OutSystems

OutSystems Study Reveals 29 Percent of Southeast Asian Organizations Plan To Adopt Visual Development Tools In The Next 18 Months

เอาท์ซิสเต็มส์เผยผลสำรวจ 29 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางแผนนำเครื่องมือสำหรับพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบ Visual มาใช้ในช่วง 18 เดือนข้างหน้า

Some 58 percent of developers cite security and development integration as the biggest challenge they face in adopting low-code development platforms

THAILAND –  25 November 2020 – OutSystems, the global leader in modern application platforms – including low-code development, has shared results from an InfoBrief study by leading IT market research and advisory firm IDC. The Asia/Pacific 2020 Software Survey: DevOps, DevSecOps, and the Future of Digital Innovation, sponsored by OutSystems, delves into how organizations in Asia-Pacific can turn into digital innovation factories to thrive in today’s business environment. According to the results obtained, 39 percent of Asia-Pacific IT leaders depend on visually-guided development tools. The top three reasons for adoption were the belief that visually-guided development tools are the future –  the simplification of the developer experience, and the provision of a more intuitive developer experience. With more than half of Asia-Pacific decision-makers confident their organizations will rely on low-code platforms for at least a quarter of all planned projects, low-code tools are set to gain critical mass adoption in the upcoming year 2021.

“With the Asia-Pacific region now in rapid growth, the region is set to further expand into an increasingly formidable data powerhouse by 2024,” said Mark Weaser, Vice President, Asia Pacific, OutSystems. “It’s only natural for enterprises in our region to gravitate towards the dramatic benefits of using visual development tools for building cloud-native applications. OutSystems is privileged to be able to support the needs of businesses in the provision of low-code and cloud technology to help the region reach its full potential as a digital data powerhouse in the near future.”

Catching up with early adopters

While Southeast Asia continues to grow quickly as a future-facing data powerhouse, some organizations still struggle to adopt agile and DevOps processes and practices across the software development lifecycle. For countries with more advanced efforts such as Singapore and Indonesia, emphasis is heavier on fine tuning DevOps teams and securing those processes. As such, integration and open source management have become top development priorities for organisations in the region.

Primary challenges

At present, 29 percent of Southeast Asian organizations plan to adopt visual development tools in the next 18 months. Interestingly, the main challenge faced in Southeast Asia is far different from those of their neighbouring peers in the Asia-Pacific. Security and development integration comes in top, with 58 percent of organizations listing it as the top challenge faced, followed by creation of multidisciplinary teams and convincing of leadership on the value of DevOps at 48 percent and 47 percent respectively

“Having spoken to multiple Southeast Asian developers, OutSystems is aware of the mounting concern for integrated security, particularly with the rising scale and instances of data theft today,” stated Weaser. “OutSystems provides a range of security functions encompassing application security, Virtual Private Cloud (VPC) infrastructure and an always-on incident response team. While OutSystems focuses on accelerating application development, we believe speed cannot come at the expense of security. We provide clients with nothing less than a secure runtime environment and the tools necessary for secure development.”

Post-Covid-19 agility

On security in the wake of the Covid-19 crisis, IDC expects software development lifecycles to continue to shorten and gathers that enterprises should take care in integrating security into planning phases in order to stay ahead of the curve. Rising customer expectations can and should be met with innovative customer experiences to engender the creation of new markets and audiences; risk-taking, data analysis and continued incorporation of customer feedback does well in driving new ideas on new platforms. The concerns of the 27 percent of Southeast Asian organizations listing recruitment as their top priority are well-founded; with hiring freezes, labour crunches and tightening regulations, companies are encouraged to start recruitment planning before the need to fill the post arrives. Building apps enables upskilling and continuous education, whereas letting business developers work side-by-side with IT helps address development shortfalls.

นักพัฒนาราว 58 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าการบูรณาการระบบรักษาความปลอดภัยและการพัฒนาแอปพลิเคชั่น คือความท้าทายที่สำคัญสำหรับการประยุกต์ใช้งานแพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ Low-code

ประเทศไทย – 25 พฤศจิกายน 2563 – เอาท์ซิสเต็มส์ (OutSystems) ผู้นำระดับโลกด้านแพลตฟอร์มโมเดิร์นแอปพลิเคชั่น รวมถึงแพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ Low-code เปิดเผยผลการศึกษา InfoBrief ซึ่งจัดทำโดยไอดีซี (IDC) บริษัทชั้นนำด้านการวิจัยตลาดและการให้คำปรึกษาด้านไอที  ผลการสำรวจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ในเอเชีย-แปซิฟิกประจำปี 2563: DevOps, DevSecOps และอนาคตของนวัตกรรมดิจิทัล (Asia/Pacific 2020 Software Survey: DevOps, DevSecOps, and the Future of Digital Innovation) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยเอาท์ซิสเต็มส์ เจาะลึกรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการขององค์กรต่าง ๆ ในเอเชีย-แปซิฟิกสำหรับการปรับเปลี่ยนองค์กรให้กลายเป็นศูนย์พัฒนาด้านนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อให้ประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมของธุรกิจในปัจจุบัน  ผลการสำรวจดังกล่าวระบุว่า 39 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารฝ่ายไอทีในเอเชีย-แปซิฟิก มีการพึ่งพาเครื่องมือสำหรับพัฒนาแอปพลิเคชั่นโดยมีภาพและกราฟฟิกในการพัฒนา (Visually-guided Development tools) ทั้งนี้มีเหตุผลสำคัญที่สุด 3 ข้อคือ ผู้บริหารเชื่อว่าในอนาคตเครื่องมือพัฒนาดังกล่าวจะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งยังช่วยให้นักพัฒนาทำงานได้ง่ายขึ้น และรองรับการใช้งานหลากหลายและสะดวกง่ายดาย  นอกจากนี้ ผู้บริหารในเอเชีย-แปซิฟิกกว่าครึ่ง มั่นใจว่าองค์กรของตนจะใช้งานแพลตฟอร์มการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ไม่ต้องเขียนโค้ดเองมากนัก หรือแพลตฟอร์ม Low-code อย่างน้อยหนึ่งในสี่ของโครงการทั้งหมดที่วางแผนไว้ โดยคาดว่าเครื่องมือแบบ Low-codeจะได้รับการใช้งานอย่างกว้างขวางในช่วงปี 2564

มาร์ค วีเซอร์ รองประธานประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของเอาท์ซิสเต็มส์ กล่าวว่า “ปัจจุบัน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นศูนย์กลางที่ขับเคลื่อนระบบข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพภายในปี 2567  ด้วยเหตุนี้ องค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้จึงหันมาใช้เครื่องมือพัฒนาแบบ Visual กันมากขึ้นเพื่อรองรับการสร้างแอปพลิเคชั่นแบบคลาวด์เนทีฟ (Cloud-native)  เอาท์ซิสเต็มส์มีความพร้อมในการตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรธุรกิจ ด้วยการจัดหาเทคโนโลยีคลาวด์และ Low-code เพื่อเสริมศักยภาพให้แก่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกสำหรับการเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนระบบข้อมูลดิจิทัลในอนาคตอันใกล้”

ทันกระแสการใช้เทคโนโลยี

ขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพที่จะกลายเป็นศูนย์กลางข้อมูลในอนาคต แต่บางองค์กรยังคงประสบปัญหาในการปรับใช้แนวทางและกระบวนการ DevOps ที่คล่องตัวสำหรับขั้นตอนต่าง ๆ ในการพัฒนาซอฟต์แวร์  สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) ขององค์กรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้มีการพัฒนาบริการดิจิทัลอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ตลาดโมบายล์คอนเทนต์ของไทยและนักพัฒนาแอปมีบทบาทสำคัญสำหรับการพัฒนาในส่วนนี้  การเติบโตอย่างต่อเนื่องของคอนเท้นต์บนสมาร์ทโฟนในไทย ส่งผลให้มีตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นกว่า 20,000 อัตราในส่วนของนักพัฒนา และนับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับอนาคตของอุตสาหกรรมดังกล่าว  ปัจจุบันมีผู้เผยแพร่แอปของไทยกว่า 2,000 รายบน Google Play จากทั้งหมด 912,372 รายทั่วโลก  ด้วยเหตุนี้ การบูรณาการและการจัดการซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สจึงกลายเป็นภารกิจสำคัญด้านการพัฒนาสำหรับองค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้  ทั้งนี้ในตลาดโมบายล์คอนเทนต์ของไทย นักพัฒนาแอปยังคงมีบทบาท

ปัญหาท้าทายที่สำคัญ

ในปัจจุบัน 29 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแผนที่จะปรับใช้เครื่องมือพัฒนาแบบ Visual ในช่วง 18 เดือนข้างหน้า โดยประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ความท้าทายสำคัญสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แตกต่างอย่างมากจากประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย-แปซิฟิก โดยเรื่องความปลอดภัยและการบูรณาการเครื่องมือสำหรับการพัฒนาถือเป็นความท้าทายสำคัญที่สุด (58 เปอร์เซ็นต์) รองลงมาคือเรื่องการจัดตั้งทีมงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่มีหลากหลาย (48 เปอร์เซ็นต์) และการโน้มน้าวให้ผู้บริหารตระหนักถึงคุณค่าของ DevOps (47 เปอร์เซ็นต์)

มาร์ค วีเซอร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากการพูดคุยกับนักพัฒนาจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์ได้ตระหนักถึงความกังวลใจที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยที่รวมอยู่ภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันซึ่งมีกรณีการโจรกรรมข้อมูลเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางหลายต่อหลายครั้ง  ด้วยเหตุนี้ เอาท์ซิสเต็มส์จึงนำเสนอฟังก์ชั่นด้านความปลอดภัยที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งในส่วนของความปลอดภัยสำหรับแอปพลิเคชั่น, โครงสร้างพื้นฐาน Virtual Private Cloud (VPC) และทีมงานฝ่ายรับมือภัยฉุกเฉินที่พร้อมให้บริการตลอดเวลา  แม้ว่าเอาท์ซิสเต็มส์จะมุ่งเน้นเรื่องการเพิ่มความรวดเร็วในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น แต่เราเชื่อว่าการทำงานที่รวดเร็วไม่จำเป็นต้องแลกกับความปลอดภัย  ด้วยเหตุนี้เราจึงจัดสรรสภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัยให้แก่ลูกค้า รวมไปถึงเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาแอปอย่างปลอดภัย”

ความคล่องตัวหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19

ในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ไอดีซีคาดว่ากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์จะสั้นลงเรื่อย ๆ และองค์กรต่าง ๆ จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของการบูรณาการด้านความปลอดภัยเข้าไว้ในขั้นตอนการวางแผน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น  นอกจากนี้ องค์กรจำเป็นที่จะต้องนำเสนอประสบการณ์ที่แปลกใหม่เพื่อตอบสนองความคาดหวังที่สูงขึ้นของลูกค้า และรองรับการสร้างตลาดและการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ รวมไปถึงการจัดการความเสี่ยง การวิเคราะห์ข้อมูล และการรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์แนวคิดบนแพลตฟอร์มใหม่ ๆ  องค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 27 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าการสรรหาบุคลากรคือภารกิจสำคัญที่สุด โดยหลาย ๆ องค์กรประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น การเลิกจ้างบุคลากรในตำแหน่งงานที่ไม่จำเป็น การขาดแคลนบุคลากร และกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น  ด้วยเหตุนี้ บริษัทต่าง ๆ จึงควรเริ่มต้นวางแผนเรื่องการสรรหาบุคลากรแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะถึงคราวจำเป็นที่จะต้องหาคนมาทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ  ที่จริงแล้ว การสร้างแอปจะช่วยเพิ่มพูนทักษะและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการเปิดโอกาสให้บุคลากรในฝ่ายพัฒนาธุรกิจได้ทำงานร่วมกับฝ่ายไอทีจะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านการพัฒนาได้อีกทางหนึ่ง