ACI Worldwide

Thailand’s Real-Time Payments Transactions Double in 2020 as COVID-19 Pandemic Accelerates Shift to Digital Payments – New ACI Worldwide Research Reveals

เอซีไอ เวิลด์ไวด์ เผยผลการศึกษาล่าสุด ชี้ธุรกรรมการชำระเงินแบบเรียลไทม์ในไทยเพิ่มขึ้นสองเท่าในปี 2563 เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 เร่งให้มีการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

  • ACI Worldwide and GlobalData launch 2021 “Prime-Time for Real Time,” a global report tracking and analyzing real-time payments volumes, growth and dynamics across 48 global markets
  • Thailand ranked fourth globally for number of real-time transactions in 2020, behind only India, China, and South Korea

Bangkok, Thailand – April 19, 2021 More than 5.24 billion real-time payments transactions were processed in Thailand in 2020, a surge of 104 percent compared to the previous year (2.57 bn), as the COVID-19 pandemic dramatically accelerated trends away from cash towards greater reliance on real-time and digital payments, a new global report from ACI Worldwide (NASDAQ: ACIW) and GlobalData reveals.

The second installment of ‘Prime-Time for Real-Time,’ first launched in 2020, analyzes global real-time, account-to-account payment volumes and forecasts across 48 global markets. It projects a Compound Annual Growth Rate (CAGR) for real-time payments of 32.01 percent in Thailand from 2020 to 2025, far higher than the global projected CAGR (23.6 percent).

Real-time payments in Thailand have experienced phenomenal YoY growth, driven heavily by the Bank of Thailand’s efforts to promote financial inclusion by leveraging real-time payments to deliver a range of financial benefits to citizens. Thailand’s real-time payments system, PromptPay, was launched in 2016 by the central bank as part of its National e-Payment initiative. First designed to deliver government welfare disbursements, it has expanded rapidly among individuals and businesses.

With millions of people globally having to change the way they work and live – and the way they shop and pay – new technologies are growing rapidly. Mobile wallet adoption rose to an historic high in Thailand of 83.9% percent in 2020, up from 72.6 percent in 2019.

As the pandemic continues to drive changes in consumer and business behaviors, banks, merchants and intermediaries across the payment ecosystem in Thailand are responding rapidly, prioritizing the shift to digital to protect current revenue streams, and searching for new ones through a fully digitized customer experience.

“The pandemic has cast the spotlight on the importance of digital payments and robust payment infrastructures, condensing a decade of anticipated innovation into one year and creating human behavioral changes that will not reverse as we emerge from the crisis,” commented Jeremy Wilmot, chief product officer, ACI Worldwide. “Countries with a robust digital payments infrastructure already in place have coped better than those without when it comes to containing the economic impact of the pandemic. Real-time payments have enabled governments, working jointly with financial institutions, to accelerate much-needed disbursements and economic stimulus payments to their citizens. They have also enabled real-time liquidity to businesses that had to adapt to disrupted supply chains.”

“Real-time payments are still in a nascent stage worldwide, and mostly focused on the obvious use-case of P2P payments in many countries,” said Samuel Murrant, Lead Analyst, Payments, GlobalData. “However, the pandemic has provided an opportunity to accelerate the growth path for these instruments. As consumers become used to the speed of real-time settlement for P2P payments, they will naturally move to using them for e-commerce over the relatively slower and less convenient process of using cards online. From there, there is potential to move into in-store payments, once enough consumers recognize real-time payment brands and the user base is high enough to deliver sufficient value to merchants.”

Summary of Key Findings:
Thailand real-time payments growth:

  • Total number of real-time transactions in 2020 were 5.24 bn, up 104 percent from 2.57 bn in 2019. It is expected to grow to 21 bn by 2025
  • The real-time share of Thailand’s electronic transactions in 2020 was 50.3 percent, up from 36.9 percent in 2019; it is predicted to be 76.9 percent by 2025
  • The value of real-time transactions was up by 62.9 percent from 2019 rising from $443bn to $717bn; the expected CAGR by 2025 is 26.69 percent
  • Mobile wallet adoption rose to an historic high in Thailand of 83.9% percent in 2020, up from 72.6 percent in 2019.

Global real-time payments growth:

  • Total number of real-time transactions in 2020 were 70.3 bn, up 41 percent from 50.0 bn in 2019
  • The real-time share of global electronic transactions in 2020 was 9.8 percent, up from 7.6 percent in 2019; it is predicted to be 17.4 percent by 2025
  • The value of real-time transactions was up by 32.8 percent from 2019 rising from $69tn to $92tn; the expected CAGR by 2025 is 12 percent

Top 10 countries globally by number of real-time transactions in 2020:

  • India retains the top spot with 25.5bn real-time payments transactions, followed by China with 15.7bn transactions; South Korea is in 3rd place with 6.0bn, Thailand 4th with 5.2bn and UK is in 5th place with 2.8bn
  • Nigeria follows up in 6th place with 1.9bn transactions, Japan in 7th with 1.7bn
  • Brazil climbs into the global top 10 as number 8 due to the launch of PIX, with 1.3bn transactions driving a 58 percent YoY increase from 2019 to 2020. Expect to see the country climbing even higher next year with a 5-year growth prediction of 25.3 percent CAGR
  • The US ranks number 9 with 1.2bn transactions and Mexico ranks 10 with 942mn

Fastest growing countries for real-time payments:

  • The top spot goes to Croatia with an expected CAGR of 374.4 percent between 2020 and 2025, followed by Colombia (112.7 percent), Malaysia (83.9 percent), Peru (74.4 percent) and Finland (71.4 percent)
  • The highest growth region (CAGR 2020-2025) is predicted to be North America (36.5 percent), as both Canada and the US modernize and drive their new real-time systems (RTR and FedNow)

Global mobile wallet adoption:

  • Mobile wallet adoption rose to an historic high of 46 percent in 2020, up from 40.6 percent in 2019 and 18.9 percent in 2018
  • Total mobile wallet transactions amounted to 102.7 bn in 2020 and are expected to reach 2,582.8 bn by 2025

Payments fraud:

  • Globally, card related fraud remains highest in terms of reported incidents from consumers, but fraud incidents associated with real-time payments were on the rise from 2019 to 2020 as fraudsters tend to target new channels
  • Real-time payments scams that were on the rise include: confidence tricks (12.5 percent rising to 13.7 percent), Identity theft (6 percent rising to 11.6 percent) and digital wallet account hacks (4.4 percent rising to 6.2 percent)
  • เอซีไอ เวิลด์ไวด์ และโกลบอลดาต้า เผยแพร่รายงาน “Prime-Time for Real Time” ประจำปี 2564 ซึ่งทำการตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณการชำระเงินแบบเรียลไทม์ การเติบโต และพลวัตความเปลี่ยนแปลงในกลุ่มเป้าหมาย 48 แห่งทั่วโลก
  • ไทยครองอันดับ 4 ของโลกในด้านจำนวนการทำธุรกรรมแบบเรียลไทม์ในปี 2563 ตามหลังอินเดีย จีน และเกาหลีใต้

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 19 เมษายน 2564 รายงานระดับโลกฉบับล่าสุดจากเอซีไอ เวิลด์ไวด์ (ACI Worldwide) (NASDAQ: ACIW) และโกลบอลดาต้า (GlobalData) ระบุว่า มีการประมวลผลธุรกรรมการชำระเงินแบบเรียลไทม์ (Real-time Payment) กว่า 5.24 พันล้านรายการในประเทศไทยในช่วงปี 2563 เพิ่มขึ้น 104 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (2.57 พันล้านรายการ) ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีการเปลี่ยนวิธีการชำระเงินจากการใช้เงินสดไปสู่การชำระเงินแบบเรียลไทม์ผ่านระบบดิจิทัลอย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากขึ้น

รายงาน ‘Prime-Time for Real-Time’ ฉบับนี้เป็นฉบับที่สอง โดยฉบับแรกตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2563 ได้วิเคราะห์ปริมาณการชำระเงินบัญชีต่อบัญชีแบบเรียลไทม์ทั่วโลก รวมถึงข้อมูลคาดการณ์สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 48 แห่งทั่วโลก  รายงานดังกล่าวคาดการณ์ว่าการชำระเงินแบบเรียลไทม์ในไทยจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 32.01 เปอร์เซ็นต์สำหรับช่วงปี 2563 ถึง 2568 ซึ่งสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตทั่วโลก (23.6 เปอร์เซ็นต์)

การชำระเงินแบบเรียลไทม์ในไทยมีการเติบโตแบบปีต่อปีสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งโดยมากแล้วเป็นผลมาจากการดำเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทยในการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการด้านการเงิน โดยนำเสนอสิทธิประโยชน์ทางการเงินที่หลากหลายให้แก่ประชาชนผ่านระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์ ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดตัว “พร้อมเพย์” (PromptPay) ซึ่งเป็นระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์ของไทย เมื่อปี 2559  โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) มีจุดมุ่งหมายเพื่อรองรับการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการจากรัฐบาล และในช่วงที่ผ่านมา ระบบดังกล่าวได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็วในหมู่ประชาชนและองค์กรธุรกิจ

เนื่องจากประชาชนหลายล้านคนทั่วโลกจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและการดำเนินชีวิต รวมถึงการซื้อสินค้า/บริการ และการชำระเงิน ดังนั้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว  การปรับใช้โมบายล์วอลเล็ท (Mobile Wallet) ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 83.9% ในช่วงปี 2563 เปรียบเทียบกับ 72.6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2562

สถานการณ์การแพร่ระบาดส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคและแนวทางการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ ธนาคาร ผู้ค้า และคนกลางในระบบนิเวศน์การชำระเงินในไทยต้องตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการเปลี่ยนย้ายไปใช้ระบบดิจิทัลเพื่อรักษาช่องทางรายได้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งมองหาช่องทางใหม่ ๆ ผ่านการให้บริการลูกค้าผ่านระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

เจเรมี่ วิลมอท ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของเอซีไอ เวิลด์ไวด์ กล่าวแสดงความเห็นว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดตอกย้ำถึงความสำคัญของระบบชำระเงินดิจิทัล รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานระบบชำระเงินที่แข็งแกร่ง นับเป็นการย่นย่อการปรับใช้นวัตกรรมที่คาดการณ์ไว้ในช่วง 10 ปีให้เหลือเพียงปีเดียว และทำให้พฤติกรรมของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร แม้กระทั่งหลังจากที่วิกฤติผ่านพ้นไป ประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินดิจิทัลที่แข็งแกร่งจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้ดีกว่าประเทศที่ขาดโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการควบคุมผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากกรณีการแพร่ระบาด  ระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์ช่วยให้ภาครัฐเร่งการเบิกจ่ายเงินเยียวยาและเงินกระตุ้นเศรษฐกิจให้ถึงมือประชาชนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือจากสถาบันการเงิน  นอกจากนี้ยังรองรับการเพิ่มสภาพคล่องแบบเรียลไทม์ให้กับองค์กรธุรกิจที่ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับระบบซัพพลายเชนที่หยุดชะงัก”

ซามูเอล เมอร์แรนท์ หัวหน้านักวิเคราะห์ฝ่ายระบบชำระเงินของโกลบอลดาต้า กล่าวว่า “การชำระเงินแบบเรียลไทม์ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นทั่วโลก และโดยมากแล้ว หลายประเทศมุ่งเน้นการใช้งานในส่วนของการชำระเงินระหว่างบุคคล (P2P) อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดเปิดโอกาสให้รูปแบบการชำระเงินดังกล่าวมีการขยายตัวในอัตราที่รวดเร็วยิ่งขึ้น  หลังจากที่ผู้บริโภคเริ่มคุ้นเคยกับความรวดเร็วฉับไวของการชำระเงิน P2P แบบเรียลไทม์ ผู้บริโภคก็จะหันไปใช้การชำระเงินแบบเรียลไทม์กับธุรกรรมอี-คอมเมิร์ซ แทนการใช้บัตรชำระเงินทางออนไลน์ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลานานกว่า  จากจุดนี้ เมื่อผู้บริโภคให้การยอมรับต่อแบรนด์ที่ใช้ระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์อย่างกว้างขวาง และมีฐานผู้ใช้มากพอที่จะสร้างผลตอบแทนให้ผู้ขายได้คุ้มค่า ก็มีความเป็นไปได้ที่ผู้บริโภคจะใช้ระบบดังกล่าวชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการภายในห้างร้านต่าง ๆ”

สรุปข้อมูลสำคัญจากการสำรวจ:
การเติบโตของระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์ในไทย:

  • จำนวนธุรกรรมแบบเรียลไทม์ทั้งหมดในช่วงปี 2563 อยู่ที่ 24 พันล้านรายการ เพิ่มขึ้น 104 เปอร์เซ็นต์ จาก 2.57 พันล้านในปี 2562 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 21 พันล้านภายในปี 2568
  • ส่วนแบ่งเรียลไทม์ของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไทยในช่วงปี 2563 อยู่ที่3 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นจาก 36.9 เปอร์เซ็นต์ในปี 2562 และคาดว่าจะอยู่ที่ 76.9 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2568
  • มูลค่าของธุรกรรมแบบเรียลไทม์เพิ่มขึ้น 9 เปอร์เซ็นต์จากปี 2562 โดยเพิ่มขึ้นจาก 443 พันล้านดอลลาร์ เป็น 717 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) จนถึงปี 2568 จะอยู่ที่ 26.69 เปอร์เซ็นต์
  • การปรับใช้โมบายล์วอลเล็ทในไทยเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 9% เปอร์เซ็นต์ในปี 2563 เพิ่มขึ้นจาก 72.6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2562

การเติบโตของระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์ทั่วโลก

  • จำนวนธุรกรรมแบบเรียลไทม์ทั้งหมดในช่วงปี 2563 อยู่ที่ 3 พันล้านรายการ เพิ่มขึ้น 41 เปอร์เซ็นต์ จาก 50.0 พันล้านในปี 2562
  • ส่วนแบ่งเรียลไทม์ของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกในช่วงปี 2563 อยู่ที่8 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นจาก 7.6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2562 และคาดว่าจะอยู่ที่ 17.4 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2568
  • มูลค่าของธุรกรรมแบบเรียลไทม์เพิ่มขึ้น 8 เปอร์เซ็นต์จากปี 2562 โดยเพิ่มขึ้นจาก 69 ล้านล้านดอลลาร์ เป็น 92 ล้านล้านดอลลาร์ และคาดว่าอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) จนถึงปี 2568 จะอยู่ที่ 12 เปอร์เซ็นต์

10 ประเทศที่มีจำนวนธุรกรรมเรียลไทม์มากที่สุดในโลกในปี 2563:

  • อินเดียยังคงครองอันดับสูงสุด โดยมีธุรกรรมการชำระเงินแบบเรียลไทม์5 พันล้านรายการ รองลงมาคือ จีน ซึ่งมีธุรกรรม 15.7 พันล้านรายการ ส่วนเกาหลีใต้ครองอันดับ 3 ด้วยจำนวนธุรกรรม 6.0 พันล้านรายการ ไทยครองอันดับ 4 ด้วยจำนวนธุรกรรม 5.2 พันล้านรายการ และสหราชอาณาจักรอยู่อันดับ 5 โดยมีจำนวนธุรกรรม 2.8 พันล้านรายการ
  • ไนจีเรียตามมาเป็นอันดับ 6 ด้วยธุรกรรม9 พันล้านรายการ ส่วนญี่ปุ่นอยู่อันดับ 7 โดยมีธุรกรรม 1.7 พันล้านรายการ
  • บราซิลไต่อันดับสูงขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 8 สืบเนื่องจากการเปิดตัวระบบ PIX โดยจำนวนธุรกรรมอยู่ที่ 3 พันล้านรายการ เพิ่มขึ้น 58 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบปีต่อปีระหว่างปี 2562 และ 2563 และคาดว่าบราซิลจะมีอันดับสูงขึ้นอีกในปีหน้า จากการคาดการณ์อัตราการเติบโตต่อปีในระยะเวลา 5 ปีที่ 25.3 เปอร์เซ็นต์
  • สหรัฐฯ ครองอันดับ 9 ด้วยจำนวนธุรกรรม 2 พันล้านรายการ และเม็กซิโกครองอันดับ 10 ด้วยจำนวนธุรกรรม 942 ล้านรายการ

ประเทศที่การชำระเงินแบบเรียลไทม์มีการเติบโตเร็วที่สุด:

  • ประเทศที่ครองอันดับสูงสุดคือ โครเอเชีย โดยคาดว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) จะอยู่ที่ 4 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงปี 2563 ถึง 2568 รองลงมาคือ โคลัมเบีย (112.7 เปอร์เซ็นต์), มาเลเซีย (83.9 เปอร์เซ็นต์), เปรู (74.4 เปอร์เซ็นต์) และฟินแลนด์ (71.4 เปอร์เซ็นต์)
  • คาดว่าภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด (CAGR ในช่วงปี 2563-2568) คือ อเมริกาเหนือ (36.5 เปอร์เซ็นต์) เนื่องจากทั้งแคนาดาและสหรัฐฯ ดำเนินการผลักดันและปรับปรุงระบบเรียลไทม์รูปแบบใหม่ให้ทันสมัย (RTR และ FedNow)

การปรับใช้โมบายล์วอลเล็ททั่วโลก:

  • การปรับใช้โมบายล์วอลเล็ทเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 46 เปอร์เซ็นต์ในปี 2563 โดยเพิ่มขึ้นจาก 6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2562 และ 18.9 เปอร์เซ็นต์ในปี 2561
  • จำนวนธุรกรรมโมบายล์วอลเล็ททั้งหมดอยู่ที่ 7 พันล้านรายการในปี 2563 และคาดว่าจะแตะระดับ 2,582.8 พันล้านรายการภายในปี 2568

การฉ้อโกงการชำระเงิน:

  • ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก การฉ้อโกงที่เกี่ยวเนื่องกับบัตรชำระเงินยังคงอยู่ในระดับสูงสุดในแง่ของกรณีปัญหาที่ได้รับการรายงานจากผู้บริโภค แต่การฉ้อโกงที่เกี่ยวเนื่องกับระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปี 2562 ถึง 2563 เนื่องจากคนร้ายพุ่งเป้าไปที่ช่องทางใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น
  • การหลอกลวงที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินแบบเรียลไทม์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในส่วนของการใช้อุบายหลอกลวง (12.5 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มเป็น7 เปอร์เซ็นต์), การโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคล (6 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มเป็น 11.6 เปอร์เซ็นต์) และการแฮกบัญชีดิจิทัลวอลเล็ท (4.4 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มเป็น 6.2 เปอร์เซ็นต์)