Gartner

Gartner Forecasts Worldwide Low-Code Development Technologies Market to Grow 23% in 2021

การ์ทเนอร์คาดการณ์ตลาดเทคโนโลยีพัฒนา Low-Code ทั่วโลกปีนี้จะโตสูงถึง 23%

Surge in Remote Development Boosted Low-Code Adoption Despite Ongoing Cost Optimization Efforts

The worldwide low-code development technologies market is projected to total $11.3 billion in 2021, an increase of 23.2% from 2020, according to the latest forecast by Gartner, Inc. The surge in remote development during the COVID-19 pandemic will continue to boost low- code adoption, despite ongoing cost optimization efforts.

“While low-code application development is not new, a confluence of digital disruptions, hyperautomation and the rise of composable business has led to an influx of tools and rising demand,” said Fabrizio Biscotti, research vice president at Gartner.

Low-code as a general social and technological movement is expected to continue growing significantly. For example, low-code application platforms (LCAP) are expected to remain the largest component of the low-code development technology market through 2022, increasing 65% from 2020 to reach $5.8 billion (see Table 1).

Table 1. Low-Code Development Technologies Revenue (Millions of U.S. Dollars)

*Other LCD technologies include rapid mobile app development (RMAD) tools and rapid application development (RAD) tools. Low-code is the evolution of RAD to cloud and SaaS models. Note that Gartner defines a no-code application platform as an LCAP that only requires text entry for formulae or simple expressions. The LCAP market, therefore, includes no-code platforms. Furthermore, “no code” is not a sufficient criterion for tasks like citizen development, as many complex tooling configuration tasks are no code but still require specialist skills. Columns may not add to totals shown because of rounding.
Source: Gartner (February 2021)

Digital Business Acceleration Drives Application Delivery
Digital business acceleration is putting pressure on IT leaders to dramatically increase application delivery speed and Time to Value. The increased demand for custom software solutions in support of digital transformation has sparked the emergence of citizen developers outside of IT, which, in turn has influenced the rise in low-code.

Gartner research says, on average, 41% of employees outside of IT – or business technologists – customize or build data or technology solutions. Gartner predicts that half of all new low-code clients will come from business buyers that are outside the IT organization by year-end 2025, too.

“The economic consequences of the COVID-19 pandemic have validated the low-code value proposition,” said Mr. Biscotti. “Low-code capabilities that support remote work function, such as digital forms and workflow automation, will be offered with more elastic pricing since they will be required to keep the lights running.”

SaaS and Hyperautomation Will Drive Low-Code Adoption
All of the major software-as-a-service (SaaS) vendors currently provide capabilities that incorporate low-code development technologies. As SaaS grows in popularity, and these vendors’ platforms are increasingly adopted, the low-code market will see commensurate growth in LCAPs and process automation tooling.

Additionally, business technologists want to create and execute their own ideas to drive more automation across their business applications and workflows. The needs of business-driven hyperautomation will be one of the top three drivers for low-code adoption through 2022.

“Globally, most large organizations will have adopted multiple low-code tools in some form by year-end 2021. In the longer term, as companies embrace the tenets of a composable enterprise, they will turn to low-code technologies that support application innovation and integration,” said Mr. Biscotti.

Gartner clients can read more in “Forecast Analysis: Low-Code Development Technologies.”

Gartner Application Innovation & Business Solutions Summit
Application innovation and software engineering strategies will be further discussed at the Gartner Application Innovation & Business Solutions Summits 2021 taking place virtually May 26-27 in the Americas, June 16-17 in EMEA and June 21-22 in Japan. Follow news and updates from the conferences on Twitter using #GartnerAPPS.

การพัฒนาทางไกลที่พุ่งสูงขึ้นเป็นตัวผลักดันการใช้งาน Low-Code ท่ามกลางการบริหารต้นทุนให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง

การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์ตลาดเทคโนโลยีพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบ Low-Code ทั่วโลกจะมีมูลค่ารวม 11.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีนี้ เพิ่มขึ้น 23.2% จากปี 2563 ทั้งนี้การพัฒนาแบบรีโมทระหว่างการระบาดโควิด-19 ที่พุ่งสูงขึ้นจะเป็นตัวผลักดันการพัฒนาแบบ Low-Code มากยิ่งขึ้นแม้ว่าจะมีความพยายามในการบริหารต้นทุนให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง

นายฟาบริซิโอ บิสคอตติ รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าการพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบ Low-Code จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เมื่อการหยุดชะงักทางดิจิทัล (Digital Disruptions), การผสานรวมเทคโนโลยี (Hyperautomation) และการเพิ่มขึ้นของการตัดสินใจทางธุรกิจที่พึ่งพาข้อมูลมากขึ้น (Composable Business) มาบรรจบกันจึงนำไปสู่เครื่องมือพัฒนาที่เพิ่มขึ้นและความต้องการที่ท่วมท้น”

Low-Code เป็นเหมือนการเคลื่อนไหวทางสังคมและเทคโนโลยีทั่ว ๆ ไปอย่างหนึ่งซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ เช่น แพลตฟอร์มแอปพลิเคชั่น Low-Code (LCAP) ที่จะเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดในตลาดเทคโนโลยีพัฒนา Low-Code ไปจนถึงปีหน้าซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้น 65% จากปีที่แล้ว (ดูตารางที่1)

ตารางที่ 1 รายได้จากเทคโนโลยีการพัฒนา Low-Code (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

*เทคโนโลยีการพัฒนา Low-Code อื่น ๆ รวมถึงเครื่องมือการพัฒนาแอปฯ มือถืออย่างรวดเร็ว (RMAD) และเครื่องมือการพัฒนาแอปพลิเคชั่นอย่างรวดเร็ว (RAD) Low-code คือวิวัฒนาการของโมเดล RAD ไปสู่ระบบคลาวด์และ SaaS โปรดสังเกตว่าการ์ทเนอร์ให้ความหมายของแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันแบบ No-Code เป็น LCAP ที่ต้องป้อนตัวอักษรเป็นสูตรหรือวลีทั่วไปเท่านั้น ดังนั้นตลาด LCAP จึงรวมถึงแพลตฟอร์มแบบ No-Code ด้วย นอกจากนี้ลำพังแพลตฟอร์ม “No-Code” อย่างเดียวไม่ใช่เกณฑ์วัดที่เพียงพอสำหรับงานบางอย่างที่เป็นของนักพัฒนาทั่วไปที่ไม่ใช่ผุ้เชี่ยวชาญเฉพาะ เนื่องจากงานจำนวนมากกำหนดค่าเครื่องมือที่ซับซ้อนเป็นแบบ No-Code ที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทาง บรรทัดนี้จึงไม่นับรวมไปในผลรวมด้วยเนื่องจากการปัดเศษ
ที่มา: Gartner (กุมภาพันธ์ 2564)

การเพิ่มขึ้นของธุรกิจดิจิทัลขับเคลื่อนการส่งมอบแอปพลิเคชั่น
การเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจดิจิทัลกำลังกดดันผู้บริหารด้านไอทีให้เร่งการส่งมอบแอปพลิเคชั่นและระยะเวลาส่งมอบบริการตามความต้องการ (Time to Value)  ความต้องการซอฟต์แวร์แบบปรับเฉพาะเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัลได้จุดประกายให้เกิดนักพัฒนานอกแวดวงไอทีซึ่งส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ Low-Code

ผลการวิจัยของการ์ทเนอร์ระบุว่า พนักงานที่อยู่นอกฝ่ายไอทีหรือนักธุรกิจเชิงเทคโนโลยีเฉลี่ย 41% กำหนด ปรับแต่ง สร้างข้อมูลหรือโซลูชั่นเทคโนโลยีขึ้นใช้เอง การ์ทเนอร์คาดการณ์ภายในสิ้นปี 2568 ครึ่งนึงของลูกค้า Low-Code ใหม่ทั้งหมดจะมาจากผู้จัดซื้อทางธุรกิจที่อยู่นอกองค์กรไอที

“ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้คุณค่าต่าง ๆ ของ Low-Code สมบูรณ์ยิ่งขึ้น” นายบิสคอตตีกล่าว “ประสิทธิภาพของ Low-Code ที่รองรับฟังก์ชันการทำงานระยะไกล เช่น ดิจิทัลฟอร์มและกระบวนการทำงานอัตโนมัติจะมีค่าตัวที่ยืดหยุ่นมากขึ้นเนื่องจากธุรกิจจำเป็นต้องให้แอปฯ ใช้งานได้อยู่ตลอดเวลา”

การให้บริการด้านซอฟต์แวร์ (SaaS) และการผสานรวมเทคโนโลยี (Hyperautomation) จะขับเคลื่อนการใช้งาน Low-Code
ในปัจจุบันผู้จำหน่ายการบริการด้านซอฟต์แวร์ (SaaS) รายใหญ่ทั้งหมดสามารถนำเสนอโซลูชั่นที่รวมเทคโนโลยีการพัฒนา Low-Code ไว้ด้วย เมื่อ SaaS ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นและแพลตฟอร์มของผู้ขายเหล่านี้มีการใช้มากขึ้น ตลาด Low-Code จะเห็นสัดส่วนการเติบโตในแพลตฟอร์มแอปพลิเคชั่น Low-Code (LCAP) และการใช้เครื่องมืออัตโนมัติในกระบวนการทำงานไปคู่กัน

นอกจากนี้นักธุรกิจเชิงเทคโนโลยีต้องการสร้างและทำตามแนวคิดของตนเองเพื่อขับเคลื่อนระบบอัตโนมัติมากขึ้นในแอปพลิเคชันทางธุรกิจและกระบวนการทำงาน ความจำเป็นของการผสานรวมเทคโนโลยี (Hyperautomation) ที่ขับเคลื่อนด้วยธุรกิจจะเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนสามอันดับแรกในการปรับใช้ Low-Code ไปใช้จนถึงปี 2565

“ภายในสิ้นปี 2564 องค์กรใหญ่ ๆ ทั่วโลกจะนำเครื่องมือ Low-Code หลายตัวมาใช้ในบางรูปแบบ ในระยะยาวจากการที่บริษัทต่าง ๆ ยอมรับหลักการของการรวบรวมความสามารถทางธุรกิจที่สร้างขึ้นจากโครงสร้างข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นไว้ในที่เดียวกัน (Composable Enterprise) พวกเขาจะหันไปใช้เทคโนโลยี Low-Code ที่สนับสนุนนวัตกรรมแอปพลิเคชันและการบูรณาการ” นายบิสคอตตีกล่าว

ลูกค้าการ์ทเนอร์สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ “Forecast Analysis: Low-Code Development Technologies.”

การประชุมสุดยอดนวัตกรรมแอปพลิเคชั่นและโซลูชั่นทางธุรกิจของการ์ทเนอร์
นวัตกรรมแอปพลิเคชันและกลยุทธ์ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์จะมีการสนทนาเพิ่มเติมในงาน Gartner Application Innovation & Business Solutions Summits 2564 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 26-27 พฤษภาคมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ 16-17 มิถุนายนที่ทวีปยุโรปตะวันออกกลางและแอฟริกา (EMEA) และ 21-22 มิถุนายนที่ประเทศญี่ปุ่น ติดตามข่าวสารและอัปเดตจากการประชุมบน Twitter โดยใช้แฮชแท็ก #GartnerAPPS