Infor

Modern supply chains belong in the cloud

ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์


Article by Fabio Tiviti, Vice President, ASEAN, Infor

Supply chain organizations need to ensure that their processes are performing optimally and that they’re leveraging the best tools to cover every step—from demand forecasting to procurement to manufacturing to inventory handling and logistics, and everything in between. But whether pressure is coming from increasingly complex global supply chains or the need to create differentiation in a market with shrinking margins, yesterday’s supply chain management tools can no longer keep up with the objective of today’s supply chain organizations, which according to Gartner is: “Ensuring supply chain outcomes that are agile and responsive to customers’ expectations, despite the challenges from volatility, uncertainty, complexity and ambiguity.

Technology has evolved to where it can facilitate enhanced information sharing between members of the supply chain ecosystem, as well as allow organizations to effectively synthesize and interpret that information for improved decision-making. Modern platforms, such as the cloud—as well as modern tools, such as artificial intelligence (AI) and the internet of things (IoT)—empower supply chain organizations to evaluate and implement decisions that drive the best possible outcomes.

Evolve from a reactive to a proactive supply chain
Despite being comprised of a global network of suppliers, trading partners, finance providers, and customers, many supply chains still operate along a linear approach—with organizations focusing almost exclusively on their individual mandates. Yet with more than 80% of supply chain processes and data occurring outside of any single enterprise, adopting technology that allows organizations to share information and collaborate (in a nonlinear manner, beyond an organization’s own “four walls”) is necessary to help improve the performance of the entire supply chain—upstream and downstream, for partners and customers.

In addition, the sheer volume of data collection and sharing that occurs in today’s business environment is often beyond the capabilities of aging systems and software. But implementing the needed, updated functionality can require substantial and costly upgrades that are difficult to manage in-house. Cloud-based solutions help remove the operational overhead and capital expenditures with which organizations would otherwise be burdened in order to achieve the necessary level of functionality.

Aging systems and software also mean that organizations often rely on antiquated processes, such as spreadsheets and email to extract and share data. Manual processes like these can hamper productivity and hinder decision-making. Today’s supply chain management requires automation, efficiency, and speed. Cloud-based tools such as machine learning, AI, IoT, and digital twins can provide the capabilities that organizations need to effectively capture and act upon insightful analytics and information.

Taking such a holistic view of the supply chain entails transitioning from “traditional” supply chain operations to more of a “value chain orchestration” approach. Not only does this involve a shift from manual tasks to automated processes, it also means the elimination of operational silos. Modern, cloud applications can help deliver the capabilities for end-to-end supply visibility and control.

As organizations are able implement more proactive decisioning capabilities, less time is spent reacting. Cloud-based tools can help transform a rigid supply chain into one that possesses flexibility and agility to adjust as needed and stay ahead of the competition.

Find the right cloud partner
A modern, cloud-based supply chain solution deployment can often be implemented easily and quickly—with a new solution up and running in weeks, instead of the years it can take for a traditional, on-premises implementation. Cloud-based solutions typically include all the tools an organization could need to digitally manage its entire value chain. But the digital transformation of an organization’s supply chain management doesn’t need to a monumental and all-encompassing endeavor.

Digital transformations can occur through strategic, well-planned processes—in small projects tailored for an organization’s bandwidth, budget, and immediate needs. Organizations can also adopt a phased approach that breaks the larger goal down into manageable portions. The gains from each phase can even help to fund subsequent phases—early wins can build momentum and generate support during the transformation.

When selecting the right tools to modernize supply chains, organizations should partner with cloud providers that can provide quicker “go lives” in order to minimize changeover time and business disruption. And even once a new solution is operational, the cloud provider should be able to seamlessly deliver functionality and feature updates with little to no downtime—allowing the organization to utilize constant innovation and best-in-class business process improvements.

Transform the supply chain
Sticking with time-proven technologies and manual systems can make it challenging for customers to engage with organizations. Ignoring digital technologies because an organization regards them as unproven or high-risk, will keep the organization from achieving its full potential. Cloud-based solutions offer the means for organizations to transform their supply chains to meet the modern demands of today’s and tomorrow’s evolving supply chains.


บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน

องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง และโลจิสติกส์ รวมถึงงานทุกอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเหล่านี้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าความกดดันจะเกิดจากระบบซัพพลายเชนของโลกมีความซับซ้อนมากขึ้น หรือต้องการสร้างความแตกต่างในตลาดด้วยอัตรากำไรที่ลดลงก็ตาม เครื่องมือในการบริหารจัดการซัพพลายเชนรุ่นเก่าก็ไม่สามารถสนองตอบต่อเป้าหมายขององค์กรด้านซัพพลายเชนในปัจจุบันได้ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนี้การ์ทเนอร์ได้ระบุไว้ว่าคือ “ต้องมั่นใจได้ว่าซัพพลายเชนจะมีประสิทธิผลที่ดี คล่องตัว และตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ถึงแม้จะมีความท้าทายจากความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือก็ตาม

เทคโนโลยีได้พัฒนาไปถึงจุดที่สามารถสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลอย่างกว้างขวางระหว่างสมาชิกที่อยู่ในระบบนิเวศซัพพลายเชนด้วยกัน รวมถึงช่วยให้องค์กรสามารถรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน และตีความข้อมูลนั้นเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ดีขึ้น แพลตฟอร์มที่ทันสมัยต่าง ๆ เช่น คลาวด์ และเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) ช่วยเสริมศักยภาพให้องค์กรด้านซัพพลายเชนสามารถประเมินและตัดสินใจดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่จะขับเคลื่อนให้เกิด ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้

พัฒนาจากการตั้งรับเป็นซัพพลายเชนเชิงรุก
ถึงแม้ว่าระบบนิเวศซัพพลายเชนจะประกอบไปด้วยเครือข่ายของซัพพลายเออร์, พันธมิตรทางการค้า, ผู้ให้บริการด้านการเงิน และลูกค้าทั่วโลก แต่ซัพพลายเชนจำนวนมากก็ยังคงดำเนินงานไปทีละขั้นตอนงานใครงานมันตามแนวทางที่เคยทำกันมา โดยต่างก็ให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อกฎข้อบังคับขององค์กรตน แต่เนื่องด้วยกระบวนการและข้อมูลต่าง ๆ ของซัพพลายเชนมากกว่า 80% เกิดขึ้นภายนอกองค์กรแต่ละแห่ง การใช้เทคโนโลยีที่จะช่วยให้องค์กรสามารถแบ่งปันข้อมูลและทำงานร่วมกันได้ (ที่ไม่ได้ร่วมงานกันโดยตรง และเป็นการทำงานนอกองค์กร) จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของซัพพลายเชนทั้งระบบตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางให้กับพันธมิตรและลูกค้า

นอกจากนี้ ปริมาณการรวบรวมและแบ่งปันข้อมูลจำนวนมากที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมธุรกิจปัจจุบัน มักจะเกินขีดความสามารถของระบบและซอฟต์แวร์รุ่นเก่าที่จะรองรับได้ แต่การใช้ฟังก์ชั่นที่จำเป็นและที่ได้รับการอัปเดตแล้วนั้นจะต้องมีการอัปเกรดที่ดีและมีค่าใช้จ่ายสูงซึ่งยากที่จะจัดการเองภายในองค์กรโซลูชั่นที่ทำงานบนคลาวด์จะช่วยขจัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและการลงทุน ที่องค์กรอาจต้องรับภาระเพื่อให้ได้ฟังก์ชั่นที่จำเป็นต้องใช้งาน

ระบบและซอฟต์แวร์รุ่นเก่ายังหมายถึงการที่องค์กรต่าง ๆ มักต้องพึ่งพากระบวนการที่ล้าสมัย เช่น การใช้สเปรดชีทและอีเมลเพื่อคัดเลือกและแบ่งปันข้อมูล กระบวนการแบบแมนนวลเช่นนี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการผลิตและการตัดสินใจได้ การบริหารจัดการซัพพลายเชนในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้ระบบอัตโนมัติ ต้องมีประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการทำงาน เครื่องมือที่ทำงานบนคลาวด์ เช่น แมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML), AI, IoT และดิจิทัลทวินส์ (Digital Twins) มีสมรรถนะต่าง ๆ ที่องค์กรต้องการใช้เพื่อเก็บรวบรวมและดำเนินการตามการวิเคราะห์และข้อมูลเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้มุมมองแบบองค์รวมของซัพพลายเชนเช่นนี้ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานซัพพลายเชนจากแบบ “ดั้งเดิม” ไปเป็นแนวทางที่ “ทำงานเชื่อมโยงกันทั้งระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล (value chain orchestration)”  ซึ่งสิ่งนี้ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนจากงานแบบแมนนวลไปเป็นกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการกำจัดการทำงานแบบไซโลออกไปด้วยแอปพลิเคชั่นคลาวด์ที่ทันสมัยสามารถมอบสมรรถนะในการมองเห็น และควบคุมซัพพลายเชนได้ทั้งระบบตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง

เมื่อองค์กรสามารถตัดสินใจเชิงรุกได้มากขึ้นก็จะตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น เครื่องมือต่าง ๆ บนระบบคลาวด์สามารถเปลี่ยนซัพพลายเชนรุ่นเก่า ให้กลายเป็นซัพพลายเชนที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเมื่อต้องการและก้าวล้ำนำหน้าคู่แข่งได้

ค้นหาพันธมิตรด้านคลาวด์ที่เหมาะสม
การปรับใช้โซลูชั่นซัพพลายเชนบนระบบคลาวด์ที่ทันสมัยมักจะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ด้วยโซลูชั่นใหม่ที่พร้อมใช้งานภายในไม่กี่สัปดาห์ แทนที่จะต้องใช้เวลานานหลายปีเหมือนกับการใช้งานแบบ on-premises โดยปกติโซลูชั่นบนคลาวด์จะรวมเครื่องมือทั้งหมดที่องค์กรจำเป็นต้องใช้ในการจัดการ value chain ดิจิทัลไว้ทั้งหมด แต่การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลของการจัดการซัพพลายเชนองค์กรไม่จำเป็นต้องใช้ความพยายามมากมายรอบด้านขนาดนั้น

ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นอาจบรรจุอยู่ในกระบวนการด้านกลยุทธ์ และแผนงานที่ได้วางไว้อย่างดี เช่น โครงการเล็ก ๆ ที่ปรับให้เหมาะกับแบนด์วิดท์ งบประมาณ และความต้องการที่เกิดขึ้นทันทีทันใดขององค์กร องค์กรต่าง ๆ ยังสามารถใช้วิธีการแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยแบ่งเป้าหมายที่ใหญ่กว่าออกเป็นส่วนเป็นช่วง ๆ ที่สามารถจัดการได้สะดวก ผลกำไรที่ได้จากแต่ละช่วงยังอาจนำไปเป็นทุนให้กับการทำงานช่วงต่อไป นอกจากนี้ความสำเร็จในช่วงแรก ๆ จะสร้างแรงกระเพื่อมและช่วยให้ได้รับการสนับสนุนระหว่างการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลได้

เมื่อเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อปรับปรุงซัพพลายเชนให้ทันสมัยได้แล้ว องค์กรต่าง ๆ ควรร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ที่สามารถช่วยให้องค์กร “go lives” ระบบได้เร็วขึ้น เพื่อลดเวลาในการเปลี่ยนแปลงระบบและการหยุดชะงักของธุรกิจให้เหลือน้อยที่สุด และถึงแม้จะมีการใช้งานโซลูชั่นใหม่แล้วก็ตาม แต่ผู้ให้บริการคลาวด์ควรให้บริการการอัปเดทฟังก์ชั่นและฟีเจอร์ที่ราบรื่น โดยมีดาวน์ไทม์เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งจะช่วยให้องค์กรได้ใช้นวัตกรรมที่เสถียร และมีการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทางธุรกิจที่ดีที่สุด

ทรานส์ฟอร์มซัพพลายเชน
การยึดติดอยู่กับเทคโนโลยีและระบบแมนนวลที่ผ่านการพิสูจน์และใช้งานมานานแล้ว เป็นเรื่องท้าทายที่อาจทำให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์กรได้ยาก การเพิกเฉยไม่ใส่ใจต่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพียงเพราะองค์กรเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้รับการรับรองหรือยังมีความเสี่ยงสูง จะทำให้องค์กรไม่สามารถบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนเองได้ โซลูชั่นที่ใช้ระบบคลาวด์นำเสนอวิธีการต่าง ๆ สำหรับองค์กรที่จะ ทรานส์ฟอร์มซัพพลายเชนของตน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใหม่ ๆ ของระบบซัพพลายเชนที่กำลังพัฒนาทั้งในปัจจุบันและในอนาคต