Infor

How resiliency forms the strongest link in the digital supply chain

ระบบดิจิทัลซัพพลายเชน จะแข็งแกร่งที่สุดได้ ต้องมีความยืดหยุ่น

Articly by Fabio Tiviti, Vice President, ASEAN, Infor

Recent times have brought the importance of supply chain resiliency into even sharper focus. Organisations that had already built resilience into both their technology networks and operational networks have weathered the turbulent times throughout the Covid-19 (Coronavirus) pandemic better. For others, it has been a huge wakeup call.

As we now stand back and attempt to regroup, rebuild and regenerate, every business has a chance to reflect and decide how to become better prepared.

This is the point at which organisations in every vertical market should realise that resiliency needs to be built-in at a granular executional level; it is a function that should apply to and connect with the architectural foundations of every process in the company. It is not some sort of dial or switch that you simply turn on or up at the start of a crisis, whether it be a global contagion or some other form of economic upheaval.

The shape of change

But before we consider the nature of resiliency, we need to decide what we really mean by ‘change’ itself in order to understand the various forms that it manifests itself in.

At the force majeure level, there is sudden catastrophic change, the likes of which we have of course witnessed in 2020. Outside of pandemics, we should also include other ‘black swan’ events that disrupt supply chains, such as a sunken container ship, a hurricane, or perhaps a widespread contamination incident.

While these massively disruptive and dreadful events typically cause chaos and the loss of life, they are comparatively infrequent and so (in any normal world) they don’t threaten the long term viability of a business with the same types of market forces and fluctuations that emanate from deeper-set market trends. There are more ground level changes in demand patterns that nibble away at margins and service capabilities slowly. Less cataclysmic, these changes can ultimately have even more impact than a hurricane.

Even longer term, when securing essential strategic resources for the business itself is threatened, change happens in a form that can lead to business closure. Knowing how and why change itself occurs (and what shape it comes in) can help us to build a resilient supply chain capable of driving business operations today, with a constant eye on every variable factor that could impact business tomorrow.

Visibility, intelligence, digital connection

A resilient supply chain is based on three core capabilities: visibility, intelligence and a digitally connected ecosystem. To restate these cornerstones in more depth, we are talking about end-to-end real-time visibility; intelligence across root cause identification, exception detection and resolution management; and an exceptional ability to execute through a digitised ecosystem that provides a path to autonomous ‘sense and respond’ activities.

Taking each of these elements in turn, let’s look at visibility. In a traditional business model, an enterprise bases its visibility only on what its suppliers are telling it.  You don’t really know where your order is, or when it’s going to arrive. However, cloud-based supply chain networks offer the opportunity for all parties to view and interact with one single view of an order in real-time. The net result is that the business, its suppliers, and its carriers operate using a single instance and version of data – a single source of truth.

This singularity is important. It cuts out uncertainty, delays and eradicates separation so that there is little or no contingency factor in daily operations. But visibility needs to run end-to-end for true clarity. The business needs to know the impact of its actions upstream (on its suppliers) and as far as possible downstream (into its sales channel and customer base).

Additionally, end-to-end visibility needs to happen in real-time i.e. all the information relating to all supply chain transactions, movements, price fluctuations and so on needs to be available all of the time, in real-time. Without real-time super high data quality, it is not possible to drive the supply chain by exception and take advantage of Machine Learning (ML) technologies.

Intelligence, to separate the noise

As the resilient supply chain company moves forward, it has the advantage of software algorithms that are able to detect events that can cause disruptive issues. It’s important to remember that there will always be an element of ‘operational noise’ throughout both the physical and financial supply chain, so the organisation will need to qualify just how much noise it can live with in the normal course of business.

At this point we can then drill down into the root causes behind any single event. When there is a shortage of materials for a production plant, or perhaps a shortfall in the supply of finished materials for a retail store, we need to understand the why-factor behind these events. Knowing the difference between a shortage caused by a shift in market demands and scarcity resulting from a container ship being stuck in a port is fundamentally important.

The real intelligence here comes from being able to group together different events happening in various locations around an organisation’s total global supply chain. If the business can pinpoint the same root cause across multiple operational issues, then it can deliver resolution management more quickly.

The digital ecosystem

An intelligent resilient supply chain can process thousands of variables and data sources across a single cloud-based platform in order to help the business navigate forwards. Working at speeds far in advance of any human capabilities, a digital supply chain ecosystem helps all parties connect and collaborate over dates, times, shipping orders, financing and so on. When all partners open up the external-facing portions of their own systems accordingly, business decisions happen faster, with improved accuracy and less uncertainty. More problematic is the fact that it is an uncertainty that breeds contingency and cost.

Onward from automation 1.0

In the immediate future, more and more of the actions we take inside our most resilient digital supply chains will be carried out autonomously by intelligent agents and smart algorithms. Our physical and our accompanying financial supply chain networks will reflect the automation intelligence already being applied to manufacturing via Industry 4.0 practices.

If today we stand at automation stage 1.0, then business is set to apply more algorithmic intelligence in the future. When and where this intelligence is not just smart, but also resilient, is when it starts to make decisions not just based on short term prices, supply availability and market demand… but also on perceived business longevity. The core truth is, building a supply chain capable of resiliency to ‘normal’ change will allow a business to adapt to massive upheavals if and when we have to adjust to some wildly different ‘new normal’.

As for Thailand, according to kidkah.com, a website under the Ministry of Commerce, reports the logistics services sector’s GDP (transportation and warehouse) in the first half of 2020 accounts for 3.91 hundred billion Baht, ranking as the fourth of the highest valued-services industries. The Department of Business Development indicates, as of August 2020, Thailand has registered 20,077 of supply chains and logistics providers, but since the country’s logistics services’ GDP has been wrecked by the COVID-19 pandemic, the real GDP shrinking to a negative growth of -21.7% when compared to the first half of the previous year. However, postal / documents / goods delivery are continuously achieving a leap growth in accordance with e-commerce and online shopping expansion, especially express delivery service and food delivery.

One of the challenges, Thai logistics providers have faced is how to leverage the use of expensive logistics technology and elevate their businesses to the next step.  And of course, like the other countries, innovations and technologies will be deployed for logistics services, in both IT and communications improvement, to support working networks, real-time display, monitoring and tracking, punctuality, including data analysis to meet customers’ needs, for performance increasing and continuous changes.

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน

เราต่างตระหนักถึงความสำคัญของความยืดหยุ่นของระบบซัพพลายเชนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเรา เผชิญกับสถานการณ์ไม่คาดคิดเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้องค์กรที่มีเครือข่ายทางเทคโนโลยีและเครือข่ายการดำเนินงานที่มีความยืดหยุ่นอยู่แล้วสามารถรับมือ และเผชิญกับช่วงเวลาที่สับสนอลหม่านตลอดระยะเวลาการระบาดของโควิด-19 ได้ดี  ในทางกลับกันวิกฤตนี้เป็นสัญญาณเตือนที่หนักหนาสาหัส สำหรับองค์กรที่ไม่ได้เตรียมพร้อมด้านความยืดหยุ่นของระบบมาก่อน

ท่ามกลางวิกฤตที่ทุกคนถอยเพื่อตั้งหลักและขวนขวายหาทางจัดกระบวนทัพใหม่เพื่อปรับปรุงและสร้างรูปแบบทางธุรกิจใหม่ ทำให้ธุรกิจทุกแห่งมีโอกาสตรึกตรองและตัดสินใจว่าจะเตรียมตัวให้ดีขึ้นได้อย่างไร

ขณะนี้มาถึงจุดที่ว่า องค์กรทุกแห่งควรตระหนักว่าความยืดหยุ่นเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน แม้กระทั่งในส่วนที่เล็กที่สุด ซึ่งความยืดหยุ่นนั้นคือฟังก์ชั่นที่ควรนำไปใช้เพื่อเชื่อมต่อกับโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของกระบวนการทุกระบวนการในบริษัท ฟังก์ชั่นเหล่านั้นไม่ใช่ปุ่มหรือสวิตช์ที่จะสามารถหมุนเปิดใช้งานได้ทันทีที่เกิดวิกฤตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไวรัสที่แพร่กระจายไปทั่วโลก หรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจากสาเหตุต่าง ๆ ที่มีความรุนแรง

รูปแบบของการเปลี่ยนแปลง

ก่อนที่จะพิจารณาถึงลักษณะตามธรรมชาติของความยืดหยุ่น องค์กรจำเป็นต้องตัดสินใจให้แน่นอนก่อนว่าความหมายของคำว่า ‘การเปลี่ยนแปลง’ ขององค์กรคืออะไร เพื่อจะได้เข้าใจรูปแบบต่าง ๆ ที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ อย่างแจ่มแจ้ง

เหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้เหมือนที่เกิดขึ้นในปี 2563 นี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางเลวร้าย อย่างกระทันหัน นอกจากการแพร่ระบาดของโรคแล้ว ควรนับรวมเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อนที่เข้ามาดิสรัประบบซัพพลายเชนด้วย เช่น เรือคอนเทนเนอร์ที่จมอยู่ใต้น้ำ การเกิดพายุเฮอริเคน หรือวิกฤตการปนเปื้อนในอุตสาหกรรมอาหารที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง

แม้ว่าเหตุการณ์ที่ยุ่งเหยิงและน่าสะพรึงกลัวมากมายเหล่านี้จะทำให้เกิดความสับสนและการสูญเสียชีวิต แต่เหตุการณ์เหล่านี้ก็เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ดังนั้นจึงไม่เป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดในระยะยาวของธุรกิจที่ยังต้องเผชิญกับกลไกตลาดและความผันผวนที่เกิดจากแนวโน้มตลาดที่มีปัจจัยขับเคลื่อนที่ลึกไปกว่าเหตุวิกฤตนั้น ๆ เหมือน ๆ กัน  นอกจากนี้รูปแบบความต้องการที่มีระดับการเปลี่ยนแปลงมากกว่า จะส่งผลให้อัตรากำไรและความสามารถในการให้บริการต่ำลง  และเมื่อวิกฤตเริ่มลดความรุนแรงลง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบได้มากกว่าพายุเฮอริเคนเสียอีก

แม้ในระยะยาว หากการรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินเชิงกลยุทธ์ที่จำเป็นของธุรกิจถูกคุกคาม  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจนำไปสู่การปิดกิจการได้  การที่มีความรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างไร จากเหตุผลใด และจะมาในรูปแบบใด สามารถช่วยธุรกิจสร้างระบบซัพพลายเชนที่ยืดหยุ่น สามารถขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน และจับตาความเคลื่อนไหวของปัจจัยที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต

ความสามารถในการเห็นภาพรวมของระบบ ความชาญฉลาด และการเชื่อมต่อผ่านระบบดิจิทัล

ระบบซัพพลายเชนที่ยืดหยุ่นขึ้นอยู่กับความสามารถสำคัญสามประการคือ ความสามารถในการรับรู้และมองเห็นความเป็นไปในระบบ ความสามารถในการคิดและเรียนรู้ และการเชื่อมต่อผ่านระบบดิจิทัล นั่นหมายความว่าเรากำลังพูดถึงความสามารถในการมองเห็นการทำงานของระบบทั้งหมดได้แบบเรียลไทม์  ความอัจฉริยะในการระบุสาเหตุที่แท้จริงที่เกิดขึ้น ตรวจหาความผิดปกติและบริหารจัดการปัญหา รวมถึงความสามารถพิเศษในการปฏิบัติงานผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งเป็นการปูทางสู่การดำเนินการที่ ‘รับรู้และตอบสนอง’ ได้แบบอัตโนมัติ

เรามาพิจารณาความสามารถทั้งสามประการดังกล่าวตามลำดับ โดยเริ่มที่ความสามารถในการมองเห็นภาพรวมของระบบ  รูปแบบการทำธุรกิจแบบดั้งเดิมนั้น องค์กรจะมองเห็นหรือรับรู้เฉพาะสิ่งที่ซัพพลายเออร์บอกมาเท่านั้น องค์กรไม่สามารถรู้ได้อย่างชัดเจนว่าการสั่งซื้ออยู่ในสถานะใดแล้ว หรือจะได้รับของเมื่อใด  อย่างไรก็ตาม เครือข่ายซัพพลายเชนที่ทำงานบนคลาวด์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถมองเห็น และโต้ตอบเกี่ยวกับการสั่งซื้อในช่องทางเดียวกันได้แบบเรียลไทม์  ผลลัพธ์ในท้ายที่สุดคือองค์กรที่สั่งซื้อ ซัพพลายเออร์ และผู้ขนส่ง ได้ใช้ข้อมูลเรื่องเดียวกัน เนื้อหาเหมือนกัน ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง

การรับรู้ที่เป็นหนึ่งเดียวรวมศูนย์กันเช่นนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยตัดปัญหาเรื่องความไม่แน่นอน ความล่าช้า และขจัดการทำงานแบบต่างคนต่างทำ  ดังนั้นเรื่องฉุกเฉินที่ไม่คาดคิดจากการทำงานในแต่ละวันจะเกิดขึ้นน้อยมากหรือไม่มีเลย แต่ความสามารถในการมองเห็นและรับรู้ความเป็นไปนี้ จำเป็นต้องดำเนินการตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการเพื่อความถูกต้องชัดเจน  ธุรกิจจำเป็นต้องทราบผลกระทบของกระบวนการตั้งแต่ต้นทาง (ซัพพลายเออร์) ไปจนถึงปลายทาง (ช่องทางการขายและฐานลูกค้า)

นอกจากนี้ความสามารถในการมองเห็นระบบได้ตั้งแต่ต้นจนจบต้องทำได้แบบเรียลไทม์ เช่น ธุรกิจจำเป็นต้อง เห็นภาพและรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรม ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ความผันผวนของราคา และอื่น ๆ ได้ตลอดเวลา ณ เวลาที่เกิดขึ้นจริง  การขับเคลื่อนระบบซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิ่งต่าง ๆ จะทำไม่ได้เลยหากปราศจาก ข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและการรับรู้ได้แบบเรียลไทม์

ความอัจฉริยะในการแยกแยะสิ่งที่เข้ามารบกวนการทำงาน

บริษัทด้านซัพพลายเชนที่มีความยืดหยุ่นก้าวรุดหน้า มีข้อได้เปรียบในการใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ อัลกอริทึมที่สามารถตรวจจับเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากได้  เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่องค์กรต้องตระหนักไว้คือจะมี ‘สิ่งรบกวนที่ทำให้การทำงานสะดุด’ เกิดขึ้นอยู่เสมอ ทั้งกับระบบที่ติดตั้งในองค์กร (physical) และซัพพลายเชนด้านการเงิน  ดังนั้นองค์กรจำเป็นต้องระบุให้ได้ว่าสิ่งรบกวนการทำงานมากแค่ไหนที่ยอมรับได้และไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจตามปกติ

ณ จุดนี้เราสามารถเจาะถึงสาเหตุที่แท้จริงที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ได้ ธุรกิจจำเป็นต้องรู้ถึงปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อเกิดการขาดแคลนวัสดุที่ใช้ในการผลิต หรือวัสดุสำเร็จรูปไม่เพียงพอที่จะส่งให้ร้านค้าปลีก ธุรกิจจำเป็นต้องรู้ว่าความขาดแคลนนั้น ๆ เกิดจากอะไร สิ่งสำคัญพื้นฐานที่ธุรกิจต้องมีคือ ความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างการขาดแคลนที่เกิดจากความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป กับ การขาดแคลนที่เกิดจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น เรือบรรทุกคอนเทนเนอร์ติดค้างอยู่ที่ท่าเรือ ว่าแตกต่างกันอย่างไร

ความชาญฉลาดที่แท้จริง ณ จุดนี้มาจากความสามารถที่จะรวมกลุ่มเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบ
ซัพพลายเชนขององค์กรที่ทำงานอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลกทั้งหมดไว้ด้วยกัน  หากองค์กรสามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงที่เหมือนกันของปัญหาการทำงานที่เกิดขึ้นจากหลาย ๆ แห่งได้ ก็จะสามารถบริหารจัดการและแก้ปัญหานั้นได้เร็วขึ้น

การทำงานบนระบบดิจิทัล

ระบบซัพพลายเชนที่ยืดหยุ่นและชาญฉลาดสามารถจัดการกับตัวแปรและข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ หลายพันรายการได้บนแพลตฟอร์มคลาวด์แพลตฟอร์มเดียว เพื่อช่วยทำให้ธุรกิจเดินไปข้างหน้า  ระบบดิจิทัล
ซัพพลายเชนซึ่งทำงานด้วยความรวดเร็วเกินกว่าที่มนุษย์จะทำได้ จะช่วยให้ทุกฝ่ายเชื่อมต่อและทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดวันเวลาต่าง ๆ ใบจองเรือ การเงิน และอื่น ๆ  การที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถเปิดใช้ส่วนที่ต้องติดต่อกับบุคคลภายนอกในระบบของตนเองได้ จะช่วยให้ทำการตัดสินใจทางธุรกิจต่างๆ ได้เร็วขึ้น ด้วยความแม่นยำที่มากขึ้นและความไม่แน่นอนที่น้อยลง  อย่างไรก็ตามปัญหาที่แก้ไขยากกว่าคือปัจจัยด้านความไม่แน่นอนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์และความเสียหายที่ไม่คาดคิดมาก่อน

มุ่งไปให้ไกลกว่าระบบอัตโนมัติ 1.0

ในอนาคตอันใกล้ การดำเนินงานต่าง ๆ ภายในระบบดิจิทัลซัพพลายเชนที่ยืดหยุ่นมากที่สุดขององค์กรจะทำงานอย่างอัตโนมัติ ด้วยระบบที่ทำหน้าที่แทนคนตามข้อมูลที่ได้ป้อนไว้ (intelligent agent) และอัลกอริทึมอัจฉริยะมากขึ้นเรื่อย ๆ  เครือข่ายซัพพลายเชนทางการเงินและที่อยู่บนระบบภายใน (physical) ขององค์กรจะสะท้อนให้เห็นความชาญฉลาดของระบบอัตโนมัติที่ได้นำไปใช้ในภาคการผลิตผ่านแนวทางของอุตสาหกรรม 4.0

หากปัจจุบันเราอยู่ในช่วงการใช้ระบบอัตโนมัติระยะที่ 1.0  ธุรกิจก็พร้อมที่จะใช้อัลกอริทึมอัจฉริยะมากขึ้นในอนาคต  และเมื่อถึงวันและเวลาที่ความอัจฉริยะนี้ไม่เพียงแต่มีความชาญฉลาดแต่ยังยืดหยุ่นด้วย จะเป็นเวลาที่ระบบอัตโนมัติเริ่มทำการตัดสินใจโดยไม่เพียงพิจารณาจากข้อมูลราคาขายในระยะสั้น  ความพร้อมในการผลิตและความต้องการตลาดเท่านั้น แต่ยังตัดสินใจโดยพิจารณาจากความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาวด้วย  ข้อเท็จจริงที่สำคัญคือการสร้างระบบซัพพลายเชนที่ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงตาม ‘ปกติ’ จะช่วยให้ธุรกิจปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงจำนวนมากได้ และเมื่อธุรกิจต้องปรับตัวให้รองรับ ‘ความปกติใหม่’ ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็สามารถทำได้

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากเว็บไซต์คิดค้า.com ของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 GDP ภาคบริการโลจิสติกส์ (การขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า) มีมูลค่า 3.91 แสนล้านบาท คิดเป็นอันดับ 4 ของภาคธุรกิจบริการที่สร้างมูลค่าสูงสุด และข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ เดือนสิงหาคม 2563 ระบุว่ามีผู้ให้บริการด้านซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ทั้งสิ้น 20,077 ราย  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ภาคบริการโลจิสติกส์ครึ่งปีแรกของปี 2563 ลดลงร้อยละ -21.7 (real GDP) จากปีก่อน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจไปรษณีย์และการรับส่งเอกสาร / สิ่งของ ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มการขนส่งสินค้าเร่งด่วน รวมถึงธุรกิจขนส่งอาหารที่มีการเติบโตสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดตามการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซและการสั่งซื้อทางออนไลน์

ความท้าทายอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยเผชิญคือการปรับตัวเพื่อยกระดับการใช้เทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์มีราคาค่อนข้างสูง  และแน่นอนเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะถูกนำมาใช้พัฒนาการให้บริการด้านโลจิสติกส์ ทั้งในส่วนของการพัฒนาระบบไอทีและการสื่อสาร เพื่อรองรับการทำงานเป็นเครือข่าย การแสดงผลแบบเรียลไทม์ การติดตามตรวจสอบ ความรวดเร็วแม่นยำตรงต่อเวลา รวมถึงการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าจากบิ๊กดาต้า เพื่อเพิ่มศักยภาพและรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง