OutSystems

CX transformation initiatives in the healthcare sector

ความคิดริเริ่มในการมอบประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า คือ หัวใจสำคัญของธุรกิจการดูแลสุขภาพยุคใหม่


Article By Mark Weaser, Vice President, Asia Pacific, OutSystems

Customer experience (CX) has quickly become a top business priority as more of us interact and transact online. However, CX transformation initiatives are rare in the healthcare sector, despite the increasing adoption and use of virtual care visits. While you might feel satisfied with your healthcare provider in person, the industry has a prominent delivery gap. Only 34% of consumers feel that they get the information they need and 56% don’t think they get the same quality of care in virtual settings as compared to an in-person visit[1].

It’s clear then that the healthcare sector could benefit from a major CX overhaul. In fact, among consumers who said they wouldn’t have another virtual care visit, 1 out of 5 did not like the way their clinician treated them. If the global pandemic was the “push factor” that accelerated businesses to go digital, then it should similarly incentivise the healthcare industry to put customers at the center of healthcare offerings and better focus on patient needs.

Consumers are becoming more discerning and informed about their health than ever before, demanding more affordable, transparent and personalised healthcare. For instance, Gen X and baby boomers are now expressing a stronger interest in telehealth apps that provide real time triage recommendations – a paradigm shift exacerbated by the pandemic. The move of these apps into mainstream consciousness has contributed to an increase in the total number of virtual visits, from 15% in 2019 to 28% in April 2020[2]. However, what hasn’t changed is the expectation of trusting and pleasant clinician-patient relationships, which remains a top priority among consumers both on and offline.

To better meet the challenge of consumers’ high expectations, healthcare providers must move towards establishing meaningful engagement with patients, clinicians, and physicians, with CX at the center of these initiatives. Transitioning towards a value-based care (VBC) model can provide better patient outcomes, drive down the overall cost of serving patients, and reduce wasteful spending[3]. Digital platforms can help achieve this integrated care approach through:

  1. Enhanced analytics that improve patient care
  2. Improved clinical productivity with data transparency
  3. Streamlined operations that provide care beyond the hospital
  4. Personalised patient experiences

Enhanced analytics that improve patient care

Patients would greatly benefit from an integrated digital system that allows information to be shared across healthcare providers. Having access to the vast amount of data spread across clinical, operational, and administrative systems and departments, including third party data, will allow Healthcare Delivery Organizations (HDOs) to get a true 360-degree view of their patients’ health history, make more informed decisions and deliver a higher standard of care. Doing so can substantially reduce instances of overdiagnosis and treatment in patients, as well as improve patient satisfaction.

Improved clinical productivity with data transparency

The ability to consolidate multiple data sources and systems into a single source of truth can significantly improve clinical productivity and reduce critical clinical errors. However, many systems currently used by HDOs still limit transparency and sharing of data across departments. A single view of the patient across departments would allow physicians to make decisions with 100% of the data in real-time.

Streamlining operations to provide care beyond the hospital

With patient-centric outcomes becoming the norm, HDOs have the opportunity to reduce their operational costs and meet the patient on their terms in their home environment. Building an omnichannel care solution for both patients and physicians (e.g., telehealth systems, in-home care management, healthcare mobile apps) would allow organizations to rapidly prototype, test with end users, and make changes within hours.

Personalising patient experiences

Applying lessons learned from customer experience initiatives in other industries will aid in the creation of new digital systems  giving healthcare providers the ability to rapidly build patient-facing apps for purposes such as researching their prescribed drugs, evaluating their treatment options, accessing, and controlling their medical information, and more.

Rapid innovation in digital medicine, digital consumer engagement, AI, and virtual care are fast disrupting traditional business and operating models of HDOs. Adapting to these trends through new integrated care delivery models is paramount for the healthcare industry to avoid isolation in an increasingly consumer-centric and digital society.

Beyond digital transformation, organisational transformation is key. A new lens is required when developing digital business strategy and enterprise IT architecture and translating it into effective execution. HDOs can no longer just adapt, they have to optimize their digital roadmaps to focus on better digital experiences for clinicians and patients. This shift towards CX is all the more important given the current situation with the pandemic. Global lockdowns and safety restrictions may see us visiting a healthcare professional online sooner than we think – and we would all be better off knowing that our health is in good hands.

[1] 2020 Health care consumer survey: consumer health trends

[2] 2020 Health care consumer survey: consumer health trends

[3] OutSystems for Healthcare – Accelerate Delivery of Value-Based Care


บทความโดย มร.มาร์ค วีเซอร์ รองประธานประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เอาท์ซิสเต็มส์
  

การมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า (Customer Experience – CX) เป็นภารกิจสำคัญสูงสุดอย่างหนึ่งของธุรกิจวันนี้จากการติดต่อสื่อสารและธุรกรรมออนไลน์ที่เพิ่มปริมาณและความถี่สูงขึ้น  อย่างไรก็ตามในส่วนของธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพ (Healthcare) ยังไม่ปรากฎว่ามีความคิดริริเริ่มในการปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า (CX) อย่างจริง ๆ จัง ๆ ทั้งที่ระบบสาธารณสุขทางไกล (Telehealth) มีการปรับใช้เพื่อรองรับการตรวจสุขภาพและการรักษาพยาบาลผ่านระบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้น  ขณะที่คุณอาจรู้สึกพอใจเมื่อเข้ารับบริการที่สถานพยาบาล แต่บริการรูปแบบนี้ยังมีช่องโหว่ที่เห็นได้ชัด กล่าวคือมีผู้บริโภคเพียง 34% เท่านั้นที่รู้สึกว่าตนเองได้รับข้อมูลที่ต้องการ และ 56% ไม่คิดว่าตนเองได้รับการดูแลรักษาที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับการไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยตรง[1]

แน่นอนว่าธุรกิจการดูแลสุขภาพจะได้รับประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจากการปฏิรูปด้านประสบการณ์ของลูกค้า (CX) ครั้งใหญ่ และที่จริงแล้ว 1 ใน 5 ของผู้บริโภคที่บอกว่าจะไม่รับบริการรักษาพยาบาลทางออนไลน์อีก ไม่ชอบวิธีที่แพทย์และพยาบาลปฏิบัติต่อเขา  หากการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลกเป็น “ปัจจัยหลัก” ผลักดันให้องค์กรธุรกิจเร่งปรับใช้ระบบดิจิทัล ปัจจัยนี้เองก็น่าจะสร้างแรงกระตุ้นให้กับธุรกิจการดูแลสุขภาพในลักษณะเดียวกัน โดยในการให้บริการด้านสุขภาพสถานพยาบาลต้องให้ความสำคัญกับผู้ป่วยหรือคนไข้เป็นหลัก และเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย

ทุกวันนี้ ผู้บริโภคมีความใส่ใจและมีความรู้ด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน พวกเขาต้องการบริการอย่างมืออาชีพและโปร่งใส ในราคาเหมาะสม และปรับให้สอดรับกับความต้องการของแต่ละบุคคลตัวอย่าง คน Gen X กับ Baby Boomers มีความสนใจเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับแอปในกลุ่ม Telehealth ที่ให้คำแนะนำแบบเรียลไทม์สำหรับการคัดกรองผู้ป่วย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก  การที่แอปดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางส่งผลให้การขอรับบริการทางการแพทย์ผ่านระบบออนไลน์เพิ่มขึ้นจาก 15% ในปี 2562 เพิ่มเป็น 28% ในเดือนเมษายน ปี 2563[2]  อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังเหมือนเดิมคือ ความคาดหวังต่อความสัมพันธ์ที่ดีและความน่าเชื่อถือระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ที่ยังเป็นเรื่องสำคัญสูงสุดสำหรับผู้บริโภคทั้งในส่วนออนไลน์และออฟไลน์

เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังสูงของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น สถานพยาบาลต้องสร้างการติดต่อสื่อสารที่เหมาะสมระหว่างผู้ป่วย แพทย์และพยาบาล โดยมุ่งเน้นประสบการณ์ของลูกค้า (CX)  เป็นหลักของ Initiative  การเปลี่ยนย้ายไปสู่รูปแบบการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า (Value-Based Care – VBC) จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการดูแลรักษา ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายโดยรวมในการให้บริการ และลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลือง[3]  แพลตฟอร์มดิจิทัลจะช่วยรองรับแนวทางการรักษาพยาบาลแบบครบวงจรนี้โดยอาศัย:

  1. ระบบวิเคราะห์ข้อมูลก้าวล้ำที่ช่วยปรับปรุงการดูแลรักษาผู้ป่วย
  2. การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการรักษาพยาบาล โดยใช้ข้อมูลที่โปร่งใส
  3. การเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน รองรับการให้บริการนอกสถานพยาบาล
  4. การปรับแต่งประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคลสำหรับผู้ป่วย

ระบบวิเคราะห์ข้อมูลก้าวล้ำที่ช่วยปรับปรุงการดูแลรักษาผู้ป่วย

ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากระบบดิจิทัลแบบครบวงจรที่รองรับการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่าง
ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ครอบคลุมทั้งในส่วนของระบบรักษาพยาบาล ระบบปฏิบัติงาน ระบบบริหารจัดการและแผนกต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลจากองค์กรอื่น จะช่วยให้องค์กรที่ให้บริการสุขภาพ (Healthcare Delivery Organization – HDO) สามารถตรวจสอบประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วยได้รอบด้าน 360 องศา ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและให้มาตราฐานการดูแลในระดับสูงโดยอ้างอิงจากข้อมูล ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อนของการตรวจวินิจฉัยและการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มากเกินความจำเป็น และสร้างความพึงพอใจในการรับบริการได้ดีขึ้น

การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการรักษาพยาบาล โดยใช้ข้อมูลที่โปร่งใส 

ความสามารถในการผสานรวมแหล่งข้อมูลและระบบต่าง ๆ เข้าไว้เป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งเดียวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดข้อผิดพลาดด้านการรักษาพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญ  อย่างไรก็ดีระบบที่สถานพยาบาลใช้งานอยู่จำนวนมากยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องความโปร่งใสและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแผนกต่าง ๆ
ถ้าหากแพทย์สามารถตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยจากแผนกต่าง ๆ ได้อย่างพร้อมสรรพและรอบด้าน ก็จะสามารถทำการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยอาศัยข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ 100%

การเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน รองรับการให้บริการนอกสถานพยาบาล 

ถ้าสถานพยาบาลมุ่งเน้นการให้บริการโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและให้บริการแก่ผู้ป่วยตามบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การสร้างโซลูชั่นการให้บริการรักษาพยาบาลแบบหลายช่องทางสำหรับผู้ป่วยและแพทย์ (เช่น ระบบ Telehealth, การจัดการการดูแลรักษาผู้ป่วยภายในบ้าน, โมบายล์แอปด้านการดูแลสุขภาพ) จะช่วยให้สถานพยาบาลสามารถสร้างระบบต้นแบบได้อย่างรวดเร็ว ทดสอบกับผู้ใช้ และปรับเปลี่ยนได้อย่างฉับไวภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

การปรับแต่งประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคลสำหรับผู้ป่วย 

การนำบทเรียนที่ได้รับจากประสบการณ์ของลูกค้าในอุตสาหกรรมอื่น ๆ มาปรับใช้จะช่วยสร้างระบบดิจิทัลใหม่ ๆ ให้กับสถานพยาบาลให้สามารถพัฒนาแอปสำหรับผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยาที่จ่ายให้ผู้ป่วย การประเมินทางเลือกในการรักษา การเข้าถึงและควบคุมข้อมูลทางการแพทย์ เป็นต้น

การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่รวดเร็วสำหรับระบบการแพทย์ดิจิทัล, การติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคผ่านช่องทางดิจิทัล, AI และบริการดูแลสุขภาพทางออนไลน์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อธุรกิจและรูปแบบ
การดำเนินงานแบบเดิม ๆ ของผู้ให้บริการสุขภาพ  การปรับตัวเพื่อรับมือกับกระแสความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ โดยนำเสนอรูปแบบการให้บริการสุขภาพแบบครบวงจร ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจการดูแลสุขภาพ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพในสังคมดิจิทัลที่ให้ความสำคัญกับผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น

นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) แล้ว การเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ดิจิทัลก็มีความสำคัญเช่นกัน โดยจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดและมุมมองในการพัฒนากลยุทธ์สำหรับธุรกิจดิจิทัล รวมถึงสถาปัตยกรรมไอทีขององค์กร พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ  นอกจากจะต้องปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์แล้ว ผู้ให้บริการสุขภาพยังต้องปรับปรุงแผนพัฒนาระบบดิจิทัล โดยจะต้องมุ่งเน้นการยกระดับประสบการณ์ดิจิทัลสำหรับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์  การพัฒนาไปสู่แนวทางที่มุ่งเน้นประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า (CX) นี้มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งมีการแพร่ระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  มาตรการล็อคดาวน์และข้อจำกัดด้านความปลอดภัยที่มีผลบังคับใช้ทั่วโลกอาจทำให้เราต้องเปลี่ยนมาใช้ช่องทางออนไลน์สำหรับการขอคำปรึกษาจากแพทย์ในอนาคตอันใกล้เร็วกว่าที่เราคิดไว้ และเราควรจะมั่นใจได้ว่าสุขภาพของเราได้รับการดูแลเป็นอย่างดีโดยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง

[1] 2020 Health care consumer survey: consumer health trends

[2] 2020 Health care consumer survey: consumer health trends

[3] OutSystems for Healthcare – Accelerate Delivery of Value-Based Care