compromised or their authority undermined. However, without a common language in place, teams are faced with impenetrable code and terminology that only a developer can understand.

Consequently, security operations managers have greater visibility across the entire security function, while the teams themselves can interact, learn more about each other’s responsibilities, develop better relationships and share accountability. However, any reluctance in the past to share accountability was born out of security being a very siloed practice rather than a lack of trust.

There are several different frameworks organisations can choose from, but it would be more conducive if the automated system was based on open standards. The system would then be unbiased by virtue of its design. This enables security operations to develop structured workflows that can be integrated into existing SOAR platforms and SIEM applications, helping to bolster capabilities.

An effective and open security automation framework connects disparate systems from across the enterprise through automated workflows. Meaning that security professionals can design and build code that can be executed to drive new processes and reduce human error. Subsequently, security operations teams can perform a series of actions across different products and solutions much faster.

Automation enables security operations to foster a spirit of openness and collaboration. However, real change is also dependent on the human factor and the ability of once disparate teams to get around a table to discuss how they can work together to achieve common goals.

บทความโดย มาสสิโม เฟอรารี่
ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ – Ansible Security Automation, เร้ดแฮท

การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรกำลังได้รับการพิจารณาตรวจสอบอย่างจริงจัง เพราะการโจมตีทางไซเบอร์และการละเมิดสิทธิ์กำลังแพร่กระจายมากขึ้น นายมาสสิโม เฟอรารี่ ผู้จัดการฝ่ายที่ปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์ ซึ่งดูแลผลิตภัณฑ์ Ansible Security Automation ของเร้ดแฮท กล่าวถึงวิธีการที่ระบบอัตโนมัติสามารถช่วยให้การทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ รวมเป็นหนึ่งเดียว และเปิดโอกาสให้ผู้ดูแลด้านไอที และผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจทุกฝ่ายสื่อสารกันได้

บริษัทในกลุ่ม FTSE 100 หรือ Fortune 500 มีการใช้ชุดกฎระเบียบในการป้องกันภัยไซเบอร์ที่ใหญ่โต และซับซ้อน บริหารจัดการโดยทีมงานด้านความปลอดภัยหลายทีมที่กระจายกันอยู่ตามหน่วยธุรกิจและภูมิภาคต่าง ๆ ต้องใช้ความพยายามที่สูงมากในการทำให้ข้อมูลขององค์กรหนึ่ง ๆ มีความปลอดภัย แต่ถึงแม้ว่าทีมงานที่ดูแลด้านการรักษาความปลอดภัยจะทุ่มเทอย่างมากและมีเตรียมการอย่างดีแล้วก็ตาม แต่ทีมงานก็ยังขาดรูปแบบ (framework) และการสื่อสารพื้นฐานที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ เพื่อใช้สื่อสารความคิด แผนการออกแบบ และกระบวนการต่าง ๆ ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าใจได้

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นจะสำเร็จได้ด้วยการใช้เวิร์กโฟลว์และกระบวนการทำงานที่เป็นอัตโนมัติที่ทำงานด้วยภาษาสากลที่สามารถโปรแกรมได้ อย่างไรก็ตาม ภาษาที่ใช้จะต้องเป็นภาษาที่ทุกคนเข้าถึงได้ ต้องเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เขียนง่าย เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาจัดทำเป็นเอกสาร และส่งไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทุกคนที่มีความชำนาญในการใช้โดเมนที่แตกต่างกัน

นอกจากนี้ระบบอัตโนมัติที่จะนำมาใช้ควรรองรับวิธีการทำงานที่ใครก็สามารถเข้าใช้งานได้ มากกว่าจะเป็นระบบปิดที่มีกรรมสิทธิ์ ซึ่งจะส่งผลให้ระบบนิเวศด้านการรักษาความปลอดภัยอันซับซ้อนที่มีอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่เสียสมดุลได้ โดยสรุปแล้วระบบจำเป็นต้องได้รับการออกแบบในลักษณะแยกเป็นโมดูล เพื่อให้สามารถรองรับเครื่องมือรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จำนวนมากที่องค์กรขนาดใหญ่นำมาใช้เพิ่มขึ้นตลอดเวลาได้

ทีมงานด้านไอทีและระบบเน็ตเวิร์กมีการใช้ระบบอัตโนมัติมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นการช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบไอทีทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม การนำระบบอัตโนมัติมาใช้เป็นกระบวนการต่อเนื่อง ซึ่งทีมไอทีต้องมองหาและนำเครื่องมือต่าง ๆ มาทำงานร่วมกันให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา เพื่อใช้สนับสนุนโปรแกรมอัตโนมัติที่ทำงานได้อย่างครบวงจร การที่ระบบรักษาความปลอดภัยได้ผสานรวมอย่างแน่นหนาอยู่กับแผนกไอที จะช่วยให้ทีมทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยทุกทีม รวมถึงการทำงานบนโปรโตคอลที่แตกต่างกัน มีโอกาสใช้และได้ประโยชน์จากระบบอัตโนมัติเช่นกัน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นผู้บริหารระดับสูงของฝ่ายไอที เช่น ประธานฝ่ายสารสนเทศ (CIO) และประธานฝ่ายเทคนิค (CTO) เข้ามามีบทบาทในระดับบริหารและมีอิทธิพลต่อการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรมากขึ้น และด้วยความตระหนักถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้น มีการคาดการณ์ว่าในอีกไม่นานคณะกรรมการบริหารขององค์กรจะพิจารณาให้ประธานฝ่ายความปลอดภัย (CSO) และประธานฝ่ายความปลอดภัยข้อมูล (CISO) เข้ามามีส่วนในการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ขององค์กรด้วยเช่นกัน เมื่อผู้บริหารระดับสูงของฝ่ายความปลอดภัยได้เข้าไปมีบทบาทในระดับสูงสุดขององค์กร ทีมงานของฝ่ายความปลอดภัยก็ควรมีบทบาทในหน่วยงานทั้งหมดขององค์กรด้วย โดยการใช้องค์ประกอบที่เหมาะสม (ภาษาที่เป็นสากล ระบบที่ทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้ และการออกแบบโมดูลที่เป็นมาตรฐาน) ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะสามารถช่วยสนับสนุนเวิร์กโฟลว์ และกระบวนการอัตโนมัติที่สามารถดูแลเรื่องความปลอดภัยภาพรวมเป็นหนึ่งเดียวกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย

อย่างไรก็ตาม การรักษาความปลอดภัยต้องมีองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย เช่น อุปกรณ์ปลายทาง (endpoint) เน็ตเวิร์ก และการรักษาความปลอดภัยข้อมูล การบริหารจัดการกลุ่มคน กระบวนการ และแอปพลิเคชั่น จำนวนมากอาจมีโอกาสเกิดความเสี่ยงขึ้นได้หากไม่ได้ใช้เวิร์กโหลดที่เป็นระบบอัตโนมัติ

ระบบรักษาความปลอดภัยแบบอัตโนมัติเป็นโซลูชั่นที่ดีเยี่ยมเพื่อใช้ขจัดความท้าทายดังกล่าว ด้วยการรวมวิธีการรักษาความปลอดภัยที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยการใช้ชุดเวิร์กโฟลว์อัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีอยู่ และช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยสามารถจัดให้ผู้ร่วมงานเข้าถึงระบบและแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้ โดยการสื่อสารกับแต่ละคนผ่านสคริปต์อัตโนมัติที่มีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีจัดการงานเฉพาะด้านต่าง ๆ อย่างชัดเจน และเจ้าของระบบสามารถจัดให้มีการเข้าถึงระบบและเครือข่ายได้มากเท่าที่ต้องการ เพื่อช่วยให้ผู้ร่วมงานมีแนวคิดใหม่ ๆ ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลองค์กรมากขึ้น รวมทั้งมีความรู้สึกวางใจและปลอดภัยที่ได้ทราบว่าระบบของพวกเขาจะไม่ถูกบุกรุก หรือสิทธิ์ของพวกเขาจะไม่ถูกละเมิด อย่างไรก็ตาม หากโซลูชั่นด้านระบบอัตโนมัติไม่ได้ใช้ภาษาที่ทุกคนเข้าใจ ทีมงานจะต้องเผชิญกับโค้ด และคำศัพท์ที่มีแต่นักพัฒนาซอฟต์แวร์เท่านั้นที่จะเข้าใจได้

ดังนั้น ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการด้านการรักษาความปลอดภัยจึงรับรู้และมองเห็นการทำงานของฟังก์ชั่นด้านความปลอดภัยทั้งหมดที่มี ในขณะเดียวกันทีมงานของพวกเขาก็จะสามารถโต้ตอบ และเรียนรู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบของแต่ละคน มีการพัฒนาความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น และแบ่งปันความรับผิดชอบร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ความไม่สมัครใจที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น เกิดจากการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยที่เป็นแบบต่างคนต่างทำมากกว่าเกิดจากการขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

องค์กรสามารถเลือกใช้เฟรมเวิร์กที่แตกต่างกันซึ่งมีอยู่อย่างมากมายได้ แต่หากระบบอัตโนมัติที่จะเลือกมาใช้นั้นทำงานอยู่บนมาตรฐานระบบเปิด (Open Standard) ก็จะเป็นประโยชน์มากขึ้น เพราะตัวระบบจะมีการออกแบบที่ทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้ ซึ่งช่วยให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัยสามารถพัฒนาเป็นเวิร์กโฟลว์ที่มีโครงสร้างที่สามารถทำงานร่วมกับแพลตฟอร์ม SOAR และแอปพลิเคชั่น SIEM ที่มีอยู่ได้ ซึ่งเป็นการช่วยเสริมศักยภาพได้เป็นอย่างดี

เฟรมเวิร์กของการรักษาความปลอดภัยอัตโนมัติที่เป็นระบบเปิดที่มีประสิทธิภาพจะเชื่อมต่อกับระบบต่าง ๆ ที่ใช้งานอยู่ในทุกส่วนขององค์กรผ่านเวิร์กโฟลว์อัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยสามารถออกแบบและสร้างโค้ดที่ขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการทำงานใหม่ ๆ และลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ได้ ความต่อเนื่องที่เกิดตามมาก็คือ ทีมงานด้านความปลอดภัยสามารถออกชุดปฏิบัติการต่าง ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่แตกต่างกันได้เร็วขึ้นอย่างมาก

ระบบอัตโนมัติทำให้การทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยเป็นไปด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง และพร้อมทำงานร่วมกัน แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงที่จะสำเร็จได้อย่างแท้จริงนั้นยังขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านบุคลากร และความสามารถในการทำให้ทีมที่แตกต่างกัน มานั่งลงหารือร่วมกันได้ว่าจะทำงานร่วมกันอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน