Cisco

Fifty-two Percent of Cybersecurity Technologies used by Companies in Thailand are Considered Outdated

52 เปอร์เซ็นต์ของเทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ใช้งานในบริษัทในประเทศไทยเข้าข่ายล้าสมัย

  • Security professionals say large chunk of technology they use is unreliable and complex
  • Companies are investing in new security architectures like Zero Trust and SASE

It is more critical than ever for companies in Thailand to refresh the technologies and solutions in their cybersecurity infrastructure, according to findings of the latest study by Cisco released today. Titled, Security Outcomes Study Volume 2, the study highlighted that 52 percent of cybersecurity technologies used by companies in Thailand are considered outdated by security and privacy professionals working at these organizations.

The study is based on a global survey of more than 5100 security and privacy professionals across 27 markets. This includes more than 2,000 professionals from 13 markets in Asia-Pacific. The study aims to determine the most impactful measures teams can take to defend their organizations against the evolving threat landscape. Respondents, including professionals from companies in Thailand, shared their approaches to updating and integrating their security architecture, detecting, and responding to threats and staying resilient when disaster strikes.

Respondents from Thailand also consider their cybersecurity infrastructure unreliable and complex, with 43 percent and 28 percent respectively highlighting this in the survey.

The good news, though, is that companies in Thailand are addressing this by investing in modern cybersecurity technologies and approaches to address this and improve their security posture. More than 9 in 10 (93 percent) respondents in Thailand said their company is investing in ‘Zero Trust’ strategy, with 57 percent saying their organization is making steady progress with adopting it, and 36 percent saying they are at a mature state of implementing it. In addition, 93 percent respondents said their company is investing in Secure Access Service Edge (SASE) architecture, with 55 percent saying they are making good progress with adopting, while 38 percent saying their implementation of the same is at mature levels.

These two approaches are key to building a strong security posture for companies in the modern cloud-first and application-centric world. Organizations are facing multiple challenges while operating in this environment including, complexity in connecting users to applications and data across multiple cloud platforms, inconsistent security policies across disparate locations and networks, difficulty in verifying identity of users and devices, lack of end-to-end visibility of their security infrastructure, etc.

The SASE architecture is widely seen as an effective way to addressing these challenges. Simply put, SASE combines networking and security functions in the cloud to deliver secure access to applications anywhere users work. Zero-Trust, meanwhile, is a simple concept that involves verifying the identity of each user and device every time they access an organization’s network to reduce the security risk.

The value of cloud-based security architectures cannot be overstated. According to the study, organizations that have mature implementations of Zero Trust or SASE architectures are 35% more likely to report strong security operations than those with nascent implementations.

“Businesses across the globe, including here in Thailand, have seen a huge change in their operating models, driven in large part by the pandemic. As they grapple with changes like a distributed workforce and digital-first interactions, it is imperative for them to be able to connect users seamlessly to the applications and data they need to access, in any environment and from any location. They need to achieve this while being able to control access and enforce the right security protection across networks, devices, and locations,” said Kerry Singleton, Managing Director Cybersecurity Asia-Pacific, Japan and Greater China at Cisco.

Juan Huat Koo, Director Cybersecurity for ASEAN at Cisco, added: “In today’s digital led business environment, companies need to ensure they stay ahead of the curve when it comes to cybersecurity. Cisco’s latest study provides great insights for security practitioners on what really works when it comes to building a strong security posture, while maintaining seamless user experience, thereby taking the guesswork out of what they should focus on and prioritize to keep the business and users safe.”

Other key global findings of the study include:

  • Organizations that leverage threat intelligence achieve faster mean time to repair (MTTR), with rates 50% lower than those of non-intel users.
  • Organizations with integrated technologies are seven times more likely to achieve high levels of process automation. Additionally, these organizations boast more than 40% stronger threat detection capabilities.
  • Automation more than doubles the performance of less experienced staff, supporting organizations through skills and labor shortages.
  • As the threat landscape continues to evolve, testing business continuity and disaster recovery capabilities regularly and in multiple ways is more critical than ever, with proactive organizations 2.5 times more likely to maintain business resiliency.
  • Organizations with board-level oversight of business continuity and disaster recovery efforts that have operations residing within cybersecurity teams perform best.

To learn more, visit cisco.com/go/SecurityOutcomes2. Join the conversation using #SecurityOutcomes.

Additional Resources:

  • บุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัยชี้ เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ขาดความน่าเชื่อถือและมีความซับซ้อน
  • บริษัทต่างๆ เตรียมลงทุนในสถาปัตยกรรมใหม่ด้านการรักษาความปลอดภัย เช่น Zero Trust และ SASE

ซิสโก้เผยแพร่รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับผลลัพธ์ด้านการรักษาความปลอดภัย ฉบับที่ 2 (Security Outcomes Study Volume 2) ซึ่งระบุว่า บริษัทต่างๆ ในไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีและโซลูชั่นรุ่นใหม่ใน “โครงสร้างพื้นฐานของไซเบอร์ซีเคียวริตี้” โดยผลการศึกษาเผยว่า 52 เปอร์เซ็นต์ของเทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ใช้งานอยู่ในบริษัทต่างๆ ของไทยจัดว่าล้าสมัย ตามความเห็นของบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัย ที่ทำงานอยู่ในองค์กรเหล่านั้น

รายงานดังกล่าวอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวกว่า 5,100 คนใน 27 ประเทศทั่วโลก รวมถึงบุคลากรกว่า 2,000 คนใน 13 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ผลการศึกษานี้มุ่งที่จะค้นหาแนวทางและมาตรการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการปกป้ององค์กรให้ปลอดภัยจากสถานการณ์ภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ผู้ตอบแบบสอบถาม รวมถึงบุคลากรจากบริษัทต่างๆ ในประเทศไทย ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางของตนเองสำหรับการอัพเดต และบูรณาการสถาปัตยกรรมด้านการรักษาความปลอดภัย การตรวจจับ การตอบสนองต่อภัยคุกคาม และการกู้คืนระบบในกรณีที่เกิดปัญหา

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยระบุว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันขาดความน่าเชื่อถือ (43 เปอร์เซ็นต์) และมีความซับซ้อน (28 เปอร์เซ็นต์)

แต่ข่าวดีก็คือ บริษัทต่างๆ ในไทยมีแผนที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ทันสมัย รวมไปถึงแนวทางใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบรักษาความปลอดภัยขององค์กร ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามในไทยกว่า 9 ใน 10 คน (93 เปอร์เซ็นต์) เปิดเผยว่า บริษัทของตนมีแผนที่จะลงทุนในแนวทาง ‘Zero Trust’ โดย 57 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า องค์กรของตนมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องในการปรับใช้แนวทางดังกล่าว ขณะที่ 36 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า องค์กรของตนได้ปรับใช้แนวทางนี้อย่างกว้างขวาง นอกจากนั้น ผู้ตอบแบบสอบถาม 93 เปอร์เซ็นต์เปิดเผยว่า บริษัทของตนมีแผนที่จะลงทุนในสถาปัตยกรรม Secure Access Service Edge (SASE) โดย 55 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า มีความคืบหน้าที่ดีในการปรับใช้สถาปัตยกรรมที่ว่านี้ ขณะที่ 38 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า มีการใช้งานสถาปัตยกรรมดังกล่าวในระดับที่พัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว

เทคโนโลยีทั้งสองส่วนนี้ถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งสำหรับองค์กรธุรกิจในโลกยุคใหม่ที่มุ่งเน้นการใช้ระบบคลาวด์และแอปพลิเคชันเป็นหลัก ทุกวันนี้องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายมากมายในการดำเนินงานในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เช่น ความยุ่งยากซับซ้อนในการเชื่อมต่อผู้ใช้เข้ากับแอปพลิเคชันและข้อมูลบนแพลตฟอร์มคลาวด์ที่หลากหลาย นโยบายด้านความปลอดภัยที่ไม่สอดคล้องกันบนตำแหน่งที่ตั้งและเครือข่ายที่แตกต่างกัน ความยากลำบากในการตรวจสอบอัตลักษณ์ของผู้ใช้งานและอุปกรณ์ การที่องค์กรไม่สามารถตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานด้านการรักษาความปลอดภัยได้อย่างทั่วถึง เป็นต้น

สถาปัตยกรรม SASE ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาท้าทายเหล่านี้ เพราะ SASE ผสานรวมฟังก์ชั่นการทำงานของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยเข้าไว้ในแพลตฟอร์มคลาวด์ เพื่อรองรับการเข้าถึงแอปพลิเคชันอย่างปลอดภัย ไม่ว่าผู้ใช้จะทำงานอยู่ที่ใดก็ตาม ขณะเดียวกัน แนวทาง Zero-Trust เป็นแนวคิดที่เรียบง่ายซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอัตลักษณ์ของผู้ใช้งานและอุปกรณ์ทั้งหมดในทุกๆ ครั้งที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายขององค์กร เพื่อลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

สถาปัตยกรรมด้านการรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์มีคุณประโยชน์อย่างมาก โดยจากผลการสำรวจพบว่า องค์กรที่มีการใช้งานสถาปัตยกรรม Zero Trust หรือ SASE ในระดับที่พัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว มีแนวโน้มที่มีการดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งมากกว่า 35% เมื่อเทียบกับองค์กรที่เพิ่งปรับใช้สถาปัตยกรรมดังกล่าวในระดับเริ่มต้น

เคอร์รี่ ซิงเกิลตัน กรรมการผู้จัดการฝ่ายไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของซิสโก้ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ญี่ปุ่น และจีน กล่าวว่า “องค์กรธุรกิจทั่วโลก รวมถึง ‘ประเทศไทย’ ได้เจอกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรูปแบบการดำเนินงาน ที่เป็นผลมาจากการแพร่ระบาด ขณะที่องค์กรเหล่านี้ต้องวุ่นวายกับความเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน เช่น การที่พนักงานจำนวนมากจำเป็นต้องทำงานจากที่บ้าน การติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมที่ใช้ช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องสามารถเชื่อมต่อผู้ใช้เข้ากับแอปพลิเคชันและข้อมูลที่ต้องใช้งานได้อย่างไร้รอยต่อในทุกสภาพแวดล้อม ไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ที่ใดก็ตาม ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถควบคุมการเข้าถึงและบังคับใช้มาตรการป้องกันด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม โดยครอบคลุมเครือข่าย อุปกรณ์ และสถานที่ตั้งทั้งหมด”

ฮวน ฮวด คู ผู้อำนวยการฝ่ายไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของซิสโก้ ประจำภูมิภาคอาเซียน กล่าวเสริมว่า “สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัล ดังนั้นบริษัทต่างๆ จึงต้องดำเนินการปรับปรุงไซเบอร์ซีเคียวริตี้อย่างจริงจัง รายงานฉบับล่าสุดของซิสโก้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่ดีเยี่ยมแก่บุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัยในเรื่องที่เกี่ยวกับแนวทางและเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ในขณะที่ยังคงให้ประสบการณ์ผู้ใช้ที่ราบรื่น ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรเหล่านี้มีทิศทางการทำงานที่ชัดเจนสำหรับการปกป้ององค์กรธุรกิจและผู้ใช้งานให้ปลอดภัย”

รายงานดังกล่าวยังให้ข้อมูลระดับโลกที่สำคัญดังต่อไปนี้:

  • องค์กรที่ใช้ข้อมูลข่าวกรองด้านภัยคุกคามมีค่าเวลาเฉลี่ยของการซ่อม (Mean Time to Repair – MTTR) ที่รวดเร็วกว่า โดยค่าเวลาดังกล่าวต่ำกว่า 50% เมื่อเทียบกับองค์กรที่ไม่ได้ใช้ข้อมูลข่าวกรอง
  • องค์กรที่ใช้เทคโนโลยีแบบครบวงจรมีแนวโน้มที่จะสร้างกระบวนการอัตโนมัติขั้นสูงได้มากขึ้น 7 เท่า นอกจากนั้น องค์กรเหล่านี้ยังมีความสามารถด้านการตรวจจับภัยคุกคามที่แข็งแกร่งมากกว่าถึง 40%
  • ระบบอัตโนมัติ (Automation) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่มีประสบการณ์น้อยได้มากขึ้นสองเท่า และช่วยให้องค์กรแก้ไขปัญหาการขาดแคลนทักษะและบุคลากร
  • ขณะที่สถานการณ์ภัยคุกคามมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การทดสอบความสามารถด้านการรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงานและการกู้คืนระบบอย่างสม่ำเสมอโดยใช้วิธีการที่หลากหลายนับว่ามีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยองค์กรที่ใช้แนวทางเชิงรุกมีแนวโน้มที่จะรักษาความยืดหยุ่นของธุรกิจได้มากขึ้น 2.5 เท่า
  • องค์กรที่มีการกำกับดูแลในระดับคณะกรรมการบริหารในเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงาน และการกู้คืนระบบภายใต้ความรับผิดชอบของทีมงานฝ่ายไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีผลประกอบการที่ดี

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ cisco.com/go/SecurityOutcomes2 และเข้าร่วมการสนทนาโดยใช้แฮชแท็ก #SecurityOutcomes

ข้อมูลเพิ่มเติม: