Infor

7 Supply Chain Predictions: Looking Ahead with 2020 Vision

คาดการณ์ 7 แนวโน้มด้านซัพพลายเชน: มองไปข้างหน้ากับวิสัยทัศน์ของปี 2563

Articly by Fabio Tiviti
Vice President, ASEAN, Infor

The year 2020 approaches with promise amidst a backdrop of innovation and transformation occurring at a speed never witnessed before. We’re experiencing a digital revolution that is changing the way we live, work and interact with one another. The power of information is just beginning to blossom as more of our decisions are based on data and use cases for artificial intelligence are delivering significant value. Meanwhile, global movements to protect the planet and operate responsibly continue to grow in importance. And an undercurrent of de-globalization continues to change the way countries and companies interact with each other.

Here’s a look at some of the emerging trends and themes you can expect take shape in 2020.

1) Sustainability Required

Sustainability is becoming a requirement in many industries. For not only retailers and consumer goods companies, but businesses of all stripes, sustainability is increasingly expected by customers, shareholders and the masses. It is even becoming increasingly important in talent recruitment. Environmental responsibility will be a core issue in the 2020 U.S. presidential race and elections around the globe.

One major initiative, the IMO 2020 low-sulfur mandate, kicks in on January 1st. IMO has the potential to hit the shipping industry with eye-opening impact. Demand for costly scrubbers and low-sulfur fuel will eat into margins and catch many carriers and shippers off-guard. Slow steaming will add days to already lengthy trips, forcing entire ecosystems to re-structure how they plan and execute on the production and delivery of goods while meeting requirements.

2) Eliminating Empty Miles

With a growing focus on sustainability and efficiency, empty containers will be an increasingly hot button across the shipping industry. In freight, waste means that more fuel is consumed, more carbon is emitted, and drivers spend more hours sitting idle. Empty miles, non-revenue miles or deadhead miles are a drag on the industry and economy, as businesses pay more to move goods. Carriers account for their own expectations for empty miles when deciding how much they charge for any particular load, so everyone from shippers down to end consumers – and, of course, the environment – ultimately pay the cost of empty miles.

3) Politics and Commerce Become Increasingly Intertwined

In 2019 shifting trade policies were perceived as a distraction. In 2020, they’ll be addressed as simply part of the new reality we live in. Expect geopolitical volatility and relations between countries to become increasingly abrasive. Tariffs and trade regulations will become mainstays in business strategy discussions and everyone from chief supply chain officer to logistics manager will be keeping tabs on trade developments as a matter of doing business. Uncertainty will remain the norm for the foreseeable future with nationalism and trade conflict acting as the source of much of the friction. Whereas news coverage of politics and business were once separate areas, in 2020 the two will be inseparable in many ways.

4) Human Intelligence Molds Artificial Intelligence

Greater linking between the human mind and artificial intelligence is emerging. Researchers have advanced studies of the human mind, including infants, to better understand how learning develops at an early age. The goal is to enhance artificial intelligence and machine learning models to be less linear and ridged, and more curious and perceptive. Current machine learning engines require feeding thousands of labeled images to teach machines to recognize what simple objects or animals such as a cat looks like. Yet errors are still prone when images of blurred shapes resembling that object are presented. An infant, on the other hand, learns through a handful of experiences what a cat looks like, and these might be actual photos or drawings in books. Infants also learn through experimentation and curiosity. In order to imitate this experience, some ML programs are being developed to be rewarded for curiosity versus accuracy. This research, linking human brains to AI, will increase and begin to show specific results in further enhancing human attributes in machines.

As supply chains progress towards autonomous processes, machine learning and AI platforms will continue to learn by observing humans and data signals that span across parties, regions and supply chains, to understand the complexities and nuances of global trade. Some workflows will move to lights-out status, while many other complex scenarios involving multi-party collaboration and network-wide orchestration will require greater learning from their human counter-parts.

5) Supply Chains Retreat Inward

In 2019, we saw supply chains shift out of regions such as China due to tariffs and trade conflict. In 2020 an emphasis will shift towards self-sustaining economies with supply chains relying on domestic resources and trading partners where possible. This will occur primarily in the US, China and other developed economies. Production will increasingly lean towards “produce locally, deliver locally.” On the consumer side, there’s a growing trend towards domestic brands. In China, consumers are increasingly turning to Chinese brands for clothing, high-tech gadgets and phones, and cars – and increasingly shunning Western names. In the US, companies are preparing for long term tensions with China by diversifying their supply networks beyond China and building up new networks elsewhere, in many cases closer to home.

6) The Digital Berlin Wall

Kristalina Georgieva, new director of the IMF, called out in her inaugural speech that, “Even if growth picks up in 2020, the current rifts could lead to changes that last a generation – broken supply chains, siloed trade sectors, a ‘digital Berlin wall’ that forces countries to choose between technology systems.” The Digital Berlin Wall metaphor emphasizes emerging barriers and the impact technology is having on trade. As supply chains retreat inward and technology enhancements are further ingrained in trade, some of the moves being made today could have long term ramifications on supply chains, with parties or regions becoming walled off. Global agility and flexibility, points of focus for years as globalization expanded, takes a turn here. Resilience and flexibility remain important, but suddenly the ability to rapidly on-board and support suppliers outside of traditional sourcing hubs becomes essential as new digital barriers arise. Raw materials and essential input may suddenly become unavailable or costly. The need to act swiftly in the face of such risks will be essential to competing.

7) Upheaval of Industry Norms

In October, luxury brand Louis Vuitton announced plans to open a 100,000 square foot factory in Texas, the latest example of a shift away from industry best practices of consolidated production of high-end goods. Production of its high-end handbags are increasingly spread out, with 8 of its 24 manufacturing sites now residing outside of France.

In November, Maersk announced a pullback on ocean vessel investments, stating an intention to focus on land services as part of a broader initiative to drive growth. “We need to grow in acquisitions on land warehouses and customs house clearing services,” Chief Executive Søren Skou said. “We have invested around $1 billion already on the land side supply chain and we are looking to put in hundreds of millions more over the next year.”

In 2020, expect more upheaval of standard practices as businesses seek new ways to innovate and serve customers within the confines of a tense trade environment.

Next Steps

Moving into 2020, it’s more important than ever for businesses to be thoroughly connected to their overseas partners. Collaboration, visibility and free-flowing data between parties are essential ingredients for thriving in a future that is increasingly uncertain and pressure-packed. Those companies that orchestrate their supply chain as a single cohesive network will have the agility and executional speed to proactively sense and respond to meet their customers’ needs. This will be a significant competitive advantage in 2020 and beyond, separating industry leaders from the laggards.

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ
รองประธานบริษัท อินฟอร์ อาเชียน

ปี 2563 จะมาถึงพร้อมความมุ่งมั่นขององค์กรต่าง ๆ ท่ามกลางนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นด้วยความรวดเร็วอย่างที่ไม่มีใครเคยสัมผัสมาก่อน เรากำลังประสบกับการปฏิวัติสู่ระบบดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การทำงาน และการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้คน พลังของข้อมูลเหมือนดอกไม้ที่เพิ่งจะเริ่มบานจากการที่เราใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ  และเรากำลังได้เห็นผลลัพธ์ที่มีคุณค่าโดดเด่นจากการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในขณะเดียวกัน การเคลื่อนไหวในการปกป้องโลกและการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ กระบวนการลดการพึ่งพาซึ่งกันและกัน และการรวมตัวกันของกลุ่มต่าง ๆ ทั่วโลกยังเป็นเหมือนคลื่นใต้น้ำที่ทำให้แนวทางและวิธีการปฏิสัมพันธ์กันของประเทศต่าง ๆ และองค์กรต่าง ๆ เปลี่ยนไป

แนวโน้มและประเด็นหลักบางประการที่เราน่าจะได้เห็นเป็นรูปเป็นร่างในปี 2563

1) ความยั่งยืนเป็นสิ่งจำเป็น

ความยั่งยืนกำลังจะเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมหลากหลายจำเป็นต้องมี ไม่เพียงแต่เฉพาะผู้ค้าปลีกและบริษัทจำหน่าย/ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงธุรกิจในทุกวงการอีกด้วย ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ กล่าวได้ว่าความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมจะกลายเป็นประเด็นหลักในการหาเสียงเพื่อแข่งขันเลือกตั้งทั่วโลกในปี 2563

ตัวอย่างหนึ่งจะเห็นได้จากโครงการสำคัญที่เกิดขึ้นในวันที่ 1 มกราคม 2563 คือ การที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO) จะเริ่มมาตรการ IMO 2020 ที่บังคับให้เรือทุกลำลดการปล่อยกำมะถันหรือก๊าซซัลเฟอร์ในการเดินเรือ จากปัจจุบันที่ 3.5% ให้เหลือเพียง 0.5% เพื่อลดมลพิษทางอากาศให้กับโลก มาตรการนี้จะส่งผลกระทบที่ชัดเจนต่ออุตสาหกรรมการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในระบบดักจับเขม่าควันและเชื้อเพลิงซัลเฟอร์ต่ำที่แสนแพงและทำให้ผลกำไรลดลง โดยที่ผู้ให้บริการและผู้ขนส่งตั้งรับปรับตัวกันไม่ทัน การแล่นเรือด้วยความเร็วต่ำทำให้ระยะเวลาในการเดินทางนานขึ้น และเป็นตัวบังคับให้ระบบนิเวศทั้งระบบต้องจัดโครงสร้างใหม่เพื่อให้เป็นไปตามแผนการผลิตและการส่งมอบสินค้าให้ถึงมือลูกค้า ภายใต้กฎข้อบังคับของมาตรการใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น

2) ขจัดการขนส่งที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

ด้วยเป้าของธุรกิจที่เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ เมื่อใดที่มีการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เปล่า ก็จะกลายเป็นประเด็นร้อนต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้า ในแง่การขนส่งนั้น ความสูญเปล่าหมายถึงการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น ปล่อยคาร์บอนออกสู่บรรยากาศมากขึ้น และผู้ขับขี่ยานพาหนะใช้เวลานานหลายชั่วโมงไปโดยเปล่าประโยชน์ การขนส่งที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ กลายเป็นตัวถ่วงการขยายตัวของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เพราะธุรกิจต่าง ๆ ต้องจ่ายเงินมากขึ้นในการขนส่งสินค้า บริษัทขนส่งจะคำนึงถึงการขนส่งที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ส่วนนี้ด้วย และจะคำนวณค่าใช้จ่ายเพิ่มลงไปในค่าบริการ นั่นหมายถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนส่งไปจนถึงผู้บริโภคปลายทาง รวมถึงผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่ไม่ว่าจะด้านใด ล้วนต้องจ่ายค่าใช้จ่ายให้กับการขนส่งที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นั้นในท้ายที่สุด

3) การเมืองและการค้าที่พัวพันกันมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าต่าง ๆ ในปี 2562 ถูกมองว่าเป็นเรื่องกวนใจ แต่สำหรับปี 2563 นโยบายประเภทนี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นจริงใหม่ ๆ ที่เราต้องเผชิญ ความผันผวนทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคาดว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น อัตราภาษีและกฎระเบียบทางการค้าจะกลายเป็นเรื่องหลักในการกำหนดการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ และทุกคนตั้งแต่หัวหน้าที่ดูแลด้านซัพพลายเชน ตลอดไปจนถึงผู้จัดการโลจิสติกส์จะต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงทางการค้าที่เกิดขึ้นตลอดเวลาเพื่อจะได้ไม่พลาดในการทำธุรกิจ ความไม่แน่นอนจะยังคงเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ เพราะความเป็นชาตินิยมและความขัดแย้งทางการค้าจะยังคงก่อให้เกิดความไม่ลงรอยอีกมากมาย และในปี 2563 เราจะได้เห็นการรายงานข่าวการเมืองที่เมื่อก่อนแยกจากข่าวทางธุรกิจ วันนี้ข่าวทั้งสองแบบในหลาย ๆ ประเด็นจะไม่แยกจากกันอีกต่อไป

4) ความเฉลียวฉลาดและสติปัญญาของมนุษย์เป็นต้นแบบให้กับ AI

จิตใจมนุษย์กับ AI จะเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น นักวิจัยได้มีการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับจิตใจมนุษย์รวมไปถึงทารก เพื่อความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่อายุยังน้อย เป้าหมายคือเพื่อยกระดับรูปแบบของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของเครื่องจักร (ML) ให้ทำงานได้ราบรื่น อยากรู้อยากเห็น หยั่งรู้และเข้าใจได้มากขึ้น โปรแกรม ML ในปัจจุบันต้องอาศัยการป้อนข้อมูลภาพหลายพันภาพเพื่อสอนให้เครื่องเหล่านั้นจดจำว่าวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตธรรมดา ๆ เช่นแมวมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ถึงกระนั้นก็ตาม ข้อผิดพลาดก็ยังคงเกิดขึ้นได้หาก ML ได้รับภาพที่ไม่ชัดเจนพอ ในทางกลับกัน ทารกจะเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่หลากหลายว่าแมวมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งอาจจะเกิดจากการได้เห็นภาพหรือรูปวาดในหนังสือ นอกจากนี้ เด็กยังเรียนรู้ผ่านการทดลองและความอยากรู้อยากเห็นของตัวเองอีกด้วย ดังนั้น เพื่อให้ ML สามารถลอกเลียนประสบการณ์แบบนี้ได้ จึงมีการพัฒนาการให้รางวัลกับ ML บางระบบที่สามารถเลียนแบบความช่างสงสัยในลักษณะนี้ได้โดยจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำด้วย การวิจัยในเรื่องของการเชื่อมโยงสมองมนุษย์ไปสู่ AI จะเพิ่มและเริ่มแสดงผลที่ชัดเจนมากขึ้นอย่างแน่นอนหากมีการพัฒนาต่อด้วยการเสริมคุณลักษณะของมนุษย์เข้าไปในเครื่องจักร

การที่ซัพพลายเชนกำลังจะใช้ระบบอัตโนมัติมากขึ้น แพลตฟอร์ม ML และ AI จะเรียนรู้ด้วยการเฝ้าดูพฤติกรรมของมนุษย์ และสัญญาณต่าง ๆ จากข้อมูลที่ได้จากทุกฝ่าย ทุกภูมิภาคและจากทุกระบบซัพพลายเชน เพื่อจะได้เข้าใจความซับซ้อนและความหลากหลายของการค้าโลก กระบวนการการทำงานบางอย่างอาจย้ายไปอยู่ในสถานะที่ถอยห่างออกไป ในขณะที่กระบวนการที่ซับซ้อนอื่น ๆ ที่ต้องการการทำงานร่วมกันหลายฝ่ายและหลายเครือข่ายนั้น ML และ AI จะต้องการการเรียนรู้จากมนุษย์เป็นอย่างมาก

5) ซัพพลายเชนให้บริการอยู่ในพื้นที่

ในปี 2562 เราได้เห็นการย้ายฐานงานด้านซัพพลายเชนในบางพื้นที่ เช่นในประเทศจีน ด้วยสาเหตุจากปัญหาด้านภาษีและความขัดแย้งทางการค้า ในปี 2563 จะเกิดสิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนไปเป็นเศรษฐกิจที่ยั่งยืนด้วยตนเอง โดยที่ซัพพลายเชนต้องพึ่งพาทรัพยากรภายในประเทศและคู่ค้าที่มี ซึ่งเรื่องนี้จะเกิดในสหรัฐอเมริกา จีน และในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ เป็นส่วนใหญ่ ภาคการผลิตจะอยู่ในลักษณะ “ผลิตในประเทศและส่งมอบในประเทศ” มากขึ้น ผู้บริโภคก็มีแนวโน้มที่จะใช้แบรนด์ภายในประเทศมากขึ้นเช่นกัน ในประเทศจีน ผู้บริโภคหันไปใช้แบรนด์เสื้อผ้า อุปกรณ์ไฮเทค โทรศัพท์ และรถยนต์ของจีนมากขึ้นเรื่อย ๆ แทนที่จะเป็นแบรนด์จากตะวันตก สำหรับสหรัฐอเมริกา บริษัทต่าง ๆ กำลังรับมือกับความตึงเครียดที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวกับจีน โดยต้องปรับเปลี่ยนเครือข่ายซัพพลายจากจีนไปเป็นประเทศอื่น ๆ และสร้างเครือข่ายใหม่ ๆ ที่อยู่ใกล้กับสหรัฐฯ มากขึ้น

6) กำแพงเบอร์ลินดิจิทัล

คริสตาลินา จอร์จิว่า ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้กล่าวไว้ว่า “แม้จะมีการเติบโตทางการค้าเพิ่มขึ้นในปี 2563 แต่ความไม่ลงรอยกันในปัจจุบันอาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลไปอีกนาน ไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเชนที่อยู่ในภาวะวิกฤต ภาคการค้าที่ต่างคนต่างทำ และ ‘กำแพงเบอร์ลินดิจิทัล’ ที่บีบคั้นให้ประเทศต่าง ๆ ต้องเลือกใช้ระบบทางเทคโนโลยี” ‘กำแพงเบอร์ลินดิจิทัล’ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นถึงอุปสรรคต่าง ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นและผลกระทบจากเทคโนโลยีที่มีต่อการค้า ทั้งนี้การหดตัวของงานด้านซัพพลายเชน และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่ได้ฝังแน่นอยู่ในวงการการค้า ทำให้ความเคลื่อนไหวบางประการที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอาจส่งผลระยะยาวกับระบบซัพพลายเชน บวกกับการตั้งกำแพงกีดกันโดยฝ่ายต่าง ๆ และพื้นที่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งนี้ความคล่องตัวและความยืดหยุ่นที่มีอยู่ทั่วโลก และการเน้นความสำคัญกับการขยายตัวของโลกาภิวัตน์ที่มีมาเป็นเวลาหลายปี จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ณ จุดนี้ ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่นยังคงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ความสามารถในการให้บริการและให้การสนับสนุนซัพพลายเออร์ที่อยู่นอกเขตของฮับที่ให้บริการปกติ ได้อย่างรวดเร็วจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นขึ้นมาทันทีเมื่อเกิดการติดขัดด้านดิจิทัล นอกจากนี้การจัดการกับความเสี่ยงต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่อาจขาดแคลนหรือมีราคาแพงขึ้นมาแบบทันทีทันใด ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่มีผลต่อการแข่งขัน

7) บรรทัดฐานทางอุตสาหกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่

แบรนด์สินค้าสุดหรู หลุยส์ วิตตอง ประกาศแผนการเปิดโรงงานขนาด 100,000 ตารางฟุตในรัฐเท็กซัสเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา  การประกาศนี้เป็นตัวอย่างล่าสุดของการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดของอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าคุณภาพสูง การผลิตกระเป๋าคุณภาพสูงนั้นขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันมีโรงงานผลิต 8 ใน 24 แห่งที่เปิดทำการนอกประเทศฝรั่งเศส

ในเดือนพฤศจิกายน กลุ่มบริษัทเมิร์ส์กที่ดำเนินการเกี่ยวกับโลจิสติกส์และพลังงานประกาศการดึงเงินลงทุนจากการเดินเรือทะเล ไปใช้กับบริการทางบกแทน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการริเริ่มเพื่อผลักดันการเติบโตของบริษัท นายแซ้น สเกา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า “เราจำเป็นต้องเติบโตด้วยการเข้าซื้อที่ดินเพื่อทำคลังสินค้า และให้บริการด้านศุลกากร เราลงทุนไปแล้วประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในซัพพลายเชนด้านที่ดิน และจะลงทุนเพิ่มอีกหลายร้อยล้านเหรียญในปีหน้า”

เป็นที่คาดว่าในปี 2563 จะมีการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ พากันแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อคิดค้นและให้บริการลูกค้าท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางการค้าที่ตึงเครียด

ก้าวต่อไป

เมื่อเข้าสู่ปี 2563 สิ่งที่สำคัญมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนสำหรับธุรกิจต่าง ๆ คือการต้องเชื่อมโยงกับพันธมิตรในต่างประเทศอย่างทั่วถึง การทำงานร่วมกัน การรับรู้สถานะและได้รับข้อมูลที่เชื่อมโยงกันระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตในอนาคตที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและอัดแน่นไปด้วยความกดดันนานัปการ บริษัทที่เตรียมการเชื่อมประสานซัพพลายเชนของตนให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน จะมีความคล่องตัวและความเร็วในการดำเนินงาน สามารถรับรู้และตอบสนองเชิงรุกต่อความต้องการของลูกค้า สิ่งนี้จะเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่สำคัญในปี 2563 และที่ยิ่งไปกว่านั้นคือจะส่งผลให้บริษัทก้าวขึ้นมาโดดเด่นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมของตน