Gartner

Gartner Says Three Emerging Environmental Sustainability Technologies Will See Early Mainstream Adoption by 2025

การ์ทเนอร์เผยเทคโนโลยีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมจะเริ่มนำมาใช้แพร่หลายภายในปี 2568

Cloud Sustainability, Carbon Footprint Measurement and Advanced Grid Management Software to Have Broad Business Impact in One to Three Years

Cloud sustainability, carbon footprint measurement and advanced grid management software are the three emerging environmental sustainability technologies that will reach early mainstream adoption within one to three years, according to Gartner, Inc.

“Environmental sustainability cannot be the responsibility of just a few industries – if our climate is to be protected, sustainable business must be a global priority,” said Annette Zimmermann, research vice president at Gartner. “The transition to a net-zero economy will be as disruptive as the industrial revolution or the digital revolution, requiring new technologies, business models, strategies and processes.”

The path to a net-zero future will create new opportunities for technology and service providers developing the underpinning technologies to enable sustainable business. Gartner has identified three emerging technologies that will have the most immediate impact for environmental sustainability:

Cloud Sustainability

Cloud sustainability is the use of cloud services to achieve sustainability benefits within economic, environmental and social systems. It consists of the sustainable operation and delivery of cloud services by a cloud service provider, as well as the sustainable consumption and use of cloud services.

“Public cloud services offer great sustainability potential with their ability to centralize IT operations and operate at scale using a shared service model, resulting in greater computing efficiency,” said Zimmermann. “Public cloud providers also have a unique ability to invest in sustainability capabilities, such as moving cloud data centers to be physically located near renewable energy sources.”

Over the next three years, cloud providers will come under increasing pressure to have a transparent climate strategy and clear roadmap. In fact, Gartner predicts that by 2025, the carbon emissions of hyperscale cloud services will be a top three criterion in cloud purchase decisions.

Carbon Footprint Measurement

Carbon footprint is defined as the quantity of emissions generated by human activity. The carbon footprint of a given technology product or service encompasses three emission scopes:

  • Scope 1: Direct emissions from owned or controlled sources
  • Scope 2: Indirect emissions from the generation of purchased energy
  • Scope 3: All indirect emissions (not included in Scope 2) that occur in the value chain of the reporting company, including both upstream and downstream emissions

Scope 3 emissions are the most challenging to measure, yet in some companies they can account for over 95% of total emissions. Gartner expects carbon footprint measurement technologies to see significant adoption as organizations broaden their focus to all three emission types and increase reporting transparency. The growth of such tools will be supported by the proliferation of IoT-enabled environmental sensors that increase quantity, quality and timeliness of data collection.

“Ultimately, every organization will have to invest in carbon accounting tools,” said Zimmermann. “Software solutions which provide transparent carbon measurement and actionable advice are seeing rapid adoption, and Gartner expects continued growth as integration capabilities progress.”

Advanced Grid Management Software

Advanced grid management comprises supervisory control and data acquisition (SCADA), utility energy management systems and new operationalized real-time capabilities that leverage physical and machine learning models. This software is used by electricity system operators to monitor and control energy resources across the electricity grid to maintain system stability and defer capital investments.

Gartner estimates that around 5-20% of organizations are invested in advanced grid management software today, and that percentage will grow substantially over the next one to three years. By 2026, over 60% of the capital programs of the largest energy companies will focus on low-risk renewables investments.

“The main challenge of grid network operators is to manage power flow variability and energy profile volatility,” said Zimmermann. “Advanced grid management software will support the energy transition by enabling electricity utility companies to become active network managers as they balance the instability created by increasing volumes of intermittent renewable energy.”

นำโดย Cloud Sustainability, Carbon Footprint Measurement และ Advanced Grid Management Software ที่จะสร้างแรงกระเพื่อมต่อธุรกิจเป็นวงกว้างภายใน 1-3 ปี

การ์ทเนอร์ เผย 3 เทคโนโลยีเกิดใหม่ด้านความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ Cloud Sustainability, Carbon Footprint Measurement และ Advanced Grid Management Software จะถูกนำมาใช้ขับเคลื่อนองค์กรอย่างแพร่หลายภายในหนึ่งถึงสามปีจากนี้

แอนเน็ต ซิมแมร์มันน์ รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมไม่ควรต้องเป็นความรับผิดชอบของอุตสาหกรรมเพียงไม่กี่แห่ง ถ้าเรื่องสภาวะภูมิอากาศเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองแล้ว เรื่องของธุรกิจที่ยั่งยืนต้องมีความสำคัญระดับโลก การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Net-Zero Economy) จะสร้างปรากฎการณ์อย่างยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมหรือการปฏิวัติทางดิจิทัล ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยี รูปแบบธุรกิจ กลยุทธ์และกระบวนการใหม่”

เส้นทางสู่อนาคตของ Net-Zero จะสร้างโอกาสใหม่ ๆ แก่ผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีที่มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีรองรับการสร้างธุรกิจยั่งยืน การ์ทเนอร์ได้ระบุ 3 เทคโนโลยีเกิดใหม่ 3 ประการ ที่จะสร้างผลกระทบโดยตรงต่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่:

ความยั่งยืนของคลาวด์ (Cloud Sustainability)

Cloud Sustainability คือ แนวทางการใช้บริการคลาวด์เพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านความยั่งยืนภายในระบบเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินการที่ยั่งยืนและการส่งมอบบริการคลาวด์โดยผู้ให้บริการ ตลอดจนการบริโภคและการใช้บริการคลาวด์อย่างยั่งยืน

“บริการคลาวด์สาธารณะนำเสนอศักยภาพด้านความยั่งยืนที่ยอดเยี่ยมด้วยความสามารถในการรวมศูนย์การดำเนินงานด้านไอทีโดยเป็นการดำเนินการที่ปรับได้โดยอาศัยโมเดลบริการที่ใช้ร่วมกัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการประมวลผลสูงขึ้น โดยผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะยังมีความสามารถเฉพาะในการลงทุนเพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านความยั่งยืน อาทิ ย้ายที่ตั้งคลาวด์ดาต้าเซ็นเตอร์ให้อยู่ใกล้แหล่งพลังงานหมุนเวียน” ซิมแมร์มันน์กล่าวเพิ่มเติมว่า

ในอีกสามปีข้างหน้า ผู้ให้บริการระบบคลาวด์จะอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นกับการจัดหากลยุทธ์ด้านสภาวะอากาศที่โปร่งใสพร้อมกับแผนงานที่ชัดเจน โดยการ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2568 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบริการคลาวด์แบบไฮเปอร์สเกลจะเป็นเกณฑ์หนึ่งในสามอันดับแรกในการตัดสินใจซื้อระบบคลาวด์

การประเมินด้านรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint Measurement)

รอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) คือ ปริมาณการปล่อยมลพิษที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ สำหรับรอยเท้าคาร์บอนของผลิตภัณฑ์หรือบริการทางเทคโนโลยีจะครอบคลุมขอบเขตการปล่อยมลพิษสามประการ ได้แก่:

  • ขอบเขตที่ 1: การปล่อยโดยตรงจากเจ้าของหรือที่มาที่ได้อยู่ในการควบคุม
  • ขอบเขตที่ 2: การปล่อยทางอ้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิตพลังงานที่ซื้อมา
  • ขอบเขตที่ 3: การปล่อยทางอ้อมอื่น ๆ ทั้งหมด (ที่ไม่รวมอยู่ในขอบเขตที่ 2) เกิดขึ้นในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของหน่วยงานที่จัดทำรายงาน รวมถึงการปล่อยจากต้นน้ำและปลายน้ำ

ซึ่งการปล่อยมลพิษในขอบเขตที่ 3 เป็นการวัดผลที่ท้าทายที่สุด แต่ในบางองค์กรการปล่อยก๊าซฯ นั้นคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 95% ของปริมาณการปลดปล่อยทั้งหมด การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าจะเห็นการนำเทคโนโลยีการวัดค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ไปใช้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการปล่อยมลพิษทั้ง 3 ประเภทและจัดทำรายงานความโปร่งใสเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเติบโตของเครื่องมือวัดผลเหล่านี้ได้รับแรงสนับสนุนมาจากการเพิ่มจำนวนของเซ็นเซอร์ตรวจจับด้านสิ่งแวดล้อมที่เปิดใช้งานเทคโนโลยี IoT ทั้งปริมาณ คุณภาพ และเวลาในการรวบรวมข้อมูลที่ใช้น้อยลง

“ท้ายที่สุด ทุกองค์กรจะต้องลงทุนในเครื่องมือวัดผลคาร์บอน รวมถึงซอฟต์แวร์โซลูชันที่ทำให้การวัดคาร์บอนที่โปร่งใสและคำแนะนำในเชิงปฏิบัติที่กำลังถูกนำไปใช้เพิ่มขึ้น โดยการ์ทเนอร์คาดว่าการเติบโตจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับความสามารถในการรวมระบบที่จะมีความคืบหน้ามากขึ้น” ซิมแมร์มันน์กล่าวเพิ่มเติม

ซอฟต์แวร์การจัดการกริดขั้นสูง (Advanced Grid Management Software)

Advanced Grid Management Software ประกอบด้วย ระบบวัดค่าและควบคุมเครื่องจักร (Supervisory Control and Data Acquisition (SCADA) ระบบการจัดการพลังงานจากสาธารณูปโภค และความสามารถใหม่ในการปฏิบัติงานแบบเรียลไทม์ ซึ่งได้รับมาจากโมเดลการเรียนรู้ทางกายภาพและเครื่องจักร ซึ่งซอฟต์แวร์นี้ถูกนำมาใช้โดยผู้ปฏิบัติงานระบบไฟฟ้าสำหรับตรวจสอบและควบคุมแหล่งพลังงานทั่วทั้งโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบและชะลอการลงทุนขององค์กร

การ์ทเนอร์ คาดว่าปัจจุบันมีองค์กรประมาณ 5-20% ลงทุนซอฟต์แวร์การจัดการกริดขั้นสูง และจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหนึ่งถึงสามปีข้างหน้า โดยภายในปี 2569 การ์ทเนอร์คาดกว่า 60% ของโครงการลงทุนจากบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดจะมุ่งเน้นด้านพลังงานหมุนเวียนความเสี่ยงต่ำ

“ความท้าทายหลักของผู้ให้บริการโครงข่ายกริดคือการจัดการความแปรปรวนของกระแสไฟฟ้าและความผันแปรของโปรไฟล์พลังงาน ซึ่งซอฟต์แวร์การจัดการกริดขั้นสูงจะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน เปลี่ยนบริษัทสาธารณูปโภคไฟฟ้าแบบเดิมให้กลายเป็นผู้จัดการโครงข่ายที่มีประสิทธิภาพที่สามารถสร้างสมดุลระหว่างความไม่เสถียรที่เกิดจากการเพิ่มปริมาณพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ต่อเนื่อง” ซิมแมร์มันน์กล่าวเพิ่มเติม